การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง(3)
อ่าน: 2200วันที่ 9 กันยายน 2554 9.30-12.30 น.
อาจารย์นารี เจริญผลพิริยะ
หลังจากอาจารย์ปาริชาตพูดเสร็จ อาจารย์นารีก็ต่อด้วย
……ขอพากลับมาที่คน เพราะคนเป็นตัวกำหนดว่าสื่อจะไปทางไหน? คนที่มีอำนาจก็อยากควบคุมสื่อ ที่ยกตัวอย่างชินเจียงที่พยายามใช้สื่อของรัฐในการขจัดความขัดแย้ง โดยการโฆษณาทิศทางของซินเจียงให้กินอิ่ม นอนอุ่น ให้ได้รับเกียรติ จะสามารถลดความขัดแย้งได้
ประเทศไทยกรณีภาคใต้ นักศึกษาคิดว่า
- มีความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่
- ผลประโยชน์ไม่ลงตัว(งบประมาณ)-ระหว่างรัฐกับรัฐ และระหว่างรัฐกับประชาชน
- การใช้อำนาจรัฐ ความไม่เป็นธรรม
- แบ่งแยกดินแดน
- ไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน ผู้นำท้องถิ่น ครูสอนศาสนาท้องถิ่นกับส่วนกลาง
- ความแตกต่างในเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรม
- มีเงินสนับสนุนจากภายนอกประเทศ
- ความไม่เป็นเอกภาพของเจ้าหน้าที่รัฐ
- มุมมองทางประวัติศาสตร์
- ความจริงใจที่จะแก้ปัญหา
- ปัญหาระบบการศึกษาในภาคใต้ ปอเนาะ โรงเรียนสอนศาสนาเอกชน
- ความขัดแย้งของกรุงเทพฯ กับปัตตานี
ส่วนมากพวกเรารู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน การรับรู้แตกต่างกัน เลยเกิดความเข้าใจแตกต่างกันไป วาทะกรรมต่างๆนี้เป็นสื่อจากฝ่ายรัฐหรือสื่อกระแสหลักเป็นคนสื่อสารออกมา สื่อกระแสหลักจะออกมาแนวขบวนการแบ่งแยกดินแดน ถ้าลงในพื้นที่ก็จะได้ยินอีกแบบหนึ่ง ใช้ภาษาที่แตกต่างกัน เช่นขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชรัฐปัตตานี เป็นวาทะกรรมที่ต่างกัน จุดยืนที่ต่างกัน ถ้อยคำที่ต่างกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายในนั้น
การใช้คำว่าแบ่งแยกดินแดนทำให้คนมีความรู้สึกว่าต้องสูญเสียอะไรบางอย่าง ต้องไม่เห็นด้วย เป็นข่าวสารจากรัฐที่ต้องการให้ประชาชนสนับสนุนนโยบายที่รัฐจะเอาแผ่นดินคืนมา ขบวนการก่อความไม่สงบก็ใช้วาทะกรรมอีกแบบหนึ่ง ซึ่งล้วนแต่มีเป้าหมาย ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณในการรับฟังและตีความ แต่ละฝ่ายก็มีมวลชนของตัวเอง ขบวนการก่อความไม่สงบใช้การสื่อสารที่ร้านน้ำชาและร้านกาแฟ
การใช้ Social Media ภายใต้สื่อเสรี ข้อมูลจากสื่อต้องระมัดระวังมากๆ ต้องมีจริยธรรมและมุ่งความสงบสุขของสังคมจึงจะทำให้การใช้สื่อมีประโยชน์ ฐานการเอาชีวิตรอดทำให้มีการโกหก การให้ข้อมูลเท็จผ่านสื่อต่างๆ ต้องให้การศึกษากับผู้คนในประเด็นจริยธรรมมุ่งสู่ความสุขมวลรวมของผู้คน
การสื่อสารอย่างสันติเป็นการสื่อสารแห่งความกรุณา มีวิธีการที่จะพูดให้เกิดสันติ อาจารย์พูดให้ฟังเรื่องภาษาหมาป่ากับภาษายีราฟ
ภาษาหมาป่าคือภาษาที่ตำหนิ ตัดสิน ตีความตนเองและผู้อื่น
- มองใกล้ ใจแคบ
- เป็นสัญญลักษณ์การสื่อสารที่กีดกันไม่ให้เราเข้าถึงความกรุณา
- ตัวเตี้ย ติดดิน ไม่มองไกล มองใกล้ตัว
- สื่อสารแบบกล่าวโทษหรือตำหนิตัวเองหรือคนอื่น ว่ากันไป ว่ากันมา
หมาป่าหูเข้าจะตำหนิตัวเอง หมาป่าหูออกจะด่าคนอื่น ตำหนิคนอื่น
ภาษายีราฟคือภาษาที่เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองและคนอื่น
- มองไกล ใจกว้าง
- ยีราฟเป็นสัตว์บกที่มีหัวใจโตที่สุด
- คอยาว เห็นกาณ์ไกลมาก
- พูดเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ
ยีราฟหูเข้าจะเข้าใจตัวเองเพื่อให้คนอื่นเข้าใจเรา ยีราฟหูออกเข้าใจคนอื่น
การสื่อสารอย่างสันติควรใช้ภาษายีราฟ มีการสังเกต รู้สึก ต้องการ และขอร้อง การใช้ภาษายีราฟจะทำให้คู่กรณีเข้าใจและให้ความร่วมมือ ต้องเข้าใจคู่กรณีและทำให้คู่กรณีเข้าใจเราด้วย
ความขัดแย้งใหญ่ๆมาจากความขัดแย้งเล็กๆที่สะสมกันมา
การใช้คำพูดก็ต้องระมัดระวัง การหยอกล้ออาจทำให้เกิดปัญหา เช่นกรณีที่ถูกจำคุกในกรณีก่อความไม่สงบ
…..ไม่ดีใจเหรอที่เมียติดคุก?….
…..ยังสาวอยู่เลย หาใหม่ไม่ดีกว่าเรอะ?
หรือในการตรวจค้น การซักถามว่า
…..พาระเบิดมาด้วยรึเปล่า?… ฟังดูอาจเหมือนเป็นการซักถามตามปกติ แต่อาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าหยาบคาย ใส่ร้าย กล่าวหากัน
การสื่อสารว่า
….ครูเขามาให้ความรู้ มาทำให้ฉลาดทันโลก ไปยิงเขาทำไม?….. ความหมายเหมือนคุณเป็นคนยิง
….ทำไมคนที่นี่ชอบความรุนแรง มาคุยกันดีกว่า…..
….ทหารมาช่วยเรา อย่ายิงเขาเลย…..
ซึ่งน่าจะใช้คำเหล่านี้แทน
…..พอรู้ไหมว่าอะไรทำให้เกิดการยิงครู?….
…..พอรู้ไหมว่าทำไมมีความรุนแรง ?…..
การลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อให้ไปพบความจริง แต่ต้องระมัดระวัง มิฉะนั้นก็จะไม่ได้ความจริง
อาจารย์เปรียบเทียบปอเนาะเหมือนสำนักวิปัสนาของชาวพุทธ อาจถูกกล่าวหาเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อความไม่สงบ
« « Prev : การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง (2)
Next : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์จังหวัดชายแดนภาคใต้กับส่วนกลาง » »
ความคิดเห็นสำหรับ "การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง(3)"