การทำความเข้าใจพื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี
อ่าน: 1825ศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2554 9.30-16.30 น.
เริ่มการศึกษาเป็นเรื่องเป็นราวเสียที วันนี้ประเดิมการเรียนในกลุ่มวิชาที่ 1 การทำความเข้าใจพื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี
หัวข้อวิชา - สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ
วิทยากร
พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ดร. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช
ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
อ. จิราพร บุนนาค
ศ. ดร. สุภางค์ จันทวานิช
รศ. ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
อ.ศิระชัย โชติรัตน์
หัวข้อวิชานี้คงเริ่มปูพื้นถึงสถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ เพื่อให้นักศึกษาเริ่มสนใจ เกิดความเข้าใจก่อนที่จะไปศึกษาหัวข้อวิชาอื่นๆต่อไป
เริ่มโดยพลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ชี้แจงการเรียนแบบ Case Based (กรณีศึกษา) การเรียนแบบ Student Center (นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง) อาจารย์เป็นแค่ผู้แนะนำ สร้างบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Facilitator –กระบวนกรในวงการจิตวิวัฒน์ หรือวิทยากรกระบวนการ หรือ คุณอำนวยในวงการการจัดการความรู้ Knowledge Management – KM)
ท่านแนะนำให้ใช้ศิลป์ก่อนใช้ศาสตร์ ซึ่ง ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ ใช้คำว่า ต้องใช้ Soft Side ควบคู่กับ Hard Side หรือใช้ใจ (จิตวิญญาณ - Spiritual) ทำงานควบคู่กับการใช้ความรู้ทางทฤษฎี (Theory)
ท่านพูดถึงหลักสูตรที่ประกอบด้วย 4 Module คือ
- พื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี
- ประเด็นความขัดแย้งหลักในชาติ ซึ่งแยกเป็น
ความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรม
ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง:กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ความขัดแย้งทางการเมืองและการสร้างสมานฉันท์ของคนในชาติ
ความขัดแย้งและแนวทางในการจัดการฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- การศึกษาดูงานในพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดทำเอกสารวิชาการและการจัดทำโครงการรุ่นเชิงปฏิบัติ
ปิดท้ายด้วยการแนะให้นักศึกษาสนใจเรื่องของความขัดแย้งในประเด็นของการป้องกัน การแก้ไขปัญหา และการเยียวยา
แล้วโยนไมค์ให้ ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล………
Next : สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (2) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "การทำความเข้าใจพื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี"