งานพระธาตุเดือนเก้า ประจำปี 2552 อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
อ่าน: 1447งานพระธาตุเดือนเก้า ก็เป็นอันซีนที่ผู้เขียนต้องไปเก็บข้อมูลจ.ตากครั้งนี้ เพื่อบรรจุฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดตาก งานขึ้นธาตุเดือนเก้าชาวบ้านตาก ชาวบ้าน ต.เกาะตะเภา จะจัดงานประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ณ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ ที่รวมเอาความเชื่อ และการบูชาคุณพระศาสดาไว้ด้วยกัน ถือเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วอายุคน สำหรับวัดพระบรมธาตุนั้น ถือเป็นวัดเก่าแก่คู่ อ. บ้านตาก ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ และยังเป็นพระธาตุประจำปีมะเมียอีกด้วย คนปีมะเมียต้องไปกราบบูชา หลวงพ่อทันใจ ซึ่งผู้เฒ่า เล่าให้ฟังว่า ที่ชื่อนี้เพราะ สามารถสร้างองค์ท่านเสร็จภายในวันเดียว ทันใจ ญาติโยมค่ะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัยที่
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้านี้ จัดจะขึ้นในช่วงวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือนเก้าของชาวเหนือ ต้นเดือนมิถุนายน ของทุกปี เพื่อเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจัดเป็นขบวนแห่ผ้าห่มพระธาตุ ผ้าห่มพระธาตุ จะผ้าจีวร ยาว 63 เมตร ห่มพระเจดีย์พระธาตุได้ชนพอดี ห่มโดยผู้ว่าราชการจังหวัดตากค่ะ กลองยาวก็แห่แหนตลอดทางเดิน ข้ามสะพานบุญ สูงบนเนินเขาสูง สะพานบุญนี้ ระยะทางยาว 200 เมตร ทาง สำหรับขบวนแห่นั้น จะมีทั้งขบวนของชาวบ้านที่นับถือผี และขบวนศรัทธาวัดประจำหมู่บ้านต่างๆ ร่วม 30ขบวน ประดับประดาขบวนแห่อย่างสวยงาม ด้วยต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ตุง อีกทั้งเครื่องสักการะ หาบอาหาร คาวหวาน ผลไม้ข้าวตอก ธูปเทียน ที่ชาวบ้านพร้อมใจกันนำมาถวายด้วยแรงศรัทธา กลุ่มชาวบ้านบางกลุ่ม จะมีขบวนบั้งไฟ เพื่อแข่งขันขบวนกัน เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และปวงเทพยดาบนสรวงสวรรค์
หลังจากเสร็จพิธีห่มพระธาตุแล้ว ก็จะเป็นมีพิธีบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี หรือเจดีย์เฉลิมพระเกียรติ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โบราณสถานเก่าแก่กว่า 700 ปี คราพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ค่ะ
เล่าด้วยภาพนะคะ
คือภาพขบวนแห่แหน ผ่านสะพานบุญ บันไดทั้งสูงและชันช่วงปลายของทางขึ้น และยาวขึ้นถึงประตูวัด หลวงพ่อทันใจประดิษฐาน ภาพที่ 2 บวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี มีเครื่องบูชาที่ไม่ใช้ของคาว พระท่านมารับไทยทานที่ชาวบ้านมาถวาย
พระครูพิทักษ์บรมธาตุเจ้าอาวาส ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานในพิธี นำขบวนชาวบ้านแห่ขึ้นมาผ้าห่มพระบรมธาตุ เวียนรอบองค์พระธาตุ 3 รอบ พระสงฆ์ กล่าวนำคำถวาย เครื่องปัจจัยไทยทาน ที่เห็นในภาพให้ชาวบ้านผู้มาทำบุญ เขียนชื่อสมาชิกในครอบครัวบนผ้าจีวรยาวอีก 1 ผืน สอบถามเณรว่าจะนำไปถวายที่พระบรมธาตุอีกครั้งหนึ่ง ผู้เขียน ก็ได้ลงนามสมาชิกกับเค้าบ้าง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ลงไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน ได้มาครั้งนี้ ดังภาพค่ะ
ภาพนี้คือ ลุงยาน คงปาน อายุ 71 ปี เขียนภาษาลานนาโบราณได้ ได้บวชเป็นสัมเณรตั้งแต่ 10 กว่าขวบ เรียนภาษาล้านนาจากหลวงพ่อทองอยู่ เจ้าอาวาส คงก่อนนี้ สามารถ ถอดภาษาโบราณป็นไทยปัจจุบันได้ อาชีพเขียนคาถาเพื่อความเป็นสิริมงคลที่แท่งเทียน เพื่อประกอบพิธีของชาวบ้านที่นี่ จำหน่ายตามจำนวนเป็นรายละ 200 แท่งหรือมากกว่านั้น ตามลูกค้าต้องการ ส่วนอีกท่านหนึ่ง ตาปาน อายุ 88 ปี แล้วแรกเจอพูดจากับผู้เขียน สื่อสารกันเข้าใจ พอสัมภาษณ์เข้าจริง ตาก็บอกเล่าไม่ได้มาก ลูกสะใภ้บอกตาสมองฝ่อแล้ว นี่บ่งบอกว่าคนตากต้องหัดบันทึกคำบอกเล่าไว้แล้วล่ะ ไม่อยากว่า เป็นสว. ชอบเล่าความหลัง ยิ่งต้องบันทึกไว้ สำคัญมากๆ แต่ลุงยาน พูดจาฉะฉาน ให้ข้อมูลผู้เขียนได้มาก
ภาพนี้ ไปสัมภาษณ์ ป้าวิซิต ประธานเกษตรกรบ้านหัวเดียด ทำข้าวแคบงาดำ ผลิตภัณฑ์อาหารโบราณมีอายุร่วม 100ปี ได้รางวัลมามากมาย ได้รับเชิญไปแสดงวิถีกินของท้องถิ่น ไปเชียงใหม่ เค้าเชิญมา พักโรงแรมดังๆๆในเชียงใหม่มาหมดแล้ว ไปเมืองทองธานี ลงทุนไป 25,000 บาท คนที่กทม.ไม่สนใจเมนูของจ.ตาก บอกคนตากกินอะไรก็ไม่รู้ เมื่ยงคำ เต้าเจี้ยว แต่ก็ชิมทุกอย่าง แต่ไม่ค่อยซื้อทานกัน เทกระจาดกลับมาเลยไม่ได้ทุนคืน อิอิ ข้าวแคบจะใช้แทนใบชะพูล แตกต่างกับของป้าจุ๋มตรงใส่เต้าเจี้ยวในเมื่ยงคำด้วย ครั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้ซื้อมาเลย เนื่องจากร้านประจำที่เคยทาน หยุดขายครึ่งวัน อิอิ อดเลย ตัวโม่ข้าวนี้ป้าบอกว่าส่งลูกสาวเรียนจบได้ทั้ง 3 คน ไม่มีลูกรับช่วงเลย ลูกบอกได้เงินนิดเดียว แต่ปัจจุบันแม่ยังทำจำหน่ายมีตรายี่ห้อ ป้าชิต แล้วจะเก็บโม่นี้ไำว้ให้ลูกสาว จบแล้วทำงานกันที่กทม.กันหมด เห็นจะมีก็น้องสาวป้ายังทำอยู่ ผู้เขียนเห็นในงานแห่กระทงสาย ไล้ข้าวแคบ ควันฉุย ขึ้นรถอยู่ในขบวนแห่เหนให้ชมให้ชิมกันทั้งงานเมื่อ 15 ค่ำเดือน 12 ปีที่แล้ว
