ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
เมื่อวานอ่านหนังสือ 9 พุทธ 9 เต๋า 9 เซ็น
อ่านเรื่องนี้ถูกใจจึงอยากเล่า เป็นเรื่องที่ 7ของเต๋า จากหนังสือดังกล่าว
“ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน”
เมื่อจัดลำดับเท่าเทียมกันหมด
ความแตกต่างก็ไม่มี
เมื่อสภาพเท่าเทียมกัน
เอกภาพก็ไม่มี
เมื่อประชาชนทั้งหมดเท่าเทียมกัน
ความเป็นระเบียบก็ไม่มี
ฟ้าและดินยังมีอยู่ตราบใด
ตราบนั้นย่อมต้องมีสูงมีต่ำอยู่
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเสมือนต้นน้ำ
ถ้าต้นน้ำใสสะอาด กระแสน้ำก็ใสสะอาด
ถ้าต้นน้ำเน่า กระแสน้ำก็เน่า
ผู้ใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเหมือนจานใส่น้ำ
ถ้าเป็นจานกลม น้ำในจานก็กลม
ถ้าจานสี่เหลี่ยม น้ำในจานก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเหมือนลม
ประชาชนเปรียบเหมือนหญ้า
หญ้าต้องลู่ไปตามลม
และดูลมไหวที่ยอดหญ้า
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเหมือนเรือ
ประชาชนเปรียบเหมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้
และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน
อ่านเรื่องนี้สะท้อนให้คิดว่า ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติ
ตำแหน่งหน้าที่การงานคือหัวโขน
ทุกคนคือปถุชน ธรรมดา มีศักดิ์และศรี เท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์
ให้ใช้ความเป็นมนุษย์ในการดำรงหน้าที่ด้วยอริยบทอันเบิกบาน
“บอกตัวเองค่ะ”