รวมพลังรับมือภัยพิบัติ - National Disaster Taskforce

โดย iwhale เมื่อ 7 September 2011 เวลา 2:35 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2462

เป็นชื่อโครงการที่คิดชื่อภาษาไทยขึ้นมา เพราะรู้ว่าปัญหาภัยพิบัตินี้เป็นเรื่องใหญ่ เกินกว่าที่ใครจะทำคนเดียว หรือดูแลองค์กรเดียวได้ทั้งหมด และการทำแบบต่างคนต่างทำ ขาดการรวมพลังกันแล้ว ก็จะขาดประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า “รวมพลังรับมือภัยพิบัติ”

ส่วนชื่อภาษาอังกฤษนั้น คิดไม่ออก เลยทำตามคำชักชวนของรัฐบาลออสเตรเลีย หลังจากที่เขาถูกพายุซะอ่วมเมื่อตอนต้นปี ประธานาธิปดีออสเตรเลียได้จัดตั้งคณะทำงานแบบรวมพลังเพื่อรับมือภัยพิบัติขึ้นมาในประเทศ และได้ชักชวนประเทศอื่นๆในโลกให้จัดทำในลักษณะนี้บ้าง แล้วมาร่วมมือกัน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแนวทางที่ดีจึงขอเข้าร่วมด้วย นี่คือที่มาของชื่อภาษาอังกฤษ National Disaster Taskforce

เคยทำหนังสือเปิดผนึก ถึงคนไทยทุกคน เรื่องเร่งยกระดับ การรับมือภัยพิบัติเป็นวาระแห่งชาติ !! เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 และเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับหวังว่าทุกๆภาคส่วนจะลุกขึ้นมาช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อยกระดับการทำงาน

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก็ได้ช่วยสนับสนุน ให้การทำงานของเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ มีผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยแนะนำโครงการ ซึ่งมีลักษณะเป็นงานที่สำคัญๆหลายยุทธศาสตร์ ที่เราตั้งใจจะใช้งบประมาณที่มีจำกัดให้มีประสิทธิภาพที่สุด ในงานส่วนที่เป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พวกเรายังทำกันแบบ “อาสา” ไม่มีค่าตอบแทนกันเหมือนเดิม เมื่อมีเวลาจึงเข้าสู่โครงการ “เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์” รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนงานให้ลุล่วงต่อไป

การผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ ทางสมัชชาสุขภาพก็ได้มีประเด็นภัยพิบัติด้วยในปีนี้ ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสเข้าไปเป็นคณะกรรมการ

เพื่อเอาข้อมูลความรู้ไปรวมกันแล้วขับเคลื่อนออกมาเป็นข้อเสนอที่สามารถผลักดันให้เป็นนโยบายระดับชาติได้ต่อไป

แต่แนวร่วมในโครงการ “รวมพลังรับมือภัยพิบัติ” ก็มีพลังพอที่จะขยับในมิติอื่นๆมากกว่าในเนื้องานตามโครงการ อาทิเช่น

อาสา Frontline 4×4.in.th เตรียมขยับทีมยกพลอาสาขับเคลื่อนสี่ล้อ เข้าร่วมในการรวมพลังรับมือภัยพิบัติด้วยเช่นกัน

ส่วนของ ThaiFlood ก็ได้พยายามแสวงหาพันธมิตรมาร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญล่าสุดเนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนแห่งความเตรียมพร้อมของสหรัฐอเมริกา และผมเคยแปลเนื้อหาของรัฐบาลสหรัฐมาก่อนเช่น คำถามจากนาซ่า คุณเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉิน ไว้แล้วหรือยัง? ตลอดจนหนังโฆษณา ทำเลยวันนี้! พร้อมรับมือภัยพิบัติ ทาง ThaiFlood.com จึงได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของทาง FEMA เพื่อช่วยแปลและเผยแพร่เนื้อหาในการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติที่ทางรัฐบาลสหรัฐได้จัดทำขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยได้ศึกษาและนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ติดขัดอุปสรรคด้านภาษา

ในส่วนของหนังสือให้ความรู้ด้านภัยพิบัตินี้ มีโครงการจะออกกันมาเป็นซีรีย์ โดยภาคีเครือข่ายที่ร่วมทำกันอยู่แล้วเริ่มจากกลุ่มที่ซี้ๆก่อน เช่น บทความสาระดีๆในลานซักล้างมากมายที่สามารถรวมเล่มได้ และ ประสบการณ์งานอาสาจากกลุ่มอาสาดุสิต และจะมีภาคีและเนื้อหาดีๆตามออกมาเรื่อยๆเท่าที่จะมีแรงทำกัน

เนื้องานมีเยอะต้องค่อยๆเล่าไปนะครับ แต่ดูจากการรับมือสถานการณ์ในเดือนนี้ขอบอกว่า “ชวนเหนื่อยกันแต่วัน” แค่เห็นภาพน้ำที่กำลังท่วมหนักที่ลำน้ำยม-น่าน ในจังหวัดพิษณุโลก, พิจิตร และ นครสวรรค์ เห็นชัดในภาพจากดาวเทียม Terra เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 54

