ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์จังหวัดชายแดนภาคใต้กับส่วนกลาง

โดย จอมป่วน เมื่อ 29 กันยายน 2011 เวลา 19:02 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2868

วันที่ 9 กันยายน 2554  13.30-16.30 น.

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

ประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต  ยังมีปัญหา  ยังไม่จบรัฐปัตตานีก็มีประวัติศาสตร์แต่ไม่มีในบทเรียนของประวัติศาสตร์ชาติไทย

คนมลายูปัตตานีเคยมีความภูมิใจในศักดิ์ศรีของตน ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   กองทัพไทยได้ยกเข้าไปยึดปัตตานีมาเป็นของไทย  และนำปืนใหญ่ที่ชื่อนางพญาตานีมาตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม

ตลอดเวลา 200 กว่าปีของปัตตานีในราชอาณาจักรไทย คือประวัติศาสตร์แห่งความขมขื่นของคนมลายูปัตตานี  ลองนึกถึงอกเขาอกเราแม้พม่าปกครองไทยอยู่เพียง 15 ปี  หลังเสียกรุงครั้งที่ 1  เมื่อ พ.ศ. 2112  และไม่กี่เดือนหลังเสียกรุงครั้งที่ 2  เมื่อ พ.ศ. 2310  และก็เพียงยึดกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น  พม่าไม่ได้ปกครองทั้งประเทศ  เรายังมีความทรงจำแห่งความขมขื่นกับพม่ามาจนถึงทุกวันนี้

……คนไทยเชื้อสายมลายูปัตตานีไม่ใช่ “แขก” ที่เข้ามาอาศัยแผ่นดินไทย  แต่เขาอยู่ในดินแดนของเขาที่เคยเป็นประเทศของเขา  แต่ไทยไปยึดมา  นโยบายของรัฐบาลไทยต่อปัตตานีส่วนใหญ่เป็นความพยายามที่จะ “กลืนชาติ” เช่นเดียวกับที่เคยทำกับคนภาคเหนือและภาคอีสาน  ซึ่งเดิมก็เป็นรัฐอิสระ  การถูกกลืนชาติเป็นเรื่องใหญ่

….…ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

คำว่าซีแย หรือเซียม (siam)  หรือซีเยียง (Siang) เป็นคำเรียกคนไทยหรือชนชาติพันธุ์สยามที่นับถือศาสนาพุทธ  เป็นคำที่ใช้เรียกศัตรู  คำเชิงบวกเป็นคำว่า ลือกอ

ทางใต้ก็จะสอนประวัติศาสตร์กันไปอีกแบบหนึ่ง

ปัตตานีก็เคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาก่อน  น่าจะสืบเนื่องไปถึงยุคลังกาสุกะ (พุทธศตวรรษที่ 11)  เดิมทางปัตตานีก็นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน  แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม

ในปีพ.ศ. 2106 พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา   รายามุซซอฟาร์ได้ส่งทัพไปช่วย  แต่เมื่อมาถึงปรากฏว่ากองทัพปัตตานีกลับบุกเข้าไปในเมืองจะบุกจับตัวสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์  แม้จะยึดพระราชวังไว่ได้  แต่สุดท้ายก็ถูกตีโต้กลับมา  รายามุซซอฟาร์สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับ  พระศพถูกฝังไว้ที่ปากอ่าวริมแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นที่มาของชุมชนปากลัด


แถวนี้ก็มีนครศรีธรรมราชที่เป็นเมืองที่มีมาก่อนสุโขทัยนับถือศาสนาพุทธ  เพราะทางสุโขทัยมาขอพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชไปเผยแผ่ศาสนา   เป็นเมืองสำคัญทางใต้  สมัยพ่อขุนราม (1837) ก็อยู่ในอาณาจักรสุโขทัย

นักประวัติศาสตร์ต้องค้นหาความจริง  โดยไม่มีอคติ  วางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมลง  มีการนำประวัติศาสตร์มาใช้ทางการเมืองการปกครอง  กรณีศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกับเรื่องราวของคำสาปแช่งและเรื่องราวของมัสยิดกรือเซะ  ก็เป็นการปลุกระดมให้ไม่ชอบชาวจีน  การหยิบประวัติศาสตร์เป็นตอนๆแล้วนำมาใช้จะเกิดอันตรายต้องสร้างพลเมืองให้ทราบความจริง  ประเด็นได้ดินแดน  เสียดินแดนก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจกับประชาชน  เพราะตามประวัติศาสตร์ของทั้งโลก  ก็มีอาณาจักรต่างๆเกิดขึ้นแต่ละยุค  แต่ละสมัย  ใครได้ดินแดน  ใครเสียดินแดน  นับกันตั้งแต่เมื่อไหร่? อย่างไร?

บทเรียนการจัดการหัวเมือง กรณีของสงขลาให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าเมือง  เป็นแม่ทัพเรือ  ไม่มีปัญหากระด้างกระเดื่อง  การเข้าใจปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเข้าใจคน  ปัญหาเกิดจากการไม่ให้เกียรติทายาทคนเดิมๆในพื้นที่ไหม?

ปัตตานีเคยยิ่งใหญ่กว่าอยุธยาในสมัยแรกๆ  อังกฤษ ฮอลันดา สเปนมีเรื่องราวของปัตตานีมากมาย  ไม่มีการศึกษาประวัติศาสตร์ของปัตตานีอย่างจริงจัง  เขียนประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนเลยทำให้ไม่รู้เรื่องราวของรัฐปัตตานี  เป็นจุดอ่อนเป็นประวัติศาสตร์แยกส่วน  ไม่มีประวัติทางใต้  ก่อนสุโขทัยก็มีคนไทยอยู่ทางใต้มานานแล้ว  ควรศึกษาค้นคว้าเมืองต่างๆของภาคใต้

ขาดการศึกษาเรื่องรัฐปัตตานีอย่างจริงจัง  การมีกริช  มีอักษายาวี  เป็นเครื่องบอกตระกูล  แต่ทางราชการไทยถือว่าเป็นอาวุธ  เจอก็จะยึดเพราะไม่เข้าใจประเพณีวัฒนธรรมของกันและกัน

เยาวชนถูกสอนให้เกลียดกองทัพแรกของสยามที่ถูกส่งไปปราบปัตตานีคือสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เขามองสมเด็จพระนเรศวรเป็นศัตรู  ดังนั้นถ้ามีกำหนดภาพยนตร์พระนเรศวรฉายเมื่อไหร่  ให้ระวังการก่อความไม่สงบ  ไม่ว่าที่ภูเก็ตหรือหาดใหญ่  เพราะประวัติศาสตร์ที่เขารับรู้กับที่เรารับรู้ไม่เหมือนกัน

การมีปฏิกริยากับรัฐ  มีการแสดงสัญญลักษณ์ของความไม่พอใจรัฐ  เช่น

….เอาแผ่นดินกูคืนมา….เป็นอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก  เยาวชนทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

…ปัตตานีต้องได้รับเอกราช…..

…สยามยึดปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2327…..

…ฟาตอนีเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย….

เป็นการใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือ  วิชาที่ขบวนการก่อความไม่สงบใช้สอนให้เยาวชนใต้ต่อต้านรัฐคือวิชาประวัติศาสตร์  แต่ทางด้านรัฐไม่ค่อยศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง  ไม่มีคนสอน แล้วจะสู้กันได้อย่างไร?

ทำไมสตูลไม่มีปัญหา  ไม่มีการเคลื่อนไหวทั้งๆที่เป็นชายแดนใต้เหมือนกัน ?  ล้วนเป็นคำถามที่ต้องการการศึกษาวิจัยเหมือนกัน  น่าศึกษาประวัติศาสตร์ดู

ผศ. ดร.จงรัก พลาศัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

จงรัก

ฟังอาจารย์พูดแล้วชื่นชมอาจารย์มาก  อยากให้มีการพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์  อาจารย์ควรนำเสนอการค้นคว้าทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์ให้มีความชัดเจนและนำเสนอต่อคนทั้งประเทศ  ไม่ใช่เฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน

เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิ อัศนี พลจันทร (นายผี)

อยากถามว่า  ถ้ามีการชำระประวัติศาสตร์จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้ได้ไหม?  กระบวนการชำระประวัติศาสตร์ควรจะเป็นขบวนการอย่างไร?  ควรจะมีองค์กรหรือหน่วยงานใดเข้ามามีส่วนร่วม ?

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

กรมศิลปากรก็มีคณะกรรมการชำระฯ  กระทรวงศึกษาธิการก็มีกรรมการฯ ชำระ หลายคณะกรรมการ  คงจะค่อนข้างสกปรก  จึงต้องมีหลายกรรมการชำระ  คงไม่หลวมตัวเข้าไปเป็นกรรมการชำระฯ  จริงๆต้องชำระคนที่ไม่เข้าใจประวัติศาสตร์  เคยฝันว่ากระทรวงศึกษาธิการน่าจะเป็นเจ้าภาพแต่ฝันไม่เคยเป็นจริง

สุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี

สุเทพ1

อยากทราบว่า 4ส3 (คณะนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 3) ที่จะลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  โรงเรียนปอเนาะได้รับความชื่นชมจากหลายๆฝ่าย  ทั้งมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  มีการสอนเรื่องศาสนาและวิถีชีวิตซึ่งเป็นเรื่องที่ดี  แต่สังคมภายนอกมองว่าปอเนาะเป็นแหล่งซ่องสุมของผู้ก่อความไม่สงบ  อุสตาซจบมาจากไหนและสอนอะไรให้เยาวชนบ้าง?  สอนได้อย่างเสรีหรือไม่?  เพราะจุดชี้ขาดหรือจุดแตกหักของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ที่การบ่มเพาะเยาวชน

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

มีการปลูกฝังจริงแต่ไม่ใช่เป็นแบบนั้นทุกคน  ส่วนมากจบการศึกษาจากต่างประเทศแต่ทำไมรัฐไม่ให้เงินเดือน  ไม่ยอมรับว่าเป็นคนไทย  เคยอบรมอุสตาซๆก็ชอบประวัติศาสตร์ที่เป็นความจริง  เขารู้สึกว่ามีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ไทย  มีส่วนที่เป็นศัตรูกันแต่ก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้นมาเป็นมิตรไมตรีกันอย่างไร?

ปัจจุบันมีการสอนเป็นบางส่วนเด็กๆก็เจ็บปวดต่อรัฐ  จะต่อต้านทุกครั้งที่รัฐทำผิดพลาด  นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมีปมในใจจากประวัติศาสตร์ที่เข้าใจกันอยู่ รับรู้ไม่ตรงกับที่เราต้องการให้รับทราบ  มีการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เป็นชิ้นๆ  แต่ยังไม่ได้ต่อเป็นชิ้นใหญ่ที่มีความต่อเนื่องที่ให้ภาพรวม

มีเรื่องราวของลังกาสุกะ  อาณาจักรตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราช  มีพูดถึงตะกั่วป่า

เดิมเลยคนที่นี่นับถือศาสนาพราหมณ์  มีพิธีกรรมต่างๆมาก  คนทางใต้ก็ยังมีพิธีกรรมต่างๆมาก  มีการสวดเสดาะเคราะห์ ฯ  จากพราหมณ์มาเป็นพุทธ  แล้วมาเป็นอิสลาม  ในช่วงที่เป็นรัฐปัตตานีก็มีวัดอยู่ 20 กว่าวัด

งานประเพณีทางใต้ไม่ชอบพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่  ชอบเรียบง่าย  การปกครองที่เป็นอยู่ไปได้  ไม่ต้องไปคิดเรื่องเขจปกครองพิเศษ  ทางนี้ไม่ชอบให้เกณฑ์ไปร่วมพิธี  การบังคับให้กราบไหว้พระพุทธรูป  ต้องแต่งตัวแบบยุโรปในการติดต่อราชการ  ห้ามโกนศีรษะ(สมัยจอมพล ป.)  เกิดขึ้นก็เพราะไม่เข้าใจวัฒนธรรมของเขา

รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา

ถ้าไม่ได้มาเรียนหลักสูตรนี้ก็จะไม่ทราบเรื่องราวต่างๆที่ได้รับฟังในวันนี้  อาจารย์เรียนทางภูมิศาสตร์แต่มาสนใจศึกษาทางประวัติศาสตร์  ทางใต้มีแต่ประวัติศาสตร์บาดหมาง  แต่การค้นหาความจริงมีคนทำน้อย  นักประวัติศาสตร์ก็จะสนใจเฉพาะช่วงเวลา  แต่อาจารย์เขียนประวัติศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกันหมดทั้งวัฒนธรรม ศาสนาที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ปัตตานีดารุสสลาม

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัท การบินไทย จำกัด

30-40 ปีที่แล้วภูมิภาคนี้มีปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์  แต่ด้วยความร่วมมืออย่างดีระหว่าง 2 ประเทศปัญหาก็สงบลง  แต่เกี่ยวกับประเด็นการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศมาเลเซียมีท่าทีและให้ความร่วมมืออย่างไร?

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

มาเลเซียมองว่าเป็นปัญหาภายในของประเทศไทย  นอกจากจะมีปัญหาข้ามแดนไปทางมาเลเซีย  แต่การที่มีจุดตรวจ  มีการลาดตระเวณถี่ยิบ  แสดงว่าเวลามีเหตุการณ์เป็นคนในพื้นที่  ไม่มีการข้ามแดน

ไทยต้องมีเพื่อนมากๆถ้ามีปัญหาต้องขึ้นศาลโลก  แต่เราจะไปมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านไปหมด

ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์

ที่อินเดียมีการฟื้นฟูมหาวิทยาลัยนาลันทา  อยากให้ฟื้นฟูที่นครศรีธรรมราชซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

จากแผนที่ของอินเดีย  ลังกาสุกะในสมัยพระเจ้าราเชนทร์ของแคว้นโจฬะ     สมัยนั้นยังไม่มีคำว่าสยาม  อาณาจักรศรีวิชัยก็เพิ่งจะเริ่มเกิดขึ้นที่สุมาตรา  ลังกาสุกะเกิดก่อนศรีวิชัย  ลังกาสุกะเป็นรัฐพื้นเมืองคู่กับตามพรลิงค์  อาณาจักรโจฬะมาตีศรีวิชัยซึ่งเป็นอาณาจักรพุทธด้วยกัน  แต่ขัดแย้งกันทางการค้าเป้าหมายของโจฬะต้องการทำการค้ากับจีนจึงส่งกองทัพมายึดหัวเมืองต่างๆตั้งแต่ไชยา  ชุมพร ตะกั่วป่า นครศรีธรรมราช

อาเต็ป โซ๊ะโก ประธานเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน

พื้นที่ที่มีปัญหาเรียก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  จริงๆแล้วจะรวม 5 อำเภอในจังหวัดสงขลาด้วย

ปอเนาะดั้งเดิม(สำนักสอนศาสนาอิสลามที่มีที่พักอยู่ในบริเวณสำนัก) ที่คนในพื้นที่จะเรียกว่าปอเนาะเฉยๆ  ส่วนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามก็เป็นเรื่องราวที่ทางราชการมากำหนดขึ้นมาใหม่ให้เปลี่ยนสภาพแล้วจะได้รับเงินอุดหนุน

กรณีที่มีปัญหาการก่อความไม่สงบแล้วถูกจับเป็นผู้ต้องหาต่างๆมักจะเป็นนักศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งคนในพื้นที่จะไม่เรียกว่าปอเนาะ  แต่คนนอกพื้นที่จะเรียกปอเนาะเหมือนกัน  ครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะเรียกอุสตาซซึ่งส่วนมากจะจบจากตะวันออกกลาง

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

เอกสารหน้า 34-37  มีขบวนการที่สนับสนุนการก่อความไม่สงบ  กล่าวถึงกลุ่มมูจาฮีดดีนปัตตานี  ตอนนี้ขบวนการที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบันเป็นกลุ่มไหน?  มีการยกเลิก ศอ.บต.แล้วตั้งใหม่  โครงสร้างควรเป็นอย่างไร?

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

คนเดิมไม่มีใครเหลือแล้ว  คนรุ่นฮัจยีสุหลงไม่มีใครเหลือแล้ว  แต่ที่เหลือคือความคิดและการรับรู้ ฮัจยีสุหลงเป็นคนที่อาสาถือมติของกรรมการอิสลามปัตตานีร้อยกว่าคน  ซึ่งประชุมกันและมีมติ 7 ข้อไปยื่นต่อรัฐในฐานะที่เป็นประธานเลยหายตัวไปตั้งแต่ปี 2491

สิ่งที่ผิดพลาด

  1. เราทุ่มไปที่คนคนเดียว คือฮัจยีสุหลงว่าเป็นเจ้าของข้อเรียกร้อง 7 ข้อ
  2. ที่ว่ารัฐบาลไทยปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดก็ไม่ใช่  เพราะหลังจากนั้นอีก 6 เดือนก็มีมติ ครม.ออกมา  ให้เบี้ยตอบแทนพิเศษให้กับข้าราชการที่พูดภาษามลายูได้เรียกเบี้ยภาษา (ปัจจุบันก็มีการจ่ายจริง 200 บาทต่อเดือน (- สามารถ วราดิศัย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส)  แสดงว่ารัฐบาลไทยสนใจข้อเรียกร้อง  การให้ผู้นำเป็นคนมลายูก็เป็นไปได้แต่คนมลายูไม่นิยมเรียนโรงเรียนของรัฐหรือเรียนในระบบ  จึงหาข้าราชการที่เป็นคนมลายูได้ยาก

เรื่องประวัติศาสตร์  มีหนังสือที่เขียนด้วยอักษรยาวี  คนไทยเป็นคนเล่า  เขียนให้สุลต่าน  เราพูดกันน้อยไปรึเปล่า?  ขาดประวัติศาสตร์ที่เป็นความจริงที่จะเอาความจริงมาพูดจากัน  จึงมีแต่ประวัติศาสตร์ต่อต้านรัฐ  ประวัติศาสตร์บาดหมาง

กานต์ ยืนยง กรรมการผู้อำนวยการ บจ. สยามอินเทลลิเจนซ์ ยูนิต

เรื่องมาเลเซียกับไทย  มาเลเซียช่วยไทยหลายเรื่องแต่ก็ไม่อยากเปิดเผยเพราะกลัวมีปัญหาการเมืองภายใน

ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

ถูกต้อง  มีการช่วยเหลือกัน  มีการค้นพบหลักเขตเมืองไทรบุรีซึ่งเป็นของสยามในอดีต  ในรัฐเคดะห์  ประวัติศาสตร์จบไปแล้ว  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียก็ไม่มีปัญหาอะไรกัน

สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

ตอนแบ่งดินแดนไทยกับมาเลเซียระหว่างไทยกับอังกฤษตกลงใช้แม่น้ำกลันตันเพราะเป็นแม่น้ำใหญ่ใช้แบ่งประเทศ  แต่มาใช้แม่น้ำสุไหงโกลกซึ่งเป็นแม่น้ำเล็กๆในการแบ่งดินแดน  ถ้าใช้แม่น้ำกลันตันจะได้ดินแดนมาอีกมาก

เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องรวมจังหวัดสงขลาและสตูลด้วย  แต่ที่มีปัญหาคือ 3 จังหวัดกับอีก 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา   จังหวัดสตูลไม่มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐปัตตานีเลย  เป็นมุสลิมสยามเป็นส่วนใหญ่  จึงไม่มีปัญหาการก่อความไม่สงบ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง(3)

Next : การบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยความสมานฉันท์ (1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์จังหวัดชายแดนภาคใต้กับส่วนกลาง"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.081505060195923 sec
Sidebar: 0.05652904510498 sec