คลิก…เลย

6 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 10 ตุลาคม 2010 เวลา 2:05 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2456

@@@ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีงานที่ต้องไปช่วยเพื่อนซึ่งเป็นนักฝึกอบรมจัดคอร์สต่าง ๆ โดยเฉพาะคอร์ส “การเตรียมตัวเกษียณอย่างมีคุณภาพ” รายละเอียดเนื้อหาไม่มีอะไรต่างจากที่เคยทำมาแล้ว แต่ที่น่าสนใจก็คือในคอร์สหนึ่งก่อนไปจัดอบรมได้รับทราบข้อมูลว่า ผู้เข้าอบรมนี้มีส่วนหนึ่งที่เป็นอาจารย์ของตัวเองตั้งแต่สมัยเรียน ป.ตรี… เอาล่ะสิ งานเข้าแล้วเรา… สอนใครก็ไม่กลัวหรอก แต่นี่ครูเราเองน่ะสิ แถมชื่อที่ได้ทราบก็เป็นชื่อของอาจารย์ที่เราแสนจะเกรงอกเกรงใจ…ขึ้นชื่อว่า ดุ หาตัวจับยากนั่นไง คิดไปคิดมา ร่ำ ๆ จะไปถอนตัวไม่ไปช่วยเพื่อนในคอร์สนี้แล้ว ไม่เอาดีกว่า เดี๋ยวเพื่อนเสียเครดิตไปเปล่า ๆ (ความจริงเราปอดต่างหาก…ฮา ๆ)

@@@ตอนเช้าตรู่ของวันที่จะไปบอกเพื่อน แง้มประตูห้องออกไปเพื่อจะชมสวนหน้าห้องเหมือนทุกวัน ตาก็เหลือบไปเห็นร่างกลม ๆ ป้อม ๆ นั่งแอ้งแม้งที่เก้าอี้ตัวโปรด กำลังยิ้มน้อยยิ้มใหญ่กับอะไรตรงหน้าก็ไม่รู้ ดูเจ้าหลานสาวตัวน้อยจะเพลิดเพลินกับบรรยากาศตรงหน้าอย่างยิ่ง เลยค่อย ๆ ถอยออกมาอย่างเงียบ ๆ ไม่อยากทำลายความสุขเล็ก ๆ ของสาวตัวน้อยวัย 5 ขวบกว่านั้น ยิ้มอะไรนะ ดูมีความสุขจริง ๆ เลย… ได้คิดต่อไปว่า เด็ก ๆ นี่ช่างมีความสุขง่ายดาย ผ่อนคลายเสียจริง เห็นใบไม้ไหว มดเดินผ่าน หมาเห่า ได้กินขนมที่ไม่เคยลิ้มรส ก็ยิ้มอย่างมีความสุขแล้ว

ส่วนผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ นี่สิ… ช่าง ทุกข์ง่าย สุขยาก กันเสียจริง พอมีความสุข พอใจ สนุกกับอะไรสักพัก ก็เบื่อก็ทุกข์ ต้องเพียรหาสิ่งมาสร้าง ความพึงพอใจใหม่อีกแล้ว…

@@@ คิดต่ออีกหลายประเด็น….แต่ คลิก แล้วว่า ตอนเริ่มเปิดคอร์ส ซึ่งต้องมี Session ของการละลายพฤติกรรม/ทำความคุ้นเคย/กิจกรรมละลายน้ำแข็ง (ice breaking) จะขอให้ทุกคน สร้างจินตนาการว่าตัวเองเป็นเด็กอายุไม่เกิน 8 ปี (วัยนี้ยังมีจินตนาการสมบูรณ์ อายุเกินกว่านี้ว่ากันว่า…จินตนาการจะถูกทำลายด้วยระบบโรงเรียน….ฮา ๆ) ขอให้เรียนรู้ คิด พูด ทำ เปิดใจเหมือนเด็ก ๆ ไม่ต้องกลัวผิดถูก และผลพลอยได้ก็คือ เราก็ไม่ต้องเกร็ง กลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจาก ครูที่เราเคยแสนที่จะเกรงใจ…

@@@ ครั้งนั้นการอบรมผ่านไปด้วยดี หลังการอบรมเข้าไปยกมือสวัสดีคุณครู ท่านกล่าวด้วยความเมตตาว่า … แหม ลูกศิษย์ครูนี่เก่งจริง ๆ ครูภูมิใจในตัวหนูนะ… อูย ไม่ต้องบอกเลยว่าความรู้สึกของคนถูกชมจะเป็นอย่างไร…ปลื้มซะ!!!

