เสียงของตัวเอง vs Big Name

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 18 กุมภาพันธ 2012 เวลา 23:26 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 13980

 

ขออ้างอิงถึงอาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญูที่ผมนับถือเป็นอาจารย์ของผมคนหนึ่ง ศัพท์ที่ท่านเขียนในหนังสือหรือใช้สนทนามีที่ไม่คุ้นหูอยู่หลายคำ ใหม่ๆก็จะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ถ้าอ่านหนังสือของท่านบ่อยๆ คุยกับท่านบ่อยๆก็จะเริ่มคุ้นเคยและเริ่มเข้าใจ

เช่นแผ่นเสียงตกร่อง (ที่ฮิตมากช่วงนี้ก็จะเป็น “ที่ว่าแผ่นเสียงตกร่องของนักสันติวิธี” ของ อ.เกษียร เตชะพีระ) ก้าวข้ามขอบ ออกจากไข่แดง ทะลายกำแพง ฯ และ เสียงของตัวเอง

อาจารย์เปิดหลักสูตร “อ่าน เขียน แปล กระบวนทัศน์ใหม่” คุยกับอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์บอกว่าเป็นหลักสูตรพัฒนาตนเอง อบรมเพื่อให้คนก้าวพ้นขอบ ออกจากไข่แดงหรือทะลายกำแพงแล้วมีเสียงของตัวเอง

ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะเวลาจะจัดการฝึกอบรมหรือจัดกิจกรรมพัฒนาตัวเอง เห็นผู้จัดมักจะชอบเชิญ Big Name มาบรรยายให้ฟัง มีน้อยมากที่เชื่อใน Active Learning หรือวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันแล้วเกิดปัญญาร่วม ไม่ต้องมานั่งฟังผู้รู้มาพูดให้ฟังเหมือนเราไม่รู้อะไรเลย อาจารย์วรภัทร์เปรียบเทียบเป็นลูกอีแร้งคอยแม่อีแร้งมาป้อนเหยื่อ หากินเองไม่เป็น คือเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่เป็น

อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


เลือกวงเสวนาที่ถูกจริตตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กุมภาพันธ 2012 เวลา 23:30 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12033

 

ธรรมชาติก็ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ (Holon) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันอยู่ เช่น cell หลายๆ cell มารวมกันเป็นอวัยวะ หลายๆอวัยวะมารวมกันเป็นคน คนหลายคนมาอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัว ครอบครัวหลายๆครอบครัวก็มารวมกันเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน ไปเป็นตำบล เป็นอำเภอ เป็นจังหวัด เป็นประเทศ เป็นโลก เป็นระบบสุริยะ เป็นจักรวาล…ไปโน่นเลย

clip_image002

……ธรรมชาติประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหน่วยอื่น แต่มีความสัมพันธ์กันทั่วทั้งจักรวาล ( Holon )

หน่วยย่อยต่างๆมีความแตกต่างกัน แต่จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทั่วทั้งจักรวาล จึงมีคำพูดที่ว่า ผีเสื้อกระพือปีก หรือเด็ดดอกไม้จะกระเทือนไปถึงดวงดาว ฯ …..

จาก บันทึก Chaos Theory – ทฤษฎีไร้ระเบียบ ในลานจอมป่วน

แสดงว่าวงสนทนาไม่จำเป็นต้องมีวงเดียว ทั้งที่คุยแบบเห็นตัวเป็นๆหรือ Virtual Dialogue มันต้องมีหลายๆวง หลากหลายอารมณ์ หลากหลายสาระ เราเองต้องเลือกไปนั่งจิบชาคุยกับวงเสวนาที่ถูกจริตกับเรา น่าจะเหมาะสมกว่าที่จะให้วงเสวนาเปลี่ยนมาพูดคุยในเรื่องที่เราสนใจและในบรรยากาศที่เราชอบ

บางวงชอบคุยเรื่องไร้สาระ บางวงก็พอจะมีสาระแต่บรรยากาศชิวๆ มี อิอิ เป็นพักๆ บางวงก็เอาจริงเอาจังแบบว่าเครียดหน่อย บางวงก็เอาเป็นเอาตาย มีถูกมีผิด ไม่มีเรื่องไม่เลิก ก็เลือกเอาเองก็แล้วกันนะครับ

คนเค้าจะคุยเรื่องธรรมะกัน เราดันหลงเข้าไปในวง แล้วยังบอกเค้าเปลี่ยนมาคุยเรื่องตาหลกผู้ใหญ่ ไม่โดนด่าก็บุญแล้ว ใน Website หรือ Blog ก็เหมือนกัน แต่ละวงเค้ามีจุดมุ่งหมาย มีวัตถุประสงค์ จะคุยเรื่องแนวไหน บรรยากาศแบบไหน (สานเสวนา สุนทรียสนทนา อาทรเสวนา) ถ้ามันไม่ถูกจริตเราก็ไปหาวงใหม่นั่งคุย ไม่ใช่ไปให้เค้าเปลี่ยนให้ถูกใจเรา

เคยเป็นประธานชมรมผู้ปกครองโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ (เด็กต้องกินนอนอยู่ที่โรงเรียน กลับบ้านได้เฉพาะเสาร์ อาทิตย์) ก็มีผู้ปกครองเอาเด็กไปเรียน แต่จะเอาเด็กกลับบ้านไปกวดวิชาแล้วนอนบ้านทุกวัน มาเรียนใหม่ตอนเช้า โรงเรียนอยู่ห่างจากเมืองสิบกว่ากิโล ก็มารบเร้าให้อาจารย์แก้ไขระเบียบ….ก็แบบนี้ทำไมไม่เรียนโรงเรียนในเมืองล่ะ?

อาทรเสวนา หรือ peacetalk ชื่อก็บอกแล้วนะครับว่าแนวไหน จะไร้สาระบ้าง สนุกสนานบ้างก็ไม่เป็นไร? แต่ถ้าด่าเช็ด มาท้าตีท้าต่อยก็น่าจะไปหาวงอื่นเสวนาดีกว่า

สนใจแนวนี้เชิญที่ Facebook Peace Talk หรือที่ peacetalk.in.th นะครับ……อิอิ

Post to Facebook Facebook


เยี่ยมชมชุมชนทรายขาว ที่พุทธและอิสลามอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กุมภาพันธ 2012 เวลา 23:13 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 25385

วันที่ 5 ตุลาคม 2555   13.30-16.00 น.

ชุมชนนี้เจ้าอาวาสวัดทรายขาวและโต๊ะอิหม่ามเป็นเพื่อนกัน  อยู่ที่ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

DSC_8487

วัดทรายขาว วัดทรายขาว1

วัดทรายขาว

 

มัสยิดนัจมุดดิน

มัสยิดโบราณนัจมุดดิน  ก่อสร้างแบบผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยและมุสลิม  อายุกว่า 300 ปี  สร้างด้วยไม้แค  ตอนก่อสร้างเจ้าอาวาสวัดทรายขาวและชาวไทยพุทธก็ไปร่วมสร้าง

นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่ชาวไทยพุทธที่อยู่ร่วมกับชาวไทยมุสลิมอย่างสงบสุข  มีชาวไทยมุสลิมอยู่ประมาณ 52%  ไทยพุทธประมาณ 48%  ไม่มีปัญหาอะไรกันเลย  ตำแหน่งกำนันก็มีการพูดคุยตกลงกันโดยไม่มีข้อขัดแย้งกันคือสลับกันเป็นระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม

มีความเชื่อที่หลายครอบครัวถือเป็นหลักปฏิบัติมายาวนานคือหากมุสลิมในชุมชนมีงาน คนพุทธต้องเอาข้าวเหนียวและน้ำตาลไปช่วยงาน

ไทยพุทธบางครัวเรือนเกิดลูกเกิดหลาน ก็จะนำไปให้ชาวมุสลิมตั้งชื่อให้เป็นชื่อมุสลิมด้วย เพราะจะได้เป็นสิริมงคล

ครอบครัวมุสลิมบางครอบครัวที่ลูกหลานอายุครบกำหนด และพร้อมจะเข้าพิธีสุนัตตามศาสนาอิสลามจะมีการนำหลานไปบวชเณรตามศาสนาพุทธก่อน 3 วัน เพื่อบวชให้ญาติทางฝั่งไทยพุทธ ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อจนตกมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

งานพุทธชาวไทยมุสลิมก็มาช่วย ส่วนงานที่มัสยิดชาวไทยพุทธก็มาตั้งแต่สมัยโบราณ

 

อย่างน้อยก็แสดงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ใช่เป็นเพราะความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว จริงๆแล้วก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้

 

 

DSC_8511

 

ไหนๆก็ไปถึงปัตตานีแล้วก็ต้องไปกราบหลวงพ่อทวดที่วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์  จ. ปัตตานีและเยี่ยมชมที่มัสยิดกรือเซะด้วย

DSC_8402

 

 

 

 

Post to Facebook Facebook


ศึกษาดูงานภาคใต้ : เยี่ยมชมปอเนาะภูมี-เรียนรู้ชีวิตในวิถีปอเนาะ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กุมภาพันธ 2012 เวลา 22:09 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14703

เยี่ยมชมปอเนาะภูมี อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

วันที่ 5 ตุลาคม 2555  9.30-11.30 น.

