สรุปการปฐมนิเทศน์
อ่าน: 2118ก่อนเข้าสู่การเรียนของหลักสูตรก็มีการปฐมนิเทศน์ สิ่งที่ได้จากการปฐมนิเทศน์
-รู้จักสถาบันพระปกเกล้า เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันฯ ภารกิจหน้าที่ กรรมการและผู้บริหารสถาบัน ที่สำคัญที่สุดคือ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ของราชวงศ์จักรี การพระราชทานรัฐธรรมนูญ และการสละราชสมบัติ
-เข้าใจหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข
ที่สำคัญคือวัตถุประสงค์ ระยะเวลาที่ศึกษา วิธีการจัดการเรียนรู้ โครงสร้างของหลักสูตร
-รู้จักคณาจารย์ ทีมงานสนับสนุน นักศึกษารุ่นเดียวกันและเครือข่ายรุ่นที่ 1 และ 2
มีกิจกรรมละลายพฤติกรรมและปรับทัศนคติให้พร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกันตามแนวทางการศึกษาของหลักสูตร ฯ
บทวิจารณ์
ตั้งแต่สนใจ เริ่มหาข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตร สมัคร เข้ารับการสัมภาษณ์ รายงานตัว กิจกรรมปฐมนิเทศน์ และเริ่มเรียน รายละเอียดชัดเจน ตรงไปตรงมา การประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา วันที่รายงานตัว วันปฐมนิเทศน์ วันที่เริ่มเรียน ทุกรายการเป็นไปตามกำหนดการทั้งสิ้น รวมทั้งมีตารางการเรียนการสอน การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศไว้ล่วงหน้าชัดเจน ทำให้นักศึกษาสามารถจัดตารางนัดหมายของตัวเองได้ล่วงหน้า
การปฐมนิเทศน์ก็มีการชี้แจงว่านักศึกษาต้องปฏิบัติตัวอย่างไร มีเกณฑ์หรือกฏกติกามารยาทในการเรียนอย่างไร ต้องทำรายงานและทำโครงการอะไรบ้าง เมื่อไหร่ ชัดเจน
การติดต่อประสานงานก็ใช้ mail เป็นหลัก การใช้จดหมาย โทรศัพท์และ SMS ก็มีบ้างในกรณีที่จำเป็น
สรุปว่าพอเริ่มเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ จะพบว่าแม้เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 แต่ก็เป็นหลักสูตรที่ชอบมากๆ
เริ่มจาก
แนวคิด หลักการและเหตุผล เสียดายที่น่าจะมีหลักสูตรแบบนี้มานานแล้วในสังคมไทย เพราะอาจช่วยป้องกันไม่ให้ความขัดแย้ง ขยายตัวไปใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความขัดแย้ง แต่ก็ยังดีที่อาจช่วยป้องกัน แก้ไข และเยียวยาความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแล้ว
วัตถุประสงค์
นอกจากเรียนรู้ทางทฤษฎีแล้ว หลักสูตรนี้ยังมีวัตถุประสงค์ให้นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ คือการเรียนรู้ การใช้ชีวิตและการทำงาน รู้จักสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านชาติพันธ์ ศาสนา ความเชื่อ อย่างมีความสุข หรือรู้จักป้องกัน แก้ไขและเยียวยาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
วิธีจัดการเรียนการสอน
จับประเด็นจากสิ่งที่ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล เล่าให้ฟัง
การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบกรณีศึกษา (Case Based) และเป็นแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการศึกษา (Student Based) อาจารย์ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ (คุณอำนวยหรือกระบวนกร)
พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ เน้นเรื่อง Learn how to Learn หรือกระบวนการเรียนรู้ค่อนข้างมาก ท่านพูดถึงปัจจัตตัง หรือความรู้เฉพาะตนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากที่ฟังมา อ่านมา ฯ ( ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ ใช้คำว่า ความรู้ First Hand)
สิ่งที่อาจารย์สอนเป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎีที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการที่เราจะศึกษา หาข้อสรุปของเราเอง ซึ่งจะได้จากลงพื้นที่ไปสัมผัสด้วยตัวเราเอง ไปฟัง ไปรับรู้ความคิด ความรู้สึกของคนที่แตกต่างไปจากเรา เป็นผู้คนที่อยู่กับปัญหาจริงในความรู้สึกนึกคิดของเขา และได้จากการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คนที่คิดต่างจากเรา รวมถึงเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ด้วย
อาจารย์เน้นเรื่องการเปิดใจ รับฟังผู้อื่น ซึ่งถ้าสนใจก็ศึกษาเรื่องสานเสวนา สุนทรียสนทนา (dialogue) ไว้ล่วงหน้าได้เลย
หลักสูตร
เท่าที่อ่านดูก็ชอบมาก เพิ่งเริ่มต้นศึกษา
คณาจารย์
สุดยอด *****
นักศึกษา
ผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีและมาจากกลุ่มที่หลากหลาย (ชอบที่ ไอริณ ดำรงมงคลกุล พูดว่า นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกมาเป็นคนดีๆทั้งนั้น)
การจัดการ
การจัดการมีประสิทธิภาพ การประสานงาน อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เอกสารประกอบการเรียนการสอน สถานที่ การเดินทาง อาหาร ประทับใจมาก
บรรยากาศ
ทั่วๆไปดีมาก สนิทสนมกันง่ายทั้งนักศึกษารวมทั้งท่านอาจารย์ อาจจะมีความแตกต่างกันทั้งวัย อาชีพ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ก็ไม่มีช่องว่าง เพราะ สว. ท่านก็ลดอายุ และน้องๆก็ให้ความเคารพ เกรงใจ
วันที่สองของการเรียนก็เริ่มมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง มีความขัดแย้งแต่ไม่มีการใช้ความรุนแรง
……..อิอิ อิอิ ขอ อิอิ หน่อย เพราะเขียนเรื่องที่มีสาระแล้วเครียดๆชอบกล อิอิ
« « Prev : DISC Model และ ผู้นำสี่ทิศ
Next : การทำความเข้าใจพื้นฐานความขัดแย้งและสันติวิธี » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สรุปการปฐมนิเทศน์"