อีกสามเดือนนี้ เหนื่อยกันแน่ๆ เตรียมตัวรวมพลังกันไว้ให้ดีครับ จะได้มีเวลาผลัดกันพักบ้าง :)

Post to Twitter Post to Facebook

« « Prev : สุดยอด! กําเนิดพิภพวานร Rise of the Planet of the Apes

Next : นาธาน ภัยพิบัติ - ตอนที่ 1 » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 September 2011 เวลา 5:11 pm

    น้ำท่วม น้ำหลาก น้ำล้น ถนนพัง ดินถล่ม
    จะเห็นว่าเกิดขึ้นในอัตราก้าวหน้า
    เป็นพลังบวกจากธรรมชาติที่เรายากหลีกเลี่ยงได้
    เพราะไม่รู้ว่าจะมาตอนไหน มามากไหม มาชุกไหม
    เท่าที่เกิดขึ้นปีนี้จะเห็นว่ามันสาหัสสาเหตุที่น่าค้นที่ไปที่มา และประมวลผลหยาบๆได้บ้าง
    บางอำเภอเจอไปปีละ 3-4 รอบ แบบนี้ก็อิ่มน้ำจนขยาด
    แผนระยะต้น ดูแล เยี่ยวยา จัดการปัญหาเฉพาะหน้า แจกความช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท มันไม่พอที่จะแก้อะไรได้ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไร ถ้าให้ดีควรถามคนเดือดร้อนว่าคิดอย่างไรกับเรื่องนี้บอกหน่อย
    แผนระยะกลาง พิจารณาปรับแก้ภาพรวม สภาพแวดล้อมในระยะยาว
    / พิจารณาอาชีพในที่ลุ่ม เหมาะที่จะทำอะไร ส่งเสริมอะไร ปรับปรุงอะไร?
    /พิจารณาเรื่องที่อยู่อาศัย ดีดบ้านให้สูงขึ้น(ในรายที่ทำได้) แนะนำให้สร้างบ้านใต้ถุนสูง วางแผนเรื่องการสร้างสะพานในที่สมควร ดูแลช่องระบายน้ำ ถนนที่ขวางถนน แก้มลิงแก้มชะนีแบบตาหมากรุก (เก็บน้ำแล้วยังเลี้ยงสัตว์น้ำได้ด้วย จุดไหนที่ต่ำมากๆดัดแปลงให้เข้ากับสภาพพื้นถิ่น ศึกษาข้อมูลที่ลุ่มที่ดอนเชิงวิชาการ ว่าแต่ละลักษณะมีปริมาณเท่าใด จะได้ออกแบบผังเมืองได้ถูกต้อง บางทีอาจจะมีกฎระเบียบ ข้อบัญญัติมาสนับสนุนด้วย
    /พิจารณาออกแบบเรื่องอุปโภคและบริโภคในรูปแบบพิเศษ ไม่ใช่ทำแบบวันไหนๆพี่ไทยก็เมา เหมาโหลเหมือนๆกัน
    /การสร้างกระแสงอมืองอเท้ารอๆๆพระเอกขี่ม้าขาว ไม่ได้บากบั่นชวนกันใช้ปัญญาคิดแก้ปัญหา ชุดความคิดต้นทางนี่แหละควรรับฟัง อย่าไปฟังพวกที่เรียกร้องขอโน่นขอนี่อย่างเดียว อยากให้คำนึงสิ่งที่จะหนุนเนื่องความรู้เชิงรุก ให้ชุมชนลุกขึ้นมาหาทางออกด้วยตัวของเขาเอง ทำอย่างนี้ส่วนกลางถึงจะได้เห็นพลังประชาคมที่นอนเอ้งเม้งอยู่ เพราะไม่มีไฟมาลนก้นให้คิดทำอะไรด้วยตนเองอย่างจริงจัง
    แผนระยาว ทราบว่าประเทศฮอลแลนด์อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับน้ำทะเล น่าไปศึกษาดูว่า เข้ามีวิธีแก้วิกฤติเชิงโครงสร้างเชิงระบบอย่างไร จึงสามารถอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แตกต่างเป็นพิเศษได้ ไปดูการวางแผน ออกแบบแผน ดำเนินการตามแผนแต่ระยะๆ โดยเฉพาะแผนระยะยาวของเขาเป็นอย่างไร
    ไม่ได้บอกว่าต้องไปก๊อปปี้เขามา
    คำว่าแผนระยะยาว หมายถึง
    ประเทศเขาและประเทศเราเขียนแผนระยะยาวไว้อย่างไร

    เท่าที่เห็นมีแต่แผนใครมือยาวสาวเอาๆ

    บ่นๆๆ ตามประสาคนที่อยู่ที่ดอน ผิดถูกไม่คำนึงถึงจึงบ่นมาด้วยความคันในหัวจ๋ายยยยย อิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.023944139480591 sec
Sidebar: 0.0074329376220703 sec