DSC_8433

ปอเนาะเดิมคือกระท่อม ที่พักอาศัยของนักเรียน หมายถึงสถานที่สอยศาสนาอิสลาม  หรือโรงเรียนนั่นเอง  มีโต๊ะครูเป็นเจ้าของปอเนาะ  การเรียนการสอนจะเป็นภาษามลายูหรืออาหรับ  นักเรียนชายและหญิงจะแยกกันอยู่อย่างเป็นสัดส่วน  ใช้บาลาหรืออาคารละหมาดเป็นที่เรียน

นอกจากสอนภาษามลายู อาหรับ  ศาสนาแล้วก็ยังสอนพื้นฐานอาชีพด้วย

ก็ได้รับฟังปัญหาเช่นทำไมพระภิกษุไทยได้รับเงิน นิตยภัต…..แต่อุสตาซหรือโต๊ะครูไม่ได้รับค่าตอบแทนอะไรเลย ?   มีหลายท่านที่จบทางศาสนามาจากตะวันออกกลาง  สอนวิชาทางศาสนาอยู่ในมหาวิทยาลัยแต่ไม่สามารถบรรจุเข้าเป็นข้าราชการได้?

ก็มีคำถามตามมาอีกมากมายเช่นทำไมเด็กไทยพุทธไม่ได้เรียนร่วมกับเด็กมุสลิมตั้งแต่เด็กๆ  โตขึ้นจะมีความสนิทสนม  เข้าอกเข้าใจ  อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติได้ไหม?  ทำไมไม่เรียนด้วยกัน ?

เด็กมุสลิมที่เรียนภาษาไทยน้อย  เวลาสอบแข่งขันเข้าเรียนตามโรงเรียน  วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยก็จะสอบแข่งขันสู้เด็กไทยพุทธไม่ได้  หรือแม้แต่การสอบบรรจุเข้ารับราชการ  จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร?

การศึกษาจะเป็นแนวทางทำให้เกิดสันติภาพ  ลดความขัดแย้งลงได้ในอนาคต  จะปรับปรุงการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร?

ฯลฯ

Post to Facebook Facebook


อาทรเสวนา–Dialogue

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 12 กุมภาพันธ 2012 เวลา 18:47 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2351

 

เชิญชวนเขียนบทความและร่วมแสดงความคิดเห็น ………………………………………… สุธี ฮั่นตระกูล

เฮือนโสเหล่ (Small)

ความขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่างกันเป็นปกติธรรมดาของสังคม เป็นธรรมชาติ แก้ได้ด้วยประชาชนในพื้นที่เท่านั้น

คนที่มีส่วนรับผิดชอบทุกฝ่ายต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้ตรงกันจะได้ทำงานประสานสอดคล้องกัน ต้องเลิกคิดว่าประชาชนโง่

 

“…….จะสร้างองค์ความรู้ก็เอาชาวบ้านมานั่งฟังมาอบรม และก็กลับไป ต้องเลิกให้หมดสิ่งเหล่านี้ เลิกได้แล้วล่ะ ทำไมไม่คิดว่าคุณทำกี่ปีแล้ว เคยทบทวนไหม ไม่ต่ำกว่า 20-30 ปีแล้วก็ทำแบบเดิมอยู่อย่างนี้ ถามว่าใครไม่มีความรู้ก็เจ้าหน้าที่รัฐนั่นแหละไม่มีความรู้ ต้องอบรมพวกคุณมากกว่าชาวบ้านใน 3 จังหวัด

……การคิดอบรมเขาเหมือนการจะล้างสมอง ผมว่ายังเข้าใจตรงนี้ผิด………ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เก่งๆ ทั้งนั้นจบปริญญาลงไปแล้วชนะคนไม่กี่คนที่นี่ได้ไหม เป็นเวลากี่สิบปีแล้วก็ยังชนะไม่ได้ แสดงว่าเขาไม่โง่หรอก แต่วิธีการคิดของคุณกับเขาผิดกัน คนของรัฐที่ลงไปทำงานในพื้นที่มักจะแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนคนเปลี่ยนองค์กร สิ่งที่คุณควรเปลี่ยนคือความคิดคุณต้องเปลี่ยนใหม่ วิธีที่ใช้อยู่มันใช้ไม่ได้ตราบใดที่ยังไม่เปลี่ยนความคิด"

