ว่าที่ดอกเตอร์หัวใจเสริมใยเหล็ก

อ่าน: 2026

มหาชีวาลัยอีสานได้ต้อนรับนักศึกษาที่ข้ามฟากมาจากทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมีดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวน แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม พาลูกศิษย์รุ่นสุกรไม่กลัวน้ำร้อนมาจัดโสเหล่ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

หลักสูตรดังกล่าวมีเสน่ห์มหาระรวยอย่างไรผมไม่ทราบได้

มีอาจารย์ดอกเตอร์และรองศาสตราจารย์มาสมัครเรียน2ท่าน

มีพระสงฆ์นักพัฒนาชั้นแนวหน้ามาสมัครเรียน3รูป

มีข้าราชการจากหลายหน่วยงานอีกจำนวนหนึ่ง

สถาบันราชภัฏทั่วประเทศประกาศเจตนารมณ์มานาน ในการที่จะเป็นสถาบันเพื่อพัฒนาท้องถิ่น นอกจากจะเป็นแหล่งให้การศึกษาลูกหลานที่อยู่ในภูมิภาคแล้ว บางครั้งยังมีโครงการร่วมกับหน่วยราชการในเรื่องสำคัญๆและทำการวิจัยอีกด้วย มาบัดนี้เจตนารมณ์ดังกล่าวเริ่มขยับขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง หลังจากที่ไปทำMOU.กับมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีมหาชีวาลัยอีสานเป็นกองเชียร์ คอยหิ้วปีกเข้ามุม และยื่นยาหม่องยาดมให้ในยามที่ระโหยโรยแรง

รายการพบปะกันแบบปิดประตูตีแมวเริ่มขึ้นเมื่อนักศึกษาวางข้าวของ แล้วทยอยเข้ามานั่งล้อมวง ผมกล่าวต้อนรับตามธรรมเนียม พร้อมกับเล่าย้อนไปถึงกระบวนการพัฒนาอาจารย์และนักศึกษาตามโครงการกาญจนาภิเษก ที่เคยยกทีมมาที่นี่เมื่อ4-5ปีที่แล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการศึกษาและวิจัย ต้องการจะเห็นรูปแบบและกระบวนการศึกษาที่เอาวิถีชนบทเป็นตัวตั้ง แต่ก็นั่นแหละเธอ ไม่ว่าจะเป็นโครงการช้างเผือกหรืออื่นๆขยับไม่ออก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเงื่อนไขหรือพลังแฝงต่างๆยังไม่ทะลุทะลวงพอ

(ลุ้น ดูลายมือแล้วทายว่าจะเป็นจะได๋พ้อง)

จนกระทั้งมาถึงปีนี้ ปีประวัติศาสตร์ของวงการพัฒนาการศึกษาต้องจับตามอง ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามสวมหัวใจสิงห์สร้างหลักสูตรนี้ขึ้นมา โดยเอาหลักพุทธธรรมมาเป็นหลักการ โดยเอาไปตีแตกในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา โดยมีข้อฉุกคิดว่า..หลังจากที่เราพึ่งพาตำราวิชาการต่างด้าวทั้งดุ้นมานานแล้ว โรคทางสังคมก็ยังไม่ดีขึ้น หลักสูตรนี้จึงมีลูกฮึดจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ..คำสั่งสอนของพุทธองค์สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างเป็นรูปธรรม เพียงแต่นักศึกษาจะต้องค้นหากระบวนการที่จะทำให้เรื่องนั้นๆมีธรรม

“พุทธศาสนาอาจมีส่วนส่งเสริมอย่างแน่นอนสำหรับจุดประสงค์อันสร้างสรรค์ทางการศึกษาและวัฒนธรรมเช่นว่านี้ แต่ในเรื่องนี้มีประเด็นหนึ่งที่จะต้องให้กระจ่างชัดกันในฐานะเป็นศาสตร์ของการดำรงชีวิต พุทธศาสนามุ่งอยู่เสมอที่จะแสดงสัจธรรมสากลเกี่ยวกับชีวิตและการดำรงอยู่ และปัญหาของมนุษย์”

“ การเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐานในระบบการศึกษาปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เด็กๆมีความรับผิดชอบยิ่งๆขึ้นต่ออนาคต เพื่อจุดมุ่งหมายในข้อนี้ เราขอเรียกร้องว่าการศึกษานั้นควรตั้งอยู่บนคุณค่าที่แท้จริง ซึ่งเน้นศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ การเคารพต่อชีวิตและธรรมชาติ และการพึ่งพาอาศัยกันของสรรพสิ่งทั้งปวง คุณค่าของศาสนาควรได้รับการบรรจุในการสอนในส่วนที่จะเป็นไปได้ “

เสน่ห์ จามริก

ช่วงที่ชวนคุย..ผมสะท้อนให้เห็นว่าความเป็นไปในโลกนี้ ที่เริ่มสั่นคลอนอ่อนไหวอ่อนแอไปทุกหัวระแหง เกิดปัญหาซับซ้อนทับถมจนทำให้คุณภาพสังคมชำรุด เราใช้ทฤษฏีอะไรบ้างมาพัฒนาสังคมไทย แล้วผลเป็นอย่างไร?

ถามว่า มีทฤษฏีตะวันตกฉบับไหนบ้าง

ที่ช่วยการพัฒนาชาติไทยให้รอดพ้นจากความทุกข์ยากได้

การที่หลักสูตรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

จะยึดเอาบารมีพุทธศาสนามาบ่มเพาะสติปัญญาจึงน่าสมใจใช่ไหมละครับ

ผมเริ่มใช้ปากเปิดประเด็น ตามวิชาหัวใจนักปราชญ์ เรียงลำดับ สุ จิ ปุ ลิ ก็เดินเรียงตามลำดับไหล่ไงครับ รายการล้วงความคิดความคัน.. ช่วยบอกหน่อยเถอะ คิดจะทำเรื่องไหนอย่างไร นักศึกษาทุกท่านเปิดเผยความในใจ บ้างก็มองหัวข้อไว้แล้ว บ้างก็ซักถามความเห็น จนกระทั้งถึงช่วงบ่าย จึงให้ปูเสื่อแจกหมอนให้นอนคุยกัน

ใคร่ใคร่ฟังๆ ใครใคร่นอนๆ ใครใครยิ้มๆ อิ อิ

ช่วงแดร่มลมตกชวนเดิน ไปชมนกชมไม้ ยืดเส้นสายสอดส่องดูว่าที่นี่มีอะไรทำ ทำอย่างไร สงสัยว่ากำลังครุ่นคิดเรื่องที่ค้างคาใจ จึงไม่มีใครซักถามสักเท่าไหร่ จึงพาเดินในวงเล็กๆแล้วกลับมาอาบน้ำ แต่งตัวทางแป้ง รับประทานอาหารเย็น

มาตะลุมบอลต่อในช่วงกลางคืน นักศึกษาใจร้อนพยายามซักถามเรื่องหัวข้อวิทยานิพนธ์ โธ่! ใครจะตอบแทนได้ละครับ ขอให้กลับไปถามตัวเอง ว่าเกิดมามีความต้องการที่จะศึกษาและวิจัยเรื่องใดมากที่สุด ..เป็นช่วงบรรยากาศเอาจริงมาก พยายามเค้นหัวข้อให้หลุดโพละออกมาให้ได้ แต่จนแล้วจนรอด ..

จนย่ำรุ่งจึงแยกย้ายกันไปนอน

นอนไหนก็นอนได้ อย่านอนใกล้คนหลายใจก็แล้วกัน อิ อิ

ฝนพรำทั้งคืน ตื่นเช้ามายังฉ่ำเย็น ดร.ศักพงศ์ ชวนย้ำคิดย้ำทำ ให้ตระหนักถึงการทำหน้าที่นักศึกษา ผมค้นหนังสือมาแจก หยอดต่อด้วยวิธีเรียน ตั้งข้อสังเกตเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การจดบันทึก การเป็นตัวคูณของกันและกัน ทำให้19ชีวิตเป็น19อรหันต์ทองคำให้ได้ ทำการบ้านให้มาก อย่ารีรอเพราะไม่มีเหตุผลที่จะชักช้า เดินหน้า ทุ่มสุดตัว