กลับมาถึงบ้าน ก็เลยต้องขอบใจเจ้าตัวน้อยด้วยการพาไปเลี้ยงไอศกรีมอร่อย ๆ กินกันจนพุงกางกลับบ้านเกือบไม่ไหว…

หากเรายังคงนิสัยของเด็ก ๆ ในบางส่วนเสี้ยว

มีความสุขกับสิ่งเรียบง่ายรอบตัว..

ความสุขที่เราใฝ่หาคงอยู่แค่เอื้อมนี่เอง

ดอกมะเขือนี้มอบน้อมนบเคารพ “ครู”


แง่งามในความแย่

ไม่มีความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 1 กันยายน 2010 เวลา 1:21 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2236

:-(

@@@เรามักจะเบื่อ ๆ กับการแบ่งแยก โดยเฉพาะการแบ่ง(แตก)แยกทางความคิด ฝ่ายนี้ ฝ่ายนั้น พวกเธอ พวกฉัน พวกเรา เพราะมันทำงานยาก อยู่ยาก วุ่นวาย โกลาหล… แย่จัง

๑๑๑ แต่ล่ะนะ…บางมุมมันก็มีแง่งามเรียบง่ายซ่อนอยู่ และช่วยเราได้เหมือนกัน

๑๑๑…ก็ภาพนี้ไงล่ะ ลองไม่แบ่งแยกดูสิ… จะหาอะไรทีคงป่วนปั่นกันน่าดู…

๑๑๑

Img_00760

๑๑๑

แอบคิดในใจคนเดียวว่า…ในดีมีเสีย ในเสียก็มีดีล่ะน่า

มันอยู่ที่เรามองและใช้มันเป็นหรือเปล่าต่างหากเล่า

:-D


สองทาง-สมดุล

3 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 30 สิงหาคม 2010 เวลา 8:30 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2584

:-|

ในโลกของความคิดที่แตกต่างหลากหลายของผู้คน บางครั้งบางคราทำให้อดที่จะรู้สึกราวกับจะ สำลัก ความคิดไม่ได้ และ ความคิด นี่ยังนำไปสู่ อารมณ์ต่าง ๆ ได้มากมาย

เข้าทำนอง ฟัง/อ่านแล้วเชื่อทุกอย่างเรียกว่า โง่ หากไม่เชื่อเลย เรียกว่า บ้า (ช่วงนี้ รู้สึกตัวเองทั้งโง่และบ้า…ไปพร้อม ๆ กันเลย ฮา ๆ)

อารมณ์นี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหาในบางครั้ง จิตวิทยาสมัยใหม่มักจะเน้นให้เรารู้จักการ บริหารอารมณ์ แสดงถึงการให้เครติดกับ อารมณ์ว่ามีความสำคัญยิ่ง

บางครั้งบางสถานการณ์ แม้เรารู้อยู่แก่ใจว่า เหตุ เช่นนี้ จะนำมาซึ่ง ผลเช่นไร แต่เราก็มักจะจัดการกับอารมณ์ไม่ค่อยได้ เราปล่อยให้การตัดสินใจถูกชี้นำด้วยอารมณ์ จนเสียการเสียงานมานักต่อนักแล้ว

คิดมาก ๆ เข้าก็วุ่นวาย ยุงตีกันในหัว ก็นี่ล่ะที่ว่า เราติดอยู่ที่ ฐานคิด โดยไม่ค่อยได้ฝึก ฐานใจ และแทบไม่เหลียวแล ฐานกาย ดังที่ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญท่านกล่าวไว้จริง ๆ ด้วยสิ

คิดไปถึง สิ่งที่นักเขียนชาวอเมริกัน F.Scott Fitzgerald (1896-1940) กล่าวไว้ว่า

เครื่องหมายของจิตใจชั้นยอด คือ ความสามารถในการยึดแนวคิดสองทางที่ขัดแย้งกันไว้ได้ และยังสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามปกติ

@@@นั่นก็คือลักษณะของคนที่บริหารจัดการ อารมณ์ให้อยู่ใน สมดุลได้ดี และยังฝึกทั้งฐานคิด ฐานใจ และฐานกายอย่างดีแล้ว จึงจะมีจิตใจชั้นยอดขนาดนั้นได้

@@@

เอาล่ะ…อย่ามัวแต่คิด ๆ จนยุงมันตีกันในหัวอยู่เรื่อย ๆ

ไม่เคยฝึกปรือการจัดการกับฐานคิด ฐานใจ ฐานกายอย่างจริงจัง

พอเจอบทเรียนก็…เดี้ยง อย่างนี้แหละ

;-)


โง่เสียบ้าง

4 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 26 สิงหาคม 2010 เวลา 8:15 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2441

+++

Stay Hungry, Stay Foolish.

