การบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยความสมานฉันท์ (3)
อ่าน: 1656ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
จากการร่วมทำงานกับคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ พยว่าความลับของการสมานฉันท์ประกอบหรือปรองดองด้วยองค์ประกอบต่างๆ 9 อย่าง
- ความยุติธรรม
- ความจริง
- ความพร้อมรับผิด (Accountability)
- การให้อภัย (Forgiveness)
- สันติวิธี
- การสานเสวนา
- จินตนาการ
- ความทรงจำ
- ความเสี่ยง
ทั้งหมดนี้แบ่งเป็น 5 พวก
- ทฤษฎีและภาคปฏิบัติทั่วโลกจะ focus 3 เรื่อแรกคือความยุติธรรม ความจริงและความพร้อมรับผิด
- การให้อภัย (Forgiveness) คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติคิดว่าถ้าจะให้ได้ผลต้องเพิ่มการให้อภัย แต่จะให้อภัยก่อนการค้นหาความจริงและความยุติธรรมได้ไหม? “ยังไม่รู้ความจริง ไม่รู้ว่าใครผิด ไม่รู้ว่าจะให้อภัยใคร” , “ไม่ต้องรู้อะไร ให้อภัยไปเลย”, “เป็นประเด็นที่ไม่ต้องการให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ต้องรู้ความจริง ทำความจริงให้ปรากฏ ถ้าเอะอะให้อภัย ในอนาคตก็จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก” ,”ให้อภัยเลย ความจริงก็ไม่ปรากฏ ความยุติธรรมก็ไม่เกิดจะมีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม”
- สันติวิธีและการสานเสวนา พลเอกเอกชัยกับอาจารย์วันชัย อาจารย์โคทม อาจารย์ปาริชาต มหาวิทยาลัยมหิดลก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ สันติวิธีและการสานเสวนาหรือ Dialogue เป็นกลไก เป็นเครื่องมือของขบวนการสมานฉันท์ซึ่งจะบังคับให้เกิดโดยกฏหมายไม่ได้ รัฐสภาออกกฏหมายให้สังคมไทยมีความสมานฉันท์ไม่ได้
- สมานฉันท์ต้องมีจินตนาการและความทรงจำ จินตนาการหมายถึงต้องคิดถึงความเป็นไปได้และต้องพูดถึงความทรงจำด้วยซึ่งจะไปสัมพันธ์กับความจริง
- และประเด็นสุดท้ายที่ต้องมีคือความเสี่ยง (Risk)
วันนี้ต้องการพูดแค่ การปรองดองเป็น Business ที่เสี่ยง (Reconciliation is a risky business) การปรองดองหรือการสมานฉันท์เป็นเรื่องเสี่ยง ตอนนี้สังคมไทยเป็นสังคมความเสี่ยง (Risk Society) ที่เราเจอตอนนี้เป็นความเสี่ยง 2 ชั้น
การปรองดองในสังคมไทยตอนนี้ยาก เพราะ
- ใครจะปรองดองกับใคร ? พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยเหรอ? ใช่รึเปล่า? หรือปัญหาภาคใต้จะปรองดองกับใคร?
- ความจริง ถ้าพูดว่าความจริงสำคัญ ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ความจริงอะไร? พฤษภา 53 ใครยิงคุณร่มเกล้า ? ใครยิง 6 ศพในวัดปทุมฯ ? ความจริงของใคร? ถามนักข่าวที่อยู่ในพื้นที่ นักข่าวที่อยู่กับทหารบอกว่ากระสุนยิงมาจากฝั่งตรงข้าม เห็นมั๊ยว่าใครยิง?….ไม่เห็น ภาคใต้คนตายไปแล้วสี่พันกว่าคน ใครทำ ? ขบวนการก่อความไม่สงบทำทั้งหมดเลยเหรอ? มันยุ่งกว่าที่เราคิด การจัดการความจริง (Truth Management) ไทยเราจัดการได้พิลึกพิลั่นมาก
- ต้องฟื้นฟูสายสัมพันธ์หรือต้องสร้างสายสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่เพราะของเดิมถูกทำลายไปหมดแล้ว ใครครอบครัวก็ทะเลาะกัน อยู่คนละข้างอยู่คนละฝ่าย ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนไทยพุทธกับอิสลามเคยอยู่ด้วยกันมาดีๆ ตอนนี้เป็นอย่างไร? ต้องมาเริ่มกันใหม่
- ถ้าจะทำเรื่องปรองดองจะทำเมื่อไหร่? ทำตอนนี้กรณีขัดแย้งของประเทศ เสื้อแดงเสื้อเหลือง หรือกรณีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะทำเมื่อไหร่?
- สุดท้ายเลยที่สำคัญมีเจตนาที่จะปรองดองรึเปล่า? มีเจตน์จำนงทางการเมืองพอที่จะปรองดองไหม?
ขบวนการปรองดอง คือขบวนการซึ่งเอื้อให้สังคมเคลื่อนจากอดีตที่แตกแยก ขัดแย้งไปสู่อนาคตที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมกันได้ มี 3 องค์ประกอบ
- มีอดีตที่แตกแยกขัดแย้ง (Divisive Past)
- มีความสามารถที่จะคืนชีวิตชีวาให้กับสังคม (Revitalizing capabilities present)
- มีศักยภาพที่จะจินตนาการถึงอนาคตร่วมกันได้ (Shared future(s) imaginable)
3 เรื่องนี้อดีตที่ขัดแย้งเข้าใจง่าย ความสามารถที่จะคืนชีวิตชีวาให้กับสังคมตอนนี้เมืองไทยเรามีไหม? หรือมีแต่ความขมขื่น ไม่พอใจ มีเรื่องอยู่ในใจแต่ไม่อยากพูดให้ฟังและในขณะนี่เราสร้างอนาคตที่จะอยู่ร่วมกันได้ไหม? อันนี้เป็นโจทย์ของการปรองดอง ปัจจุบันในครอบครัว ในชุมชน ที่ทำงาน ในสังคม พอจะพูดเรื่องการเมืองต้องรู้ก่อนว่าสีอะไรถึงจะพูดกันได้อย่างจริงใจ แล้วจะปรองดองกันอย่างไร?
กรณีของอัฟริกาใต้มีอดีตที่แบ่งแยกสีผิวรุนแรง มีคนผิวขาวเป็นผู้ปกครองเป็นเวลานาน พอมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคนผิวดำซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ขึ้นมาปกครองประเทศ
โจทย์มันคือในหมู่บ้านซึ่งมีคนผิวขาว ต่อไปนี้จะมีคนผิวดำมาอยู่ข้างบ้านจะรู้สึกอย่างไร?
โจทย์คือคนที่อยู่ใกล้กันเคยทรมานญาติหรือเพื่อนเรา จะอยู่ด้วยกันอย่างไร?
มันไม่ใช่แค่ยิ้มให้กัน ตบหลังตบใหล่แล้วจบ
ทำไมการปรองดองถึงต้องใช้สันติวิธี เพราะถ้าใช้ความรุนแรงมันทำให้เรื่องยากขึ้นทุกวัน มีคนเจ็บคนตาย ขาขาด เราจะจินตนาการอนาคตที่จะอยู่ด้วยกันได้ไหม?
ในไนจีเรีย ตอนที่ทำเรื่องนี้พบว่ามีการใช้ทหารเด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไปแจกอาวุธสงครามให้ ให้กระสุน 100 นัด ให้ไปตามหมู่บ้านต่างๆเด็กเหล่านี้ทำให้เกิดความรุนแรงยิ่งกว่าใช้กองทัพบุกมากมาย ปัญหาคือหลังจากเกิดเหตุแล้ว มีการปรองดอง นึกภาพเด็กพวกนี้ต้องกลับมาอยู่ในหมู่บ้าน จะทำอย่างไร? จะเรียกเด็กพวกนี้มากินข้าวที่บ้านไหม? จะทำได้ไหม? ถ้าทำไม่ก็ปรองดองไม่ได้เพราะเราไม่สามารถจินตนาการว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร? การปรองดองก็จะกลายเป็นของเล่น ในข้อเท็จจริงมันมีของพวกนี้อยู่ มือระเบิดที่ทำให้คนตายไปแล้ว อาจไม่มีหลักฐานถูกปล่อยตัวออกมาอยู่ในหมู่บ้าน จะทำอย่างไร?
« « Prev : การบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยความสมานฉันท์ (2)
Next : การบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยความสมานฉันท์ (4) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "การบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยความสมานฉันท์ (3)"