การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (2 )
อ่าน: 1352623 มีนาคม 2555
13.00-17.00 น.
ประชุมกลุ่มย่อย
กลุ่มที่ 1 วิถีไทยกับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทย
กลุ่มที่ 2 ประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองภาคพลเมืองจากต่างประเทศสู่ประเทศไทย
กลุ่มที่ 3 ประสบการณ์ภาคปฏิบัติกับการสร้างความเป็นพลเมือง
กลุ่มที่ 4 การสร้างความสมดุลระหว่างการเมืองภาคตัวแทนและภาคประชาชน
กลุ่มที่ 5 ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมไทย
วันที่ 24 มีนาคม 2555
8.30-10.30 น.
นำเสนอผลการประชุมทั้ง 5 กลุ่ม
สรุป……
ความเป็นพลเมืองจะส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ประชาธิปไตยแช่แข็ง ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการสร้างพลเมืองให้เข้มแข็งเหมาะสมกับระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประเทศไทยเราก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีมายาวนาน การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยและมาจากตะวันตก จึงเป็นปัญหาว่าแล้วประเทศไทยเราจะพัฒนา ปรับปรุงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยเรา หรืออาจต้องปรับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อบางอย่างให้เข้ากันได้กับระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นแบบกลางๆคือปรับระบอบการปกครองบ้าง ปรับความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมบ้าง หรือสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ให้เหมาะกับระบอบการปกครองที่ประเทศไทยเลือกไว้
คงไม่มีทางเลือกมากนัก ประเทศไทยเราต้องปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ต้องมาดูว่าถ้าเป็นแบบนี้พลเมืองไทยที่เหมาะสมกับระบอบนี้เป็นอย่างไร?
*********
ผลการศึกษาวิจัยของ ดร. ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ พบว่า
คุณสมบัติการเป็นพลเมืองที่ประชาชนไทยให้ความสำคัญมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
1. การทำงานแบบสุจริต
2. การมีความภูมิใจในความเป็นไทย
3. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
4. การเต็มใจที่จะเสียภาษี
5. การปฏิบัติตามกฏหมาย
และพบว่าคนไทยเองมีคุณสมบัติของการเป็นพลเมือง 5 อันดับแรก ดังนี้
1. การมีความภูมิใจในความเป็นไทย
2. การทำงานแบบสุจริต
3. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
4. การเต็มใจที่จะเสียภาษี
5. การปฏิบัติตามกฏหมาย
สิ่งที่ประชาชนขาด (จากคุณสมบัติที่พลเมืองพึงมี) ก็คือ
1. ความสามารถในการวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
**********
ถ้าจะมุ่งพัฒนาความเป็นประชาธิปไตย ประเทศไทยต้องปฏิรูปการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งปฏิวัติความคิด (Paradigm Shift)
วิถีไทยเดิมที่ต้องละทิ้งมี
- ยอมรับวัฒนธรรมอำนาจนิยม, ขาดทักษะในการวิพากษ์วิจารณ์, การแสดงความคิดเห็น
- เน้นการเชื่อฟัง, ทำหน้าที่ด้วยความเสียสละโดยไม่เรียกร้องสิทธิ, รักพวกพ้อง
- สิทธิไม่เท่าเทียมกัน, มองสิทธิและหน้าที่แยกส่วนกัน
- คนใน “ที่สูง” มีค่ามากกว่า “คนในที่ต่ำ”, ไม่ก้าวก่ายในการปกครองของชนชั้นนำ
- รอคอยความเมตตากรุณาจากผู้นำ
ต้องละทิ้ง
- การปกครองแบบไทย ที่รวมศูนย์อำนาจ, ผู้นำมีอำนาจสูงสุด, ลำดับชนชั้น, ความเงียบทางการเมือง
- มองการเมืองเป็นปัญหา, การคิดต่างต้องแตกแยก
- เน้นแต่หน้าที่พลเมือง โดยไม่เน้นสิทธิพลเมือง
- คุณธรรมไทยที่เน้นเรื่องการเชื่อฟังผู้ปกครอง, การรู้จักที่ต่ำ-ที่สูง
- การมองสังคมไทยแบบแช่แข็ง มีมโนทัศน์ว่า วิถีไทยนี้ดี ต้องคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
ต้องสร้างวิถีไทยใหม่ ดังนี้
- วัฒนธรรมทางความรู้แบบใหม่
- วัฒนธรรมทางจิตใจแบบใหม่
- ความสำนึกใน “ สิทธิและหน้าที่ในความหมายใหม่”
- ความสำนึกในคุณค่าความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค ปฏิเสธความรุนแรง
วิถีเดิมที่ยังคงใช้ได้ มี
- ความคิดของปัญญาชน: เอกลักษณ์ไทย, คุณธรรม,สันติประชาธรรม
- หลักความรับผิดชอบร่วมกันของชุมชน (Communal Liability) , จิตสาธารณะ
- เคารพกฏระเบียบ/กฏหมาย : นิติรัฐ
- เคลื่อนไหวในมิติทางวัฒนธรรม, หลักคำสอนของศาสนา
- วัฒนธรรมในการจัดการความขัดแย้ง : ไกล่เกลี่ย, ประนีประนอม
- กระจายอำนาจ : การบริหารจัดการตนเองในชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มแข็ง
ในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองต้องทำทั้ง
ระดับ Micro Level (ปัจเจกชน/ครอบครัว/ชุมชน) คือทั้งครู นักเรียน, พ่อ แม่ ลูก, ชนชั้นนำ-พลเมือง
ระดับ Macro Level (ประเทศ) คือการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา
« « Prev : การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (1 )
Next : การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (3 ) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 (2 )"