การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง (2)
อ่าน: 3043อาจารย์ปาริชาต
สภาวะแวดล้อมแห่งสันติภาพ:
หากผู้นำเห็นพ้องต้องกันในการสนับสนุนสันติภาพ สื่อก็ย่อมพร้อมที่จะนำเสนอบทบาทเชิงบวกต่อสันติภาพ แต่ถ้ายิ่งมีปริมาณวิกฤตการณ์และระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นมากเท่าไร สื่อก็ยิ่งมีโอกาสจะนำเสนอสิ่งที่สวนทางกับกระบวนการสันติภาพ
ตัวอย่างกรณีสงครามเวียตนาม สหรัฐอเมริกาต้องการภาพผู้พิทักษ์โลก ผู้ปกป้องประชาธิปไตย แต่ตอนนั้นกองทัพอเมริกันไม่ได้คิดถึงเรื่องการควบคุมสื่อ คิดว่าสื่อมีอิสระเสรีภาพ ไม่ได้คิดว่าการเสนอประเด็นข่าวจะมีผลอย่างไร สื่อจึงนำเสนอข่าวความจริง ไม่ใช่ภาพที่ตัดแต่ง เป็นภาพทหารอเมริกันล้มตาย ซ้ำๆๆๆๆ นำเสนอในข่าวภาคค่ำ ผู้คนรับไม่ได้ ท้ายที่สุดมีการลงมติให้ถอนทหารออกจากเวียตนาม การปรับตัวของกองทัพ ภาพของผู้สื่อข่าว คนที่ทำงานด้านสันติภาพที่พยายามกันเต็มที่กลับออกมาเป็น New Left ฝ่ายซ้ายใหม่, ผู้ทำลายประชาธิปไตย, กลุ่ม Anti-War, เป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐไป
สงครามอ่าวเปอร์เซีย -Gulf War 1990-1991 กองทัพเปลี่ยนบทบาทใหม่ ทำงานร่วมกับผู้สื่อข่าวใกล้ชิดขึ้น มีการบริหารประเด็นข่าว มีการวางกรอบประเด็น ให้เป็นสงครามการก่อการร้าย อเมริกามีภาพเป็นผู้นำระดับโลกที่มีศีลธรรม อิรักเป็นศัตรู ซัดดัม ฮุสเซนคือฮิตเลอร์ที่กลับมาเกิดใหม่ คนที่เก่งด้านสื่อสารมวลชนต้องมาช่วยรัฐบาล มีการผลิตสื่อที่เท็กซัส เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง แต่คูเวตกลับจ้าง PR-Agency ที่เป็นบริษัทอเมริกัน จัดฉาก สร้างเรื่ีองมีเด็กผู้หญิงร้องไห้ เห็นทหารอิรักบุกเข้ามาในคูเวต อะไรคือจรรยาบรรณ? อะไรคือจริยธรรม? ไม่ใช่แค่นักข่าว ผู้สื่อข่าว แต่ผู้นำของประเทศด้วย และอะไรคือสันติภาพ ? สื่อรู้ไหม? รู้ภายหลังและไม่พอใจถือว่าเป็นการดูถูกและผิดต่อจริยธรรม ทำให้กองทัพต้องปรับวิธีทำงานร่วมกับสื่อใหม่อีก
11 มีนาคม เหตุเกิดที่ญี่ปุ่น เสียชีวิตและความสูญเสียมากมายจากคลื่นยักษ์สึนามิ ในขณะที่ทั่วโลกพยายามหาทางที่จะไปช่วยญี่ปุ่น ก็มีกรณีของตะวันออกกลาง ลิเบีย เป็นการสร้างความชอบธรรมของอเมริกันในการกำจัดศัตรู ไม่มีข่าวเลยว่าในพื้นที่มีคนบาดเจ็บล้มตายเท่าไหร่ ภาพที่ออกมาเป็นภาพที่มุมกล้องสวยมาก ถ้าต้องการข้อเท็จจริงต้องไปดูที่สำนักข่าวอัลจาซีร่า
ข่าวมักนำเสนอในทิศทางที่สวนทางกับความพยายามสร้างสันติภาพยกเว้นถ้ามีกระบวนการเรียกร้องสันติภาพสูง มีกระบวนการสนับสนุนสันติภาพสูง ข่าวจะเสนอในทิศทางที่สนับสนุนสันติภาพ ถ้ามีจำนวนความเข้มข้นและจำนวนของวิกฤตการณ์ความรุนแรงต่ำ พื้นที่ข่าวก็จะเปิดพื้นที่ให้สันติภาพ ถ้าสมาคม องค์กร ผู้สื่อข่าวมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันบ่อยก็จะเห็นว่าควรจะนำเสนอในทิศทางใด การเปลี่ยนแปลงในเชิงสภาวะแวดล้อมทางการเมืองที่เอื้อต่อสันติภาพก็จะมีผลต่อพื้นที่ข่าว
ในประเทศไทย อนาคตทิศทางของสื่อมวลชนก็จะเน้นในประเด็นของจริยธรรมและความรับผิดชอบ สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและงดการนำเสนอเรื่องราวที่เสี่ยงต่อความรุนแรงและสงคราม ตอนมีวิกฤตกลุ่มผู้สื่อข่าวก็มีการออกมาเรียกร้องให้หยุดทำร้ายประเทศไทย
เส้นทางสู่อนาคตของกลุ่มคนและกิจกรรมเพื่อสันติภาพ บทเพลง การแสดงดนตรีและตราสัญญลักษณ์สันติภาพเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องสันติภาพ บ้านเราก็มีกลุ่มต่างๆที่พยายามทำเรื่องสันติภาพอยู่มาก ก็ทำอะไรที่แปลกๆเป็นเชิงสัญญลักษณ์เพื่อเป็นประเด็นข่าว เช่น หยุดทำร้ายประเทศไทย, Ignite Thailand- เวทีจุดพลังบวก ฯลฯ
Internet Social Media ก็จะมีส่วนในการสร้างสันติภาพได้ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เพราะมีผู้ใช้หลากหลาย แลกเปลี่ยนได้ง่าย ลิงก์ได้ง่าย สามารถแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ง่าย สามารถเรียกร้องวาระของตนได้ แต่ก็มีจุดอ่อนมาก ถ้ามีการใช้ไปในทางที่ผิด ขาดภูมิต้านทาน
คนไทยไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง ยังรอผู้มีอำนาจมาให้ความช่วยเหลือ
« « Prev : การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง (1)
Next : การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง(3) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "การสื่อสารอย่างสันติเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง (2)"