การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (1 )

โดย จอมป่วน เมื่อ 10 เมษายน 2012 เวลา 22:50 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4094

ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตย – Citizenship and the future of Thai Democracy

วันที่ 22-24 มีนาคม 2555  ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ

Photo1745

22 มีนาคม 2555

เริ่มจากการให้ความรู้เรื่องความเป็นพลเมืองและความเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย

14.40-15.30 น.

Professor Dr. Larry N. Gerston จาก San Jose State University  แสดงปาฐกถานำ เรื่อง “ Citizenship and Democracy”

15.30-17.30 น.

ตามด้วยการอภิปรายร่วมระหว่างผู้แทนจากต่างประเทศ  เรื่อง “ความเป็นพลเมืองกับประชาธิปไตย ประสบการณ์จากต่างประเทศ”  โดย

Ms. Laura Edgar, Institute on Governance, Canada

Mrs. Yuda Kusumaningsih Irlang, Empowerment of Women’s Voice Movement Foundation, Indonesia

Mr. Thorsten Schilling, The Federal Agency for Civic Education,Germany

Mr. Charies N. Quigley, Center for Civic Education, USA

ดำเนินรายการโดย ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์

สรุป…

ประชาธิปไตยเป็นคำที่คนพูดถึงมากที่สุดและเข้าใจไม่ค่อยตรงกัน

ประชาธิปไตยมีชีวิต  ไม่หยุดนิ่ง  มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ  ต้องตามให้ทัน  ไม่งั้นจะเป็นประชาธิปไตยแช่แข็ง  ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์

พลเมืองที่มีคุณภาพ (Active Informed Citizen) เป็นส่วนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education)  หรือพลเมืองศึกษา  มีส่วนสำคัญในการสร้างพลเมืองให้กับชาติ

23 มีนาคม 2555

9.00-10.00 น.

“ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย” โดย อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.30-12.00 น.

อถิปราย “ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย” โดย

รศ. ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ. ดร. จุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย

นายสมชาย เสียงหลาย  ปลัดกระทรวงยุติธรรม

นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย  นางสาวนาตยา  แวววีรคุปต์

สรุป……

การสร้างภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง   การสร้างสังคมที่เข้มแข็ง (Civil Society)   การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง (Communitarianism)    เพื่อเพิ่มบทบาททางการเมืองให้แก่ชุมชนและให้ความสำคัญแก่การเป็นท้องถิ่น

วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นประเด็นสำคัญในการสร้างพลเมืองเข้มแข็ง  ต้องใช้เวลาและปลูกฝังความเป็นพลเมืองให้เชื่อมกับวัฒนธรรมทางการเมืองป

“ราษฎร”  ใช้เพื่อเรียกคนไทยโดยทั่วไป  สื่อถึง “การยอมสยบต่ออำนาจ”

“ประชาชน”  สื่อถึงคนที่รวมกันในฐานะที่เป็นชาติ  และหมายถึงผู้ที่เป็น “เจ้าของอำนาจ”

“พลเมือง” มีความหมายมากกว่าคำว่า “ประชาชน” เพราะสื่อถึงประชาชนที่มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม

การปฏิรูปการเมืองและสังคมเพื่อนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย  จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิรูปจิตสำนึกความเป็นพลเมือง  ซึ่งเป็นการยกระดับความเป็นราษฎรให้เป็นประชาชน  และทำให้ประชาชนกลายเป็นพลเมือง

 

“ประชาธิปไตยจะมีประสิทธิภาพได้ ก็ต่อเมื่อ ประชาชนพ้นจากความเป็นราษฎร ไปสู่ความเป็นพลเมือง”…….ศ. ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

 

 

Post to Facebook Facebook

« « Prev : เสียงของตัวเอง vs Big Name

Next : การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (2 ) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (1 )"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.23238110542297 sec
Sidebar: 0.015236854553223 sec