เมื่อทำงานเสร็จ ก็ไปเที่ยวเขื่อนภูมิพล หัวหน้าทีมบอก จะนอนอุทยานแห่งชาติลานสาง ดื้อ ชอบจะไปเอาชนะธรรมชาติ ชวนนอนบ้านพักสบายไม่ชอบ ทั้งที่ฝนตกปรอยตลอดทั้งวันเป็นระยะ ลองชมภาพที่ตั้งสถานที่ ใช้ฟ้าเป็นหลังคา ใช้พื้นดิน หิน หญ้า เป็นที่กินที่นอน คุณยายบอกนอนกลางดินกินกลางทราย เสาก็คือราวตากผ้าของภรรยาที่พังแล้ว พ่อหัวดัดแปลงมาเป็นเสาหลังคาเต้นท์ ที่บังฝน พังติดกาวไป ซ่อมไป เอาเข้าไป ลููกและภรรยา มองกันอย่างลุ้น ทริปที่แล้วแก่งกระจานฝนถล่มแทบนอนไม่ได้ ลุ้นระทึก และแล้วก็สำเร็จให้ภรรยานั่งทำอาหาร ลูกหลับนอนคืนนั้นทั้งคืนได้อย่าสบาย เฮ้อ…. เหนื่อยมากจ้า เพราะสัมภาระมาก ของลูกสาวทั้งผ้าห่ม หมอนลูกใหญ่ แถมหมอนข้างที่ใช้นอนที่บ้านไปด้วย ต้องกลิ่นนี้ถึงนอนได้
กลับมาพิษณุโลก ป่วยกันเกือบทั้งครอบครัว พ่อไข้เพราะตากฝนกางหลังคาเต้นท์ ลูกสาวคนโตไปโรงเรียนไม่ได้ แม่ มีไข้ต้องใช้ยาช่วย ตั้งแต่เมื่อวาน วันนี้ต้องดูแล เฝ้าไข้ลูกคนโต ทำงานที่บ้านจากการเก็บข้อมูล คนเล็กไปโรงเรียนได้ เนื่องจากมีอาการเล็กน้อย พกยาไปทาน เมื่อเช้าบอกถ้าไม่ไหวเดินกลับบ้านนะลูก เพราะบ้านพักอยู่ในรั้วโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้ามียายอยู่ด้วย คงจะทิ้งลูกไปทำงานได้ งานนี้คุณยายงอนนานมาก อิอิ ว่างเมื่อไรจะตามไปง้อที่สวรรคโลก สุโขทัย สักกะหน่อยจ้ะ จบจ้า เกือบลืม อิอิ
« « Prev : เก็บข้อมูล กระทงสายทำด้วยกะลา จังหวัดตากเมื่อวันที่ 26 ตุลาที่ผ่านมาจ้า
Next : ไข้หัวลม » »
9 ความคิดเห็น
ลุยดีจังค่ะ ครอบครัวแสนสนุก ^ ^
เบิร์ดไม่ค่อยชอบรสข้าวแคบค่ะพี่นิด ยังคิดอยู่ว่าถ้าทำออกหวานน่าจะขายได้ดีกว่านี้ ลองประยุกต์เป็นคล้ายๆทองม้วนนิ่มน่าจะดี หรือแทนแผ่นปอเปี๊ยะกินคล้ายๆแหนมเนืองก็น่าจะเข้าท่านะคะ
แต่ชอบที่โม่แป้ง ไม่เห็นนานมากแล้ว คลาสสิคมากค่ะ ..วัดอยู่บนเขาเหรอคะ บันไดบุญถึงชันขนาดนั้น
สนใจว่าในถาดบวงสรวง ยังมีน้ำสัมขวดเข้าไปอยู่ได้เนาะคะ มีนม น้ำ และน้ำส้มขวดที่ดูทันสมัยดี ^ ^ …คนท้องถิ่นพูดภาษาอะไรคะพี่นิด อยู่มานานแล้วหรือว่าอพยพมา ?
