ทะเลาะกันไปทำไม

5 ความคิดเห็น โดย sompornp เมื่อ มิถุนายน 24, 2010 เวลา 23:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การจัดการความไม่รู้, ตามจริต, เรื่องเล่า #
อ่าน: 1131

หลาย ๆ ครั้งที่ประเด็นในการทำงานร่วมกันของความเป็นหัวหน้ากับลูกน้อง กับเพื่อนร่วมงานย่อมหลีกหนีความไม่เข้าใจ นำไปสู่การทะเลาะกันในการงานก็เป็นได้  ประเด็นที่จะกล่าวถึงไม่ใช่มองหาประเด็นว่า มันเกิดขึ้น เพราะอะไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร  แต่วันนี้จะขอเล่าเรื่องการกลับเข้ามาดูในใจตัวเองทุกครั้งที่มีประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้น

การวางอารมณ์ไว้ภายนอกกายและใจ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติยาก  แต่มันก็เป็นเรื่องที่พยายามที่จะเรียนรู้ทุกครั้ง เมื่อเกิดภาวะนี้ เพียงเราเริ่มต้นที่เมื่อมีเหตุเกิด มันเกิดจากความเข้าใจ ความต้องการของบุคคลนั้น ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจกับความต้องการของเรา  ซึ่งถามว่าผิดไหม จริง ๆ มันไม่มีผิด ไม่มีถูก  เพราะสิ่งที่เรามองนั้นเป้าหมายมันต่างกัน  จึงพยายามเรียนรู้ที่จะเข้าใจ  และถ้ามีโอกาส ก็จะรับฟังและถ้าต้องการคำอธิบายก็จะลองแลกประเด็นกัน  แต่ถ้าใจแต่ละคนไม่เปิด ที่จะยอมรับฟังกