อาทรเสวนา–Dialogue
อ่าน: 2397
เชิญชวนเขียนบทความและร่วมแสดงความคิดเห็น ………………………………………… สุธี ฮั่นตระกูล
ความขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่างกันเป็นปกติธรรมดาของสังคม เป็นธรรมชาติ แก้ได้ด้วยประชาชนในพื้นที่เท่านั้น
คนที่มีส่วนรับผิดชอบทุกฝ่ายต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้ตรงกันจะได้ทำงานประสานสอดคล้องกัน ต้องเลิกคิดว่าประชาชนโง่
“…….จะสร้างองค์ความรู้ก็เอาชาวบ้านมานั่งฟังมาอบรม และก็กลับไป ต้องเลิกให้หมดสิ่งเหล่านี้ เลิกได้แล้วล่ะ ทำไมไม่คิดว่าคุณทำกี่ปีแล้ว เคยทบทวนไหม ไม่ต่ำกว่า 20-30 ปีแล้วก็ทำแบบเดิมอยู่อย่างนี้ ถามว่าใครไม่มีความรู้ก็เจ้าหน้าที่รัฐนั่นแหละไม่มีความรู้ ต้องอบรมพวกคุณมากกว่าชาวบ้านใน 3 จังหวัด
……การคิดอบรมเขาเหมือนการจะล้างสมอง ผมว่ายังเข้าใจตรงนี้ผิด………ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เก่งๆ ทั้งนั้นจบปริญญาลงไปแล้วชนะคนไม่กี่คนที่นี่ได้ไหม เป็นเวลากี่สิบปีแล้วก็ยังชนะไม่ได้ แสดงว่าเขาไม่โง่หรอก แต่วิธีการคิดของคุณกับเขาผิดกัน คนของรัฐที่ลงไปทำงานในพื้นที่มักจะแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนคนเปลี่ยนองค์กร สิ่งที่คุณควรเปลี่ยนคือความคิดคุณต้องเปลี่ยนใหม่ วิธีที่ใช้อยู่มันใช้ไม่ได้ตราบใดที่ยังไม่เปลี่ยนความคิด"
บทสัมภาษณ์ ไฟใต้อาจถึง 100 ปี …….พล.อ. เอกชัย ศรีวิลาศ
ไทยโพสต์ วันที่ 8 มกราคม 2555 http://www.thaipost.net/tabloid/080112/50714
สาเหตุของความขัดแย้งเป็นเพราะประชาชนขาดพื้นที่ปลอดภัยที่จะมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันติดตามประเมินผล สานเสวนา อาทรเสวนา หรือ Dialogue เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะมาช่วยให้เกิดเวทีนี้ขึ้น การพูดคุยผ่าน Social Media ก็เป็น Virtual Dialogue จึงทำให้เกิดโครงการอาทรเสวนาขึ้น มีการพัฒนา website peacetalk.in.th และ Peace Talk Facebook ขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะได้มาฝึกหัดพูดคุยกันแบบอาทรเสวนาหรือสานเสวนา
โดยคาดหวังว่าจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความเข้าใจและฝึกฝนการสานเสวนา อาทรเสวนา แบบ Virtual Dialogue ใน Social Media และในอนาคตจะมีรายการเชิญท่านทั้งหลายมาพูดคุยกันแบบเห็นหน้ากันตัวเป็นๆ
การพูดคุยกันในพื้นที่ปลอดภัย (ที่เราสมมุติว่าปลอดภัย?) บางคนก็ยังคิดว่าไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ กลัว(แปลว่ายังรู้สึกไม่ปลอดภัย) อาย &%@@_%+_+)%)(!&%*(&!)+!
หรือว่ายังมีแนวคิดแบบ Exclusivism คือเชื่อว่ามี “คำตอบสุดท้ายที่สมบูรณ์” หรือ “เป็นทางสายเดียว หรือทางสายเอก “ ของคนอื่นที่ไม่เหมือนนี้ผิดหมด ไม่ต้องพูดคุย ไม่ต้องฟัง ไม่ต้องเรียนรู้จากผู้อื่นแล้ว
ยุคนี้น่าจะมีแนวความคิดแบบ Pluralism ที่ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายของความคิด ความเชื่อ การเปิดใจ พูดคุย เรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านการสานเสวนาหรืออาทรเสวนา จะช่วยให้เข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น รักกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้
บาง website จะมีผู้คนมาพบปะพูดคุยกันมาก อาจเป็นเพราะรู้สึกปลอดภัย สนุกสนาน เป็นกันเอง ไม่ใช่เป็นวิชาการมากเกินไป มีเสียง อิอิ…อิอิ…..เป็นครั้งคราว ทำให้สบายใจ สนิทสนม แต่ Facebook Peace Talk ก็จะมีคนมาพูดคุยกันน้อย ถ้าเป็น peacetalk.in.th ก็ยิ่งจะเงียบไปเลย อาจเป็นเพราะบรรยากาศเป็นเชิงวิชาการมากเกินไปหรือไม่ ?
อยากให้ทุกๆท่าน ทะลายกำแพง ออกจากไข่แดง ก้าวข้ามขอบ..ฯ ออกมาพบปะพูดคุยกันให้มากขึ้นกว่านี้ เพราะเราถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเก่งกว่ากัน ไม่ใช่เป็นเวทีของผู้รู้มาสอนผู้ไม่รู้ แค่เขียนว่าสังเกตเห็นอะไร? รู้สึกอย่างไร? เรียนรู้อะไร ? อยากทำอะไร? ซึ่งคำตอบต่างๆเหล่านี้เป็นคำตอบที่ถูกต้องทุกคำตอบเพราะเป็นสิ่งที่ท่านสังเกต สิ่งที่ท่านรู้สึก สิ่งที่ท่านเรียนรู้ สิ่งที่ท่านอยากทำ ไม่จำเป็นต้องเหมือนใครก็ได้ ไม่มีผิด ไม่มีถูก
อยากเชิญชวนทุกท่านมาช่วยกันเขียนบทความสั้นๆแสดงความคิดเห็นของท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อความคิดเห็นของคนอื่นๆที่อาจเห็นตรงหรือเห็นต่างจากท่านอย่างอาทรเสวนา…….
ทำสิ่งเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องกลัวความล้มเหลว ไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่ทำเพราะเป็นสิ่งที่ต้องทำ…..ดร.นิกร วัฒนพนม
« « Prev : ช่วงซักถาม- จะดับไฟใต้ได้อย่างไร?
Next : ศึกษาดูงานภาคใต้ : เยี่ยมชมปอเนาะภูมี-เรียนรู้ชีวิตในวิถีปอเนาะ » »
ความคิดเห็นสำหรับ "อาทรเสวนา–Dialogue"