(อย่าทิ้งความกระหาย อย่าคลายความเชื่อ)

Stewart Brand : the whole earth catalog (1968)

+++

+++เพื่อนโทรมาเล่าข่าวดีของเธอ เธอตัดสินใจและจัดการกับปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เรื้อรังมานานนับปีได้

รู้สึกยินดีไปกับเพื่อน แต่ก็อดที่จะถามไม่ได้ว่า … ก่อนหน้านี้เธอไม่ได้ตัดสินใจเช่นนี้ อะไรทำให้เปลี่ยนใจ


+++ ธอตอบเสียงหัวเราะ ๆ ก็หนังสือของ Steve Jobs ไง เขาอ้างถึงข้อความที่เขาใช้เป็นคติประจำใจที่ว่า Stay Hungry, Stay Foolish.อ่านแล้วก็ยังไม่ได้คิดอะไร จนมาอ่านอีกรอบ เธอเลยคิดได้ว่าปัญหาจริง ๆ ของเธอเกิดจาก “เธอโง่ไม่เป็นและไม่เคยเชื่อใจในสิ่งใดหรือคนรอบกายเลย” พอคิดออก…ก็โล่งเลย หลุดจากปัญหาที่กัดกินใจในวินาทีนั้นเอง…


+++ ยิ้มอย่างมีความสุขไปกับเพื่อนด้วย บางปัญหาก็เหมือนผงในตา จัดการเองไม่ได้ ต้องหาคนช่วยเขี่ยออก บางปัญหาคล้ายผงที่คนช่วยเขี่ยให้ก็ยังไม่ยอมออก แต่ต้องรอให้น้ำตาชำระล้างออกมาตามกลไกธรรมชาติเอง…


+++ ปัญหาเป็นสิ่งคู่กับมนุษย์ และหากพิจารณาลงไปแล้วก็จะเห็นว่าปัญหาในโลกนี้มีอยู่สองประเภทดังที่ “หนุ่มเมืองจันท์” กล่าวไว้ คือ หนึ่ง คือ “ปัญหาที่แก้ได้” และ สองคือ “ปัญหาที่แก้ไม่ได้” เมื่อเจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องพยายามไปแก้ (ก็มันแก้ไม่ได้นี่) เลิกสนใจใส่ใจทุกข์ใจกับมัน แต่ทำใจยอมรับเข้าใจและอยู่กับมันให้ได้ แล้วก็เอาเรี่ยวแรง พลังกายพลังใจมาจัดการกับปัญหาที่แก้ได้อย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่หมดความหวังไม่ขาดความเชื่อ (ในสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้น) บางทีไม่ต้องฉลาดปราดเปรื่อง รู้ทุกเรื่องเข้าใจทุกปัญหาบ้างก็ได้…

+++

ยิ้มละมุนละไม…
หากเรายอมโง่และหิวกระหายความคิดใหม่ ๆ ของคนอื่น
ที่ต่างจากความคิด ความเชื่อเดิม ๆ ของเราเสียบ้าง
ชีวิตก็คงง่ายและมีความสุขขึ้นเยอะเลย…

:-D


กะลาครอบฟ้า

5 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 16 สิงหาคม 2010 เวลา 10:26 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2816

๑๑๑๑

“In the beginner’s mind,

there are many possibilites,

but in the expert’s mind

there are …few”

Shunryu Suzuki

!!!!

๑๑๑๑ อ่านแล้วคิดต่อไปถึง กบในกะลาครอบ ความหมายของ อาจารย์เซน ท่าน Shunryu Suzuki คงคล้าย ๆ กับความหมายในโคลงสุภาษิตที่เคยผ่านตา…

กะลาครอบคิดฟ้า…กว้างไกล

เหมือนดั่งคนมั่นใจ…เก่งกล้า

คุยโอ่อวดเกินไป…เขาเบื่อ หน่ายนอ

เพียงหนึ่งจากมือคว้า…เท่านี้ กลับหลง

++++

คนที่รู้มาก มักจะคิดอยู่เสมอว่าตัวเองยังรู้ไม่มากพอ ในขณะที่คนรู้น้อย มักหลงว่าตัวเองรู้มากมายเสียจริง ๆ…

++++

!!!!!!!นี่อาจเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่า ภูมิปัญญา นี้ เป็นของสากลคู่โลก ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ต่างก็มีจุดร่วมของความคิด สติปัญญา และภูมิรู้ที่คล้าย ๆ กัน

!!!!!!!

