แผนผ่าตัดชีวีวิถีไทยใหม่

อ่าน: 1543

แผนผ่าตัดชีวีวิถีไทยใหม่ อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

โครงการประชานิยัน หมายถึงถ้าให้ชาวบ้านคิด ก็จะยืนยันในวิธีคิดยังงี้ละครับ

ไม่รู้จะร่วมความอเนจอนาถกับกับพี่น้องในภาคกลางได้อย่างไร นอกจากนอนเฝ้าจอทีวีทั้งวันทั้งคืน สะดุ้งเป็นครั้งคราวกับข่าวช็อกโลก ภาพผู้เคราะห์ร้ายโดนไฟฟ้าดูด คุณตาคุณยายที่หง่อมและป่วย เรือออกไปรับแต่เสียชีวิตระหว่างลำเลียงออกมา ภาพความโกลาหลทุกพื้นที่วิกฤติยิ่งกว่าจลาจลเสียอีก ให้สัมภาษณ์ด้วยน้ำตาอาบแก้ม ไม่มีใครนิ่งดูดาย ส่วนมากไม่เชื่อว่าน้ำจะท่วมโลกและมาเร็วดังลมเพชรหึงอย่างนี้ นึกว่าขนของขึ้นชั้นบนจะรอด เอาเข้าจริงมันท่วมมิดหลังคา ที่ห่วงกังวลทรัพย์สินเป็นอันดับแรก ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว จะเอาตัวเองให้รอดก็แทบแย่ จะมียุคสมัยไหนละครับที่พี่น้องต้องทุกข์ระทมขนาดนี้

ที่สวนป่าเคยคุยกันเรื่องนี้หลายปีมาแล้ว

พระอาจารย์วรภัทร์ ภู่เจริญ ก็เตือน

รอกอด ก็เตือน

เรานึกว่ามันยังอยู่ห่างอยู่ไกล

พายุน้ำมามันต้องไปรับบัตรคิวที่ไหนเล่า

ตึงๆๆ..ไม่กี่ชั่วโมงก็ท่วมมิด มันกระทันหันจนหายใจหายคอไม่ทัน ใครจะช่วยใครในเมื่อตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ..ขอให้เก็บข้อมูลมหาวาตภัยคราวนี้ไว้ให้ดี จะได้คิดอย่างใคร่ครวญว่าจะเอายังไงกับอนาคตข้างหน้า จะพาตัวเองไปวางไว้ที่ไหนถึงจะปลอดภัย คิด คิดๆๆ ..

โครงการฯรถคันแรก เปลี่ยนมาเป็น เ รื อ คั น แ ร ก/เครื่องยนต์ดีไหม

บ้านหลังแรก เปลี่ยนมาเป็น บ้ าน แ พ บ้ า น พ ล า ส ติ ก หลังแรกดีไหม

โครงบ้านแพหลังแรกอย่าลืมพ่วงห้องสุขาลอยน้ำด้วยนะ

ถุงยังชีพ เปลี่ยนมาเป็น เสบียงเลี้ยงชีพยามฉุกเฉิน

ทุกปีก่อนน้ำหลาก ต้องเตรียมข้าวปลามาทำเสบียงไว้ให้พร้อม

ทำเหมือนได้ข่าวพม่าบุกอโยธยานั่นแหละ

น้ำดื่มน้ำใช้ ต้องออกแบบให้ดี เทถังเก็บน้ำฝนแบบมีชัย สูงประมาณ 8 เมตรไว้เก็บน้ำฝน ถ้ามีถังน้ำ 4-5 ถัง/ครัวเรือน ก็จะแก้ปัญหาน้ำกินน้ำใช้ได้ ถ้าคิดยืนหยัดที่จะอยู่ต่อไปก็ต้องลงทุนสู้ทุกรูปแบบ

ต้องปรับการดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ

สร้างวิถีชีวิตใหม่ให้ครบวงจร

แสงสว่างไฟฟ้าติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์

ส่งเสริมให้เกิดโรงงานผลิตบ้านพลาสติกที่แข็งแรงลอยน้ำได้


กลุ่มโรงงานต้องคิดใหม่ ถ้าไม่ย้ายออกไปตั้งที่ใหม่ ก็ต้องรื้อขยายโรงงาน ตอกตอหม้อยกระดับพื้นโรงงานสูง 12 เมตร สำหรับติดตั้งเรื่องจักร ต่อชั้น2-3-4เป็นที่ประกอบเครื่องยนต์สำเร็จรูป ต้องลงทุนมหาศาล การย้ายโรงงานกับการปรับปรุงโรงงานย่างไหนจะคุ้มทุนมากกว่ากัน ถ้าไม่คิดแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ก็จะเจอแจ๊กพ๊อทที่นับวันจะกระหน่ำรุนแรงมากขึ้น

กลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย ถ้าไม่ย้ายไปที่อื่น จำเป็นจะต้องอยู่ที่เก่า ก็ต้องดีดบ้านขึ้น สร้างบ้านใต้ถุนให้สูงมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องสร้างบ้านพลาสติกสำรอง บ้านแพสำรอง ครัวเรือนหนึ่งๆจะต้องมีบ้านอะไหล่ หรือบ้าน 2 ฤดู หน้าแล้งก็อยู่หลังหนึ่ง หน้าฝนก็อยู่อีกหลังหนึ่ง โครงการบ้านหลังแรก ก็เปลี่ยนมาเป็นบ้านอะไหล่ที่ว่านี้ดีที่สุด

เรื่องรถไฟหัวกระสุนต้องคิดทำอย่างจริงจังแล้วละครับ

ควรทำรางรถไฟรางคู่ออกจากกรุงเทพทุกทิศทุกทางในรัศมี 200..

ผู้คนที่อพยพออกไปอยู่ต่างจังหวัด

ตื่นเช้ามาก็นั่งรถไฟหัวกระสุนมาทำงานในกรุงเทพฯ

ใช้เวลาครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงก็ถึงที่ทำงานแล้ว

อาจจะเร็วกว่าการเดินทางในปัจจุบันนี้เสียอีก

จะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวได้อย่างเป็นรูปธรรม

ดีกว่าไปกู้เงินมาทำโครงการประชานิยมบ้าๆบอๆ

ล อ ง ทำ โ ค ร ง ก า ร ป ร ะ เ ท ศ มั่ น ค ง ดี ไ ห ม ค รั บ ?

ผมฝันละเมอเห็นกรุงเทพฯจมน้ำใน10ปีข้างหน้า

ที่ชวนมาอีสานก่อนหน้านั้น

ก็เพื่อจะเป็นทางเลือกให้ใคร่ครวญ

ตื่นเช้าก็แต่งตัวเช้งวับนั่งรถไฟหัวกระสุนไปทำงานที่เดิมได้

ลองพิจารณานะครับ

เผื่อจะมีท่านใดอยากจะมีบ้านอะไหล่ แต่หัวใจคงเดิม อิ อิ..

« « Prev : คิดเบาๆ >>

Next : ดีกว่านั่งหายใจทิ้ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 เวลา 17:29

    อีกไม่นานคงเป็นเรื่องจริงจัง ครับพ่อครู
    ดูอย่างบันทึกของลานซักล้าง ที่พยายามบอกวิธีเอาตัวรอดยามเกิดภัยพิบัติ เราก็แอบอ่านเก็บไว้ แต่ไม่นึกไม่ฝันว่าเหตุการณ์จะเกิดในประเทศไทยเร็วไวปานนี้

    ว่าแต่ว่า ผมว่าการเตรียมตัวภาวะฉุกเฉินของประเทศสารขัน นี่มันอ่อนจริงๆ เห็นภาพคนเจ็บนอนติดในโรงบาลยุดยาแล้วสังเวช มีปัญญากันเท่านั้นจริงๆ เรือแพมีเท่านี้รึ คนทำก็ทำกันเต็มที่แต่คนที่ยังไม่ออกโรงก็รอดูเฉยๆ เอาตาหานมายึดอำนาจอีกดีไหม แล้วก็เอาปืนไปยึดเรือเร็วเรือเจ็ต มาใช้งาน
    ฝ่ายประเมินสถานการณ์ว่า รอดๆปลอดภัยนี่ก็ต้องเอาไปเรียนเสริม ทำไมเชื่อมั่นแบบไม่ระแวดระวัง พอท่วมมาก็โกลาหล
    สมัยผมไปอยู่เกาะอินโด บริษัทเขาจ้างตาหานฝรั่งมาซ้อมแผนอพยพ ว่าจะเดินไปจุดไหน ขึ้นเรือไปเกาะไหน เรือใหย่จะมารับไปที่ไหน
    คริ คริ ไม่ออก