สนทนาเรื่องราวและภาพของอนาคตของเราก็เผยกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ล่วงมาถึงทุกวันนี้ด้วยการดูดายผืนพิภพที่ชีวิตต้องพึ่งพา เราได้ทำให้โลกอันล้ำค่า
บ้านของเรา มีสภาพร้างไร้ไม่เหมาะที่จะพำนักอาศัย
บัดนี้ด้วยความรุนแรงที่แสนสลับซับซ้อน

ถามว่า..เราจะเอาตัวเราเองไปวางไว้ตรงไหนของสังคม

เราจะทำอะไรได้บ้าง

สิ่งที่เลือก สิ่งที่คิด ทำไมถึงเลือกสิ่งนั้น เหตุผล ….อะไร

ควรแนะนำชื่อหนังสือให้นักศึกษาแต่ละคนอ่าน

พานักศึกษาไปพบปะผู้สันทัดกรณี

จัดให้มีการสนทนาแบบสภากาแฟเท่าที่โอกาสอำนวย

พานักศึกษาเข้าร่วมประชุมสัมมนาที่สำคัญๆ

นำนักศึกษาไปร่วมกิจกรรมชุมชน/ภาครัฐและเอกชนฯลฯ

วางระบบการเชื่อมโยงสารสนเทศกลุ่มแม่ข่ายและลูกข่าย

จัดให้ใกล้เคียงกับหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้าเลยละครับ

ไ ม่ มี บั น ไ ด เ ลื่ อ น สำ ห รั บ ค ว า ม สำ เ ร็ จ

จะต้องไต่เต้าไปทีละขั้นๆ ละขั้นๆ

ด้วยความมุ่งมั่นและทระนง

เวลาถูกลองของจะได้ไม่ร้องโอดครวญ อิ อิ

« « Prev : คนสกุลเฮ

Next : ดินหล่ม » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 ตุลาคม 2011 เวลา 19:57

    คำตอบที่แท้คือสิ่งที่เขาคิดออกมาเอง มิใช่มาจากการที่คนอื่นมาบอก

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 ตุลาคม 2011 เวลา 22:05

    บอกย๊ากยาก ให้หาคำตอบเอาเอง
    คำตอบไม่มีขาย ไม่มีบอก ไม่รู้อยู่ที่ไหน
    ถ้ามีง่ายๆเจอง่ายๆ ดร.คงเดินชนกันตายยยยยย

  • #3 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 ตุลาคม 2011 เวลา 13:20

    ชวนมาร่วมงานวิถีวิจัยมช

    คงมีเรื่องราวใกล้เคียงกับสิ่งที่ท่านว่าที่ ดร. ทั้งหลายสนใจก็ได้ค่ะ

    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำหนดจัดงานวันวิชาการ ครั้งที่ 7 “วิถีวิจัย: สู่การพัฒนาและรับใช้สังคม
    (Research Path for Social Development and Responsibility)” ระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2554 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงใคร่ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมตามวันและเวลาดังกล่าว โดยสามารถลงทะเบียนออนไลน์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทาง http://academicdays.oop.cmu.ac.th/index.aspx ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2554

    เรื่องการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมนี่…อยากเห็นมากๆๆๆ ค่ะ
    ทุกวิชาอาชีพ ทุกสาขาวิชา มักกำหนดไว้เสมอ แต่ทางปฏิบัติบางทีก็ ทำกันไปคนละทิศละทางตามแต่ถนัด
    หน่วยทุนวิจัยของไทยเขาก็กำหนดแนวให้มาก แต่บางทีก็ไม่ค่อยตรงกับที่นักวิจัยสนใจก็มี

    เอาใจช่วย ว่าที ดร. ทั้งหลายค่ะ

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 ตุลาคม 2011 เวลา 20:05

    ขอบคุณอุ้ยมาก จะส่งข่าวถึงว่าที่ ดร.นะครับ อิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.2408318519592 sec
Sidebar: 1.038192987442 sec