บทสัมภาษณ์ ไฟใต้อาจถึง 100 ปี …….พล.อ. เอกชัย ศรีวิลาศ

ไทยโพสต์ วันที่ 8 มกราคม 2555 http://www.thaipost.net/tabloid/080112/50714

 

 

สาเหตุของความขัดแย้งเป็นเพราะประชาชนขาดพื้นที่ปลอดภัยที่จะมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันติดตามประเมินผล สานเสวนา อาทรเสวนา หรือ Dialogue เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะมาช่วยให้เกิดเวทีนี้ขึ้น การพูดคุยผ่าน Social Media ก็เป็น Virtual Dialogue จึงทำให้เกิดโครงการอาทรเสวนาขึ้น มีการพัฒนา website peacetalk.in.th และ Peace Talk Facebook ขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะได้มาฝึกหัดพูดคุยกันแบบอาทรเสวนาหรือสานเสวนา

โดยคาดหวังว่าจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความเข้าใจและฝึกฝนการสานเสวนา อาทรเสวนา แบบ Virtual Dialogue ใน Social Media และในอนาคตจะมีรายการเชิญท่านทั้งหลายมาพูดคุยกันแบบเห็นหน้ากันตัวเป็นๆ

 

การพูดคุยกันในพื้นที่ปลอดภัย (ที่เราสมมุติว่าปลอดภัย?) บางคนก็ยังคิดว่าไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ กลัว(แปลว่ายังรู้สึกไม่ปลอดภัย) อาย &%@@_%+_+)%)(!&%*(&!)+!

หรือว่ายังมีแนวคิดแบบ Exclusivism คือเชื่อว่ามี “คำตอบสุดท้ายที่สมบูรณ์” หรือ “เป็นทางสายเดียว หรือทางสายเอก “ ของคนอื่นที่ไม่เหมือนนี้ผิดหมด ไม่ต้องพูดคุย ไม่ต้องฟัง ไม่ต้องเรียนรู้จากผู้อื่นแล้ว

ยุคนี้น่าจะมีแนวความคิดแบบ Pluralism ที่ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายของความคิด ความเชื่อ การเปิดใจ พูดคุย เรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านการสานเสวนาหรืออาทรเสวนา จะช่วยให้เข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น รักกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้

 

บาง website จะมีผู้คนมาพบปะพูดคุยกันมาก อาจเป็นเพราะรู้สึกปลอดภัย สนุกสนาน เป็นกันเอง ไม่ใช่เป็นวิชาการมากเกินไป มีเสียง อิอิ…อิอิ…..เป็นครั้งคราว ทำให้สบายใจ สนิทสนม แต่ Facebook Peace Talk ก็จะมีคนมาพูดคุยกันน้อย ถ้าเป็น peacetalk.in.th ก็ยิ่งจะเงียบไปเลย อาจเป็นเพราะบรรยากาศเป็นเชิงวิชาการมากเกินไปหรือไม่ ?

 

อยากให้ทุกๆท่าน ทะลายกำแพง ออกจากไข่แดง ก้าวข้ามขอบ..ฯ ออกมาพบปะพูดคุยกันให้มากขึ้นกว่านี้ เพราะเราถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเก่งกว่ากัน ไม่ใช่เป็นเวทีของผู้รู้มาสอนผู้ไม่รู้ แค่เขียนว่าสังเกตเห็นอะไร? รู้สึกอย่างไร? เรียนรู้อะไร ? อยากทำอะไร? ซึ่งคำตอบต่างๆเหล่านี้เป็นคำตอบที่ถูกต้องทุกคำตอบเพราะเป็นสิ่งที่ท่านสังเกต สิ่งที่ท่านรู้สึก สิ่งที่ท่านเรียนรู้ สิ่งที่ท่านอยากทำ ไม่จำเป็นต้องเหมือนใครก็ได้ ไม่มีผิด ไม่มีถูก

 

อยากเชิญชวนทุกท่านมาช่วยกันเขียนบทความสั้นๆแสดงความคิดเห็นของท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อความคิดเห็นของคนอื่นๆที่อาจเห็นตรงหรือเห็นต่างจากท่านอย่างอาทรเสวนา…….

 

ทำสิ่งเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องกลัวความล้มเหลว ไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่ทำเพราะเป็นสิ่งที่ต้องทำ…..ดร.นิกร วัฒนพนม

Post to Facebook Facebook



Main: 1.2120549678802 sec
Sidebar: 0.63611912727356 sec