แห่งการงานอันเบิกบาน
อ่าน: 2278แห่งการงานอันเบิกบาน – Skillful Means
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ตาร์ถัง ตุลกู รินโปเช แปลโดย อาจารย์โสรีช์ โพธิแก้ว คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครูใหญ่ให้ไว้ตอนไปช่วยเป็นวิทยากรให้กับทีมพยาบาลของโรงพยาบาลสวนดอก วันนี้นั่งรถทัวร์เข้ากรุงเทพฯ เลยอ่านจนจบ
หนังสือเล่มนี้เขียนในแนววิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ ทั้งๆที่ผู้เขียนมีความรู้ด้านธรรมะเป็นอย่างดี คงเป็นเพราะต้องการให้ชาวตะวันตกที่มีการศึกษาเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
ท่านต้องการให้เข้าใจถึงจิตใจอันแจ่มใส (ทำให้นึกถึงมณฑลแห่งพลัง ของคุณหมอวิธาน Wholeness ฯ) แล้วโยงไปถึงเรื่องการงาน การเรียนรู้ ชีวิตที่ต้องกลมกลืนกัน ไม่แยกส่วน
ท่านชี้ให้เห็นถึงการที่ส่วนใหญ่เราใช้พลังมุ่งไปภายนอก ทำให้ห่างจากธรรมชาติ ทำให้กลัว หวั่นไหว หยาบ ร้อนลน ไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง ทำให้เราหมุนวนในการแสวงหาทางออก (นึกถึง แผ่นเสียงตกร่องของ อ. วิศิษฐ์ วังวิญญู) ที่แท้คำตอบอยู่ในตัวเอง ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหนหรอก
มีการพูดถึงตอนเด็กๆ เราถูกครอบครัว สังคม สถานศึกษาครอบงำ ชี้นำ คาดหวัง ยับยั้งความคิด ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติไป ( นึกถึงกิจกรรมทิ้งไพ่ที่อุ๊ยจั๋นตาและน้าอึ่งอ๊อบชอบ)
ทำอย่างไรที่จะได้ความคิด ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติกลับคืนมา ก็เก็บไพ่ที่ทิ้งไปกลับคืนมา ด้วยการมีสมาธิ มีสติ ดูจิต ฝึกฝน ปฏิบัติ
ท่านชี้ให้เห็นว่าการฝึกสมาธิไม่ใช่การฝึกวินัยอย่างเข้มงวดกวดขัน แต่เป็นการผ่อนคลาย อ่อนโยน สงบอย่างธรรมชาติ สามารถพัฒนาได้แม้ขณะทำงาน (คิดถึง หินทับหญ้า ของ อาจารย์วรภัทร์ ภู่เจริญ)
ความแจ่มใส สมาธิ สติจะนำไปสู่ปัญญา เป็นการเรียนที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในห้องเรียน การเรียนแบบท่องจำ เพราะเป็นการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ เป็นเรื่องนามธรรม ต้องเกิดจากการปฏิบัติ
ที่สำคัญต้องมีสติ ไตร่ตรอง พิจารณาเรื่องต่างๆให้เกิดปัญญา เช่นถ้ามีสติ ทำงานด้วยใจรัก มีการทบทวน ไตร่ตรอง – reflection การทำงานก็จะมีคุณภาพ มีความสุขกับการทำงาน ถ้านำไปใช้กับการเรียน ที่ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ก็จะมีความสุขกับการเรียนรู้ และถ้านำไปใช้กับชีวิต (รวมครอบครัว สังคม) ชีวิตก็จะมีความสุข
ถ้าเราทำให้ การเรียนรู้ การทำงานและการใช้ชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน กลมกลืนกันก็จะทำให้มีความสุขครบถ้วน และมีความสุขตลอดเวลา
เวลาเราเจอไฟ เราจะเอามือจับไฟไหม? คงไม่ เพราะเราเรียนรู้ว่าไฟมันร้อน (ท่านพุทธทาสภิกขุ)
แต่เวลาเราโกรธแล้วแสดงอาการต่างๆออกมา มันดีไหม? แล้วควรทำอย่างไร? แผ่นเสียงถึงจะไม่ตกร่อง
เวลาเราอยากได้อะไร (โลภ) ? เราเป็นสุขไหม? เคยทบทวนไหมว่าควรทำอย่างไร?
ที่เล่ามาก็แค่เริ่มต้น (ผสมปนเปกับที่ว่าเองมั่ง) อย่างน้อยก็เป็นแนวทางให้เริ่มเอะใจ เอ๊ะๆๆๆๆๆๆ ให้เริ่มสนใจเรียนรู้ภายในตัวเอง ไม่ต้องเที่ยวเสาะแสวงหาคำตอบที่ไหนให้วุ่นวาย คำตอบอยู่ที่ตัวเองนี่แหละ แค่มีสมาธิ มีสติ รู้จักตัวเอง ยอมรับคนอื่นที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากเรา ไตร่ตรองเรื่องต่างๆให้เกิดปัญญา ใช้กับการทำงาน การเรียนรู้ ชีวิต อย่างน้อยก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้นหน่อยนึง
ถ้าฝึกไปๆ ก็จะเริ่มเข้าใจในธรรม(ชาติ) เรียนรู้ที่จะรักสรรพสิ่ง ฯ จะฝึกต่อจนดับทุกข์ นิพพาน ก็ไม่ว่ากัน
อิอิ พอก่อน เดี๋ยวตกเครื่องเพราะขาดสติ
« « Prev : วงส้มตำ
9 ความคิดเห็น
โฮ…..เล่มนี้เป็นคัมภีร์ของเราเลยครับ
ว่าแล้วต้องค้นมาทบทวนซะหน่อย
สมัยก่อนเราเอามาถกกันบ่อย…ครับ ดีมากครับ
เอ๊ะๆๆๆๆ ….
วันนี้มีกิจกรรมทำให้หลายเอ๊ะ…มาอ่านบันทึกนี้ก็เริ่มเอ๊ะอีกหลายเรื่อง…เอ๊ะๆๆๆๆ
แอ๊ะๆๆ อิๆๆ คิๆๆ
เอ๊ะ..ดูเหมือนจะต้องรออ่านตอนต่อไป..^^
#1 ลุงบางทราย
โทษทีครับ นึกว่าหนังสืออ่านเล่น ล้อเล่นน่าครับ มอบให้คนอื่นอ่านต่อแล้ว ตามโครงการแลกกันอ่านของอุ๊ยจั๋นตา อิอิ
ต้องเขียนบันทึกชื่อ โค-ตะ-ระ เอ๊ะ หน่อยแล้ว อิอิ
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
อยากเขียนอยู่แล้ว รอคนเรียกร้องให้เขียน เกลียดจัง….คนรู้ทัน อิอิ
เขียนแล้ว ที่นี่ ค่ะ แต่ลืมว่าควรตั้งชื่อ โค ต ระ เอ๊ะ…5555ฮิ้ว