เรื่องเล่าจากเกาะหมาก

โดย จอมป่วน เมื่อ 15 กุมภาพันธ 2010 เวลา 22:45 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2049

จากการไปทำงานที่เกาะช้าง เกาะหมากและเกาะกูดเที่ยวนี้ก็มีเรื่องมาเล่าให้ฟังนะครับ

เป็นเรื่องการพยายามฟื้นฟูแนวปะการังในบ้านเรา จากเรื่องที่ชาวเกาะเล่าให้ฟังเลยหาความรู้เพิ่มเติมเล็กน้อยแล้วเอามาโม้ต่อครับ

บ้านเรามีความพยายามที่จะฟื้นฟูระบบนิเวศน์โดยเฉพาะแนวปะการังที่เสียหายจากการทำประมง การดำน้ำ การลักลอบค้า ที่ทำกันก็มีการสร้างแนวปะการังเทียมเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและลดการกัดเซาะชายฝั่ง

เดิมก็ทำแค่แนวปะการังเทียม แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงปะการัง ซึ่งก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่มากมาย เพราะปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปะการังก็มีปัญหาด้านกฏหมายอยู่

ที่เพาะเลี้ยงเพื่อนำมาประดับตู้ปลาสวยงามก็มี ที่เพาะเลี้ยงเพราะตั้งใจจะนำไปขยายพันธุ์ตามแนวปะการังเทียมก็มี

การเพาะเลี้ยงปะการังแบบง่ายๆก็จะเป็นแบบไม่อาศัยเพศ คือนำชิ้นส่วนปะการังที่แตกหักหรือหักปะการังบางส่วนมาเพาะเลี้ยง วิธีนืทำได้ง่ายแต่มีข้อเสียเพราะเกิดปัญหาพันธุกรรมที่ไม่หลากหลาย

การเพาะเลี้ยงอีกแบบหนึ่งก็คือการเพาะเลี้ยงปะการังแบบอาศัยเพศ โดยปะการังจะปล่อยไข่และสเปิร์มมาผสมพันธุ์กัน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วมีอัตราการรอดชีวิตที่น้อยมากเพียง 0.001% เท่านั้น ซึ่งปะการังจะปล่อยไข่และสเปิร์มเพียงปีละครั้งเท่านั้น คือราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางคืนเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น

แต่ก็มีนักวิชาการอีกมากที่ไม่เห็นด้วยกับการเพาะเลี้ยงปะการัง หรือการทำแนวปะการังเทียมแล้วนำปะการังที่เพาะเลี้ยงไว้ไปขยายพันธุ์ เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวได้ แต่ต้องใช้เวลานานหน่อย มนุษย์เราไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวรบกวนธรรมชาติ

ข้อดีของการไปต่างถิ่นแล้วมีเจ้าถิ่นพาไปกิน ไปเที่ยว ไปศึกษาดูงานก็ดีเหมือนที่ครูบาว่านะครับ แถมมีเรื่องเชิงลึกเล่าให้ฟัง จริงมั่งไม่จริงมั่ง แต่ส่วนมากจะจริง ชาวบ้านที่เกาะหมากก็เล่าให้ฟังว่า ที่เกาะนี้ก็มีทีมงานนักวิชาการที่พยายามจะเพาะเลี้ยงปะการัง แล้วนำไปขยายพันธุ์กับปะการังเทียม

ชาวบ้านบอกว่าเคยเห็นปะการังที่เพาะเลี้ยงไว้แล้ว ยาวประมาณ 1 ศอก มีการทำปะการังเทียม แต่ไม่ทราบขัดข้องทางเทคนิคอย่างไร ? ปะการังเทียมที่ทำขึ้นมีน้ำหนัก 2 ตันเศษ เลยไม่สามารถนำลงทะเลได้ เหลือไว้ให้เป็นปริศนาให้คนที่พบเห็นสงสัยว่า อะไรเอ่ย ?

ชาวบ้านก็พาไปดูสองจุดคือริมชายหาดและที่ท่าเรือ


 

แต่ทีมงานก็เอะใจ รุ่นหลังก็ลดขนาดลง ทำให้สามารถดำเนินการต่อได้

ชาวบ้านเองก็เล่าว่า ถ้าไม่รู้พื้นที่ ไม่ทราบขีดความสามารถของท้องถิ่น คิดอะไรไม่ครบวงจร ก็อาจเกิดปัญหาแบบนี้ได้

ปล. เรื่องนี้นักการอิ่มเอามาเล่าให้ฟัง แต่ถ่ายรูปอะไรเอ่ย ? เอาไว้เลยแย่งซีนนำมาเล่าเสียเอง เพราะคิดเอาเองว่านักการอิ่มคงไม่เขียนบันทึกเรื่องนี้หรอก

Post to Facebook Facebook

« « Prev : ล่าสุดของเรื่องที่อยากพูด

Next : ฝีมือคนไทย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 กุมภาพันธ 2010 เวลา 9:18

    แค่มีแนวความคิดที่จะฟื้นฟูระบบนิเวศก็วิเศษมากๆแล้วครับ ส่วนจะทำอะไร แบบไหน อย่างไรนั้น ก็คงพัฒนาไป

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 กุมภาพันธ 2010 เวลา 15:47

    ร้อนๆอ่านเรื่องชายทะเลก็มีความสุขไปอีกแบบ
    ขออีกๆๆ

  • #3 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 กุมภาพันธ 2010 เวลา 7:44
    ใช่แล้วครับ  ลุงบางทราย
    อย่ากลัวความล้มเหลว  สิ่งที่ทำไม่ต้องยิ่งใหญ่  ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ………
    ขอให้มีใจทำสิ่งที่ดีๆก็พอแล้ว  ทำไปเรียนรู้ไป  แต่ถ้าคิดให้ครบก็จะดี    อิอิ

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.042461156845093 sec
Sidebar: 0.053721904754639 sec