ประวัติบ้านตากค่ะ น้องหมอ
ข้าวแคบคงไว้เค็มนิดๆค่ะ พี่ถามบอกทำไม ไม่ปรุงรส แซบ เค้าบอกจะไปเหมือนที่จ.อุตรดิตถ์ ต้องนำไปยำ ค่ะ ใส่ปลาย่าง แครอท ปรุง 3 รส ทานเป็นเมี้ยงคำ เหมือนแผ่นปอเปี้ยะ จะกินกับเต้าเจี้ยว ออก เค็มหวาน เปรี้ยวชิ้นมะนาว มันอร่อยหอมจากข้าวพอง ตะไคร้ ผัก พืช สวนครัว อยากทานเผ็ดต้องกัดพริกไปด้วยจ้ะ คราวหน้าผ่าน ตากจะไม่ให้พลาด
โม่นี่ล้างสะอาดใช้ได้ด้วยค่ะ ป้าเค้าทำส่งมากจะใช้โม่ไฟฟ้าแทน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตากไปทำวิจัย ปรุงเป็นผสมสมุนไพร จากกะชายดำ ขมิ้นชัน ใบชาด้วยค่ะ
ค่ะวัดบรมธาตุ อยู่บนบนเขา จะสูงตอนปลายของสะพานบุญ
คนท้องถิ่นพูดภาษากำเมืองกับบ้านเดียวกัน คนสูงอายุจะพูดภาษาไทยกับอย่างพี่ได้ชัดเจน
อยากเที่ยวบ้าง
ผมมีกล่องยาติดรถตลอด เป็นชุดสามัยประจำบ้าน เผื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็เอามาใช้ทันที ประเภทบ้าหอบฟาง อะไรต่ออะไรขนไปเต็มท้ายรถโหมดครับ
มีครั้งหนึ่งเอาโต๊ะเก้าอี้ไปด้วย(แบบพับได้) เอาไปนั่งกินข้าวกลางป่า สนุกดีครับ
ไปเที่ยวกับครอบครัวดีนะครับ
นี่ขึ้นไปลำพูนก็นัดลูกสาวให้ขึ้นไปด้วยครับ
เห็นรูปคนแก่ทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยการรักษาวัฒนธรรมไว้ดีจังเลย น่าจะมีวิทยาลัย มหาวิทยาลัยไปเก็บภาพประเพณีแบบนี้ไว้นะครับ
สืบไปข้างหน้ามันจะเหลืออะไรบ้างก็ไม่รู้…
ค่ะพี่บางทราย น้องไปเป็นตัวแทนของ นักวิจัยเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง จากโจทย์วิจัยพื้นที จ.ตาก ในนามของมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ 52 นี้ ค่ะ พัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัตาก
น้องมีกล่องยาตลอด ครั้งนี้ พ่อเค้าเตรียม ผ้ายางผืนใหญ่ ห่อพื้นเต้นท์ น้ำฝนซึมไม่ได้ไปด้วย เก้าอี้พับเล็ก ประจำตัวเลย จอดตรงใหน เปิดท้ายรถ กางนั่งทานข้าวกันได้จ้ะ
สวัสดีค่ะ น่ายินดีจังค่ะ ขอชื่นชมด้วยนะคะ ที่เป็นคนท้องถิ่นอื่นแต่กลับให้ความสำคัญกับตากมากกว่าคนตากเสียอีก ดิฉันเป็นคนตากโดยกำเนิดค่ะ กำลังทำวิจัยเรื่องปัญหาการท่องเที่ยวตากพอดีเลย บังเอิญsearch เข้ามาเห็นค่ะ หากต้องการนักวิจัยเครือข่ายก็ยินดีรับใช้นะคะ ติดต่อ อ.ยุพิน มีใจเจริญ 0817849221ค่ะ (คณะบริหารธุรกิจฯ ราชมงคลตาก)
คิดถึงคนที่อยู่บ้านตาก ป้ามาลี ป้ามาลัย แม่นี น้องกวาง หนึ่ง คิดถึงมาก
สวัสดีค่ะน้องหนึ่ง น้องหนึ่งอยู่ที่ใหนคะตอนนี้ พี่ไปบ้านตากทุกครั้งที่ไปตาก ว่างเมื่อรัยบอก จะขอให้น้องหนึ่งพาไปไปเก็บข้อมูลจ้า อิอิ
คิดถึงบ้านตากที่สุดเลย…
และก็ยังเคารพตาทาเหมือนเดิมนะค่ะ
สวัสดีค่ะคุณ nu_op ดีใจค่ะ คิดถึงบ้านตากกลับบ้านปีละกีครั้งคะ กลับบ้านตากคงไปกราบตาทานะคะ