ว่าแล้วก็อดจะเงยหน้าขึ้นไปมองฟ้าไม่ได้…

วันนี้…ชักเบื่อกะลาครอบฟ้านี่แล้ว..

อ๊บ ๆ ๆ

;)


อิสระที่แท้

2 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 14 สิงหาคม 2010 เวลา 1:58 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 1972

@@@@

Surely, the freedom from the self,

and therefore the search of reality,

the discovery and the coming into being of reality,

is the true function of man

จากหนังสือ On the true function of man

Krisanamurti

@@@@

แน่ล่ะว่า…การเป็นอิสระจาก อัตตา เพื่อนำไปสู่การค้นหา ความจริง/สัจจะแห่งชีวิต เป็นบทบาทหน้าที่อันแท้จริงของมนุษย์

แต่เราอยู่ในโลก ซึ่งหลากหลายผู้คน ความคิด ความเห็น และเราก็มีบทบาทหน้าที่ที่ต้องสัมผัสสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านั้น เราจะเลี่ยงได้หรือ ได้อย่างไร ด้วยวิธีใดที่จะไม่ทำร้ายความรู้สึกคนอื่นและไม่เบียดเบียนตัวเองจนรู้สึกอึดอัด

เราต้องทำอย่างไรจึงจะอยู่เหนือจากอิทธิพลครอบงำเพื่อเป็นอิสระและมุ่งตรงไปสู่บทบาทและหน้าที่ที่แท้จริงของมนุษย์

@@@@

ได้โจทย์ใหม่…ท้าทายอีกแล้ว

:-?


ถอยเพื่อถึง

5 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 12 สิงหาคม 2010 เวลา 5:16 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2043

@@@@

@@@กำลังนั่งคร่ำเคร่งเอาเป็นเอาตาย รีบทำงานให้เสร็จตามที่ตั้งใจก่อนจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดกับครอบครัวในเย็นนี้ เจ้าสามใบเถาคนกลาง สาวเจ้าปัญหาประจำบ้านเดินมาเยี่ยม ๆ มอง ๆ หลายรอบ แต่คุณยายน้อยไม่สนใจ จนในที่สุดเธอก็นั่งแหมะเบียดที่เก้าอี้หน้าคอมพ์ … สร้างความรำคาญเล็ก ๆ ให้คุณยายน้อยผู้กำลังเร่งรีบอย่างยิ่ง… เลยถามว่ามานั่งเบียดทำไม กำลังรีบ พิมพ์ไม่ถนัด เธอถามว่าทำไมต้องรีบทำวันนี้ ก็รีบบอกว่าเพราะต้องทำงานให้เสร็จก่อนจะไปกับพวกหนูไงล่ะ ถอยไปหน่อยได้ไหมขอร้องล่ะ… เสียงถามต่อว่า ทำไมต้องทำให้เสร็จก่อนไป อ้าว…ก็ต้องส่งงานให้อาจารย์ดูวันจันทร์ ไม่ทำวันนี้แล้วจะทันได้ไง อาจารย์ยิ่งให้แก้เยอะแยะอยู่ด้วย เธอลุกขึ้น ถอนใจเสียดังเชียว บอกว่าหนูว่านะ… คนเราน่ะต้อง ถอยเพื่อถึง นะค้า…

คุณยายน้อยหูผึ่ง…อะไรนะ ถอยเพื่อถึง คืออะไร เธอเลยเล่าว่าวันนี้คุณพ่อพาไปเสถียรธรรมสถาน  คุณยาย (คุณแม่ชีศันสนีย์) ท่านเล่านิทานว่า มีคนขับรถเข้ามาในซอยแคบ ๆ สองคัน ไม่มีใครยอมถอย ลงมาทะเลาะกัน คุณแม่ชีบอกว่าเห็นไหมถ้ามีคนหนึ่งยอม ถอย ทั้งสองคนก็ได้ไปและถึงที่หมายปลายทางที่จะไปแล้วล่ะ มัวทะเลาะกันไม่ยอมถอยก็เลยติดแหง็กอยู่ตรงนั้นทั้งคู่เลย…