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 เวลา 21:08

    มือสมัครเล่นก็ทำได้แค่นี้ละครับ คิคิ ไม่ออกเหมือนกัน

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 เวลา 21:15

    เอาวิกฤติเป็นโอกาสได้บ้างไหม

    ผมคิดเล่นๆ คณะวิศวะทั้งหมดทั้งมวลออกไปสนามดูน้ำท่วม แล้วรัฐบาลยิ่งหลอก เอ้ยยิ่งลักษณ์ เอางบประมาณให้ ไปดูซิว่าปัญญาวิศวต่างๆนั้นจะออกแบบอะไรมาช่วยชาวบ้านยามวิกฤติเช่นนี้ได้ มีคนเสนอแนวคิดดีดีมากมาย เอามาทำซะ ใช้แล้วมีปัญหา ก็ดัดแปลง ปรับปรุงให้ดีขึ้น อาจพัฒนาไปถึงขั้นส่งออกในอนาคตก็ได้ ทำอะไรได้บ้างล่ะ เรือ แพ ส้วมลอยน้ำ ชูชีพเห็นว่าเดิมราคา 150 วันนี้ขึ้นไปถึง 450 แล้ว ทรายหมดกรุงเทพ ยกเว้นที่มันกักตุนไว้ ถุงใส่ทรายขายดีเป็นเทน้ำเทท่าหมดเกลี้ยง ต้องนำเข้าพร้อมขึ้นราคา มันจะบ้าหรือ ยามพี่น้องเดือดร้อนมันก็กดขี่ลงไปอีก ระวังเถอะ คนถูกน้ำท่วมยิ่งเครียดๆ เดี๋ยวเจอะดีแน่
    คณะอื่นๆ มหาวิทยาบัยน วิทยาลัยต่างๆ ตั้งโจทย์ลงไปคิดช่วยกันทุกด้านทุกเรื่อง ใครถนัดอะไรก็ลงไป ที่แจกก็แจกไป ที่คิดสร้างสรรค์การแก้ปัญหาระยะยามก็คิดไป คิดดังๆด้วยนะจะได้รู้กัน

    ปลายสัปดาห์นี้งานเบาลง (ก่อนที่จะตามมาหนักต่อ) ผมคงมีโอกาสไปลุยบ้างครับ

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 เวลา 21:42

    ตราบใด้ที่สอนแห้งๆ มันก็เป็นอย่างนี้ละครับ
    ทั้งๆที่นักศึกษามีพลัง มีความคิด
    แต่ระบบการศึกษาล็อกให้อยู่ในกระดาษ ในห้อง
    แล้วเมื่อไหร่นักศึกษาจะเข้าใจสังคม มีส่วนร่วมสังคม และรับผิดชอบสังคม
    พูดไปก็ เหยียบตาปลาใครๆเปล่าๆ
    คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ นโยบายการศึกษา หลักสูตร และจิตสำนึกบกพร่อง อิ อิ..

  • #5 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 4:51

    น้ำท่วมคราวนี้ พอๆ กับพายุแคทรีน่าถล่มสหรัฐ เลยนะคะ ไม่ต่างกันเลย ทั้งปริมาณน้ำ ความเร็ว วงกว้างของความเดือดร้อน และการที่ผู้คนจำนวนหนึ่งไม่ยอมออกจากบ้านไปยังศูนย์พักพิง (ที่ก็คงไม่พอ??)การโกลาหลของคนช่วยเหลือ ฯลฯ

    แตกต่างจากสึนามิถล่มญี่ปุ่นที่เราจะเห็นภาพการอพยพ การเข้าแถวรออาหารและน้ำ

    สงสารจับขั้วหัวใจ กับข่าวและภาพคนเดือดร้อน และคนที่ลงไปช่วยอย่างเต็มที่ สงสารคนทำงานในหน่วยบริการต่างๆ และในโรงพยาบาล

    มีหนทางที่จะกระจายที่พักพิงชั่วคราวให้คนเดือดร้อนไปอยู่ต่างจังหวัดต่างๆ ก่อน ได้ไหมนะคะ จะได้ไม่แออัดทั้งที่พักและเรื่องอาหารการกิน

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 เวลา 10:01

    ช่วงนี้เป็นบทเรียนที่ไม่มีในตำรา
    การแก้ปัญหาไม่ได้วางแผนไว้ว่ามันจะมหาวินาศขนาดนี้
    จึงต่างคิดต่างทำอุตลุดในเบื้องต้น
    ในขณะที่ปัญหาก็ไล่ตามหลังมามากขึ้น หนักขึ้น รุนแรงขึ้น
    ที่คิดว่าจะรอด บ้าง ก็จมดิ่ง
    ถึงวันนี้ก็ยังต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    เพราะทำอะไรให้สมบูรณ์กว่านี้ยาก ในเมื่อไม่ได้เตรียมรับวิกฤติใหญ่อย่างนี้
    ต้องรอดูตอนสรุปอีกที ว่าจะเป็นจะได๋
    เราคนไกลก็ได้แต่ใจหาย คนใกล้จะประมาณไหนหนอ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.032028913497925 sec
Sidebar: 0.047157049179077 sec