ฟังแล้ว ร้องอืม…น่าคิด ถามต่อว่าแล้วเกี่ยวอะไรกับเรื่องของคุณยายน้อยล่ะ เธอตอบเสียงดังฟังชัด หนูว่า…ต้องยอมถอยให้อาจารย์นะ ไม่งั้นงานไม่เสร็จหรอก… แสดงว่าหลานสาวตัวน้อยคนนี้แม้จะไม่ค่อยช่างพูด แต่สังเกตและคอยฟังตลอดว่าผู้ใหญ่พูดอะไร แถมเก็บข้อมูลอย่างดีเลยรู้ว่า คุณยายน้อยชอบถกเถียง ไม่เห็นด้วยกับอาจารย์เลยต้องแก้งานบ่อย ๆ

ในที่สุดก็ปิดไฟล์งาน…ทำงานไม่เสร็จตามที่ตั้งใจ แต่ยิ้มได้ เอ้า…ถอยหน่อยก็ได้ จะได้ถึง… เสียที

@@@@

ไปเที่ยวแล้วจะกลับมาตั้งหน้าตั้งตาทำงานใหม่แล้วกัน

มีความสุข ผ่อนคลายกับวันหยุดยาวนะคะ

;-) ว่าอะไร แถมเัด หนูว่า…ต้องยอมอาจารย์ารย์ยิ่งให้แก้เยอะ


บ่มเพาะ-ความรัก

6 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 9 สิงหาคม 2010 เวลา 9:19 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การศึกษา #
อ่าน: 2087

222

เมื่อถึงที่สุดแล้ว….

เราจะเก็บแต่สิ่งที่เรารัก

เราจะรักแต่สิ่งที่เราเข้าใจ

เราจะเข้าใจแต่สิ่งที่เราได้รับการบ่มเพาะและรัก

บานา ดิอุม

นักอนุรักษ์ชาวเซเนกัล

โค้ดข้อความมาจากหนังสือ จากใจสู่ใจ

1234

2222ข้อความนี้สะดุดใจตั้งแต่ครั้งแรกที่อ่านเจอ เพราะตรงกับความครุ่นคิดของตัวเองที่ว่า หากเราอยากปลูกฝังสิ่งดี ๆ ให้กับเด็กรุ่นหลัง เราต้องทำอย่างไร นอกเหนือจากความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ และข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เราเรียนรู้สั่งสมมาแล้ว มีอะไรอีกบ้างที่จำเป็นและต้องมี

2222บอกตัวเองว่า…ที่เราคิด เราเชื่อ และทำอย่างเป็นบ้าเป็นหลังนี่ อาจผิดก็ได้… แต่จำเป็นต้อง กล้า ๆ หน่อย มัวแต่กลัวการเสียหน้า เสียความมั่นใจ กลัวผิด แล้ว…จะได้ประเด็นใหม่ ๆ ที่นำไปสู่ การพัฒนาได้อย่างไร

222ได้ข้อสรุปตอนนี้ว่าหากอยากส่งต่อสิ่งดี ๆ ที่ได้รับมาให้กับเด็กรุ่นหลัง นอกจากต้องสั่งสมความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ที่ผ่านการกลั่นกรองพินิจพิเคราะห์แล้วอย่างรอบคอบ ยังต้องสร้างสรรค์ความรัก ความเข้าใจ และต้องหัดบ่มเพาะสิ่งดี ๆ ไว้ในใจของกันและกันให้มาก ๆ ด้วย

//// เพราะหากอยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ ขาดความรักและความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน ต่อให้ความรู้ ประสบการณ์เลอเลิศขนาดไหน … ก็คงมีน้อยเท่านัอยคนที่จะเปิดใจรับ…

คลิกเลย…แฮะ

;-)


ตัวสับไก

4 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 30 กรกฏาคม 2010 เวลา 12:15 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 1406

:-?

คุยกับเพื่อนเก่าที่คบหากันมาตั้งแต่เรียนมัธยม คุยมากมายหลายเรื่อง สมัยเรียนด้วยกันเพื่อนคนนี้เรียนเก่งระดับต้น ๆ ของห้อง เข้าเรียนคณะที่มีชื่อเสียงในมหาวิทยาลัยจบด้วย เกียรตินิยมอันดับ 2 หลังแต่งงานมีครอบครัวไม่ได้ทำงาน แต่ทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ดูแลครอบครัวและลูกเล็ก ๆ อีก 2 คน อยู่ในวัยกำลังซน

เพื่อนเล่าถึงความรู้สึกของการเป็น แม่บ้านที่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะต้องทำหน้าที่นี้เลย และยังบอกว่าความรู้ในห้องเรียน จากตำราที่หามาอ่านและศึกษาใช้เกือบไม่ได้เลยกับการรับบทบาทเป็น แม่บ้าน ยิ่งฟังยิ่งทึ่ง ชีวิตของการเป็นแม่บ้านที่เพื่อนเล่านี้ เป็นงานหนักและสำคัญราวกับ แม่ทัพในการศึกทีเดียว

หลังคุยกันกลับมาคิดต่อว่า ความจริงการที่เรามี ความรู้ ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ต่อให้รู้มากเพียงใด เราต้องเข้าใจด้วยว่า ความรู้นั้นจะนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร และยังต้องรู้ไปให้ลึกกว่าการใช้ความรู้นั้นอีกว่า เมื่อนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริงแล้ว … จะเกิด ผล อย่างไรในการใช้ความรู้นั้น

คิดเลยเถิด…ไปถึงบางเรื่องราว เรามีความรู้มากมาย ใช้ความรู้นั้น แต่คนเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถคาดได้ถึง ผลที่จะเกิดตามมาอย่างแม่นยำ…

มันเป็นเพราะอะไรนะ?

เรื่องของเพื่อนทำให้คิดต่อว่า เราใช้สิทธิ (Right/Authority) ของการมีความรู้และใช้ความรู้นั้น แต่เราไม่ค่อยเคยคำนึงถึง ภาระหน้าที่ (Duty/Mission) นัก เราจึงมักจะเอะอะ บ่นว่ายามที่เราเห็นคนอื่นไม่ได้อย่างใจของเรา การมองเพียงแง่มุมของตัวเองและมุมที่ตนเองคิดว่าดีว่าใช่ โดยไม่ได้มองว่า จริง ๆ แล้วจากสิทธิที่เรามีและใช้นั้น เราต้องเคารพ ภาระหน้าที่ ซึ่งเป็นของคู่กันกับ สิทธิ นั้นด้วย…

การที่เราตระหนักในภาระหน้าที่ของเรา ทั้งต่อตนเองและคนอื่น สังคมและโลก ช่วยส่งเสริมให้เรามองเห็น “ผล” ที่จะตามมาได้ชัดได้ง่ายขึ้นมากเลย

เอาล่ะ…พอจะเข้าใจบ้างแล้วว่า ตัวสับไก ของการมีความรู้ ใช้ความรู้เป็น และสามารถมองเห็นผลที่จะเกิดได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพคือ การตระหนักและให้ความสำคัญกับ ภาระหน้าที่ ของเราควบคู่ไปด้วยกันนี่เอง

:-D

คิดได้แล้วยิ้มเลย…ลองทำดูสักทีน่าจะดีนะ


ทำให้จริง

4 ความคิดเห็น โดย freemind เมื่อ 9 กรกฏาคม 2010 เวลา 9:51 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2246

1234

ฉันได้ยิน… ฉันลืม

ฉันได้เห็น… ฉันจำได้

เมื่อฉันทำ… แล้วฉันก็เข้าใจ

สุภาษิตจีน

1234

น่าจะทำนองเดียวกันกับสุภาษิตไทย ที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”  (ยังไปเจอมีต่ออีกว่า สิบมือคลำไม่เท่ากระทำในใจ  ดีอยู่ที่ปากทุกข์ยากอยู่ที่มือ)

แม้ได้ยินได้ฟัง ได้เห็นได้อ่าน แต่หากไม่นำไปปฏิบัติจริง ก็ยากที่จะ…เข้าใจ และแม้เข้าใจก็จะเป็น ความรู้แห้ง ๆ ที่ขาดชีวิตชีวา

การได้เรียนรู้จาก ผู้รู้ ที่เพียงได้ยิน ได้อ่าน ฟังเขาเล่าว่า แต่ไม่มีประสบการณ์ทำจริงนั้น จึงแตกต่างกับการได้เรียนรู้จาก ผู้รู้ ที่สั่งสมประสบการณ์จริงจากชีวิตอย่างเทียบกันไม่ได้เลย

1234

งั้นที่ตั้งใจจะเป็น ครู เราก็ต้องหาประสบการณ์

จากการปฏิบัติจริงสินะ…

ไม่ง่ายเลยนะนี่



Main: 0.077758073806763 sec
Sidebar: 0.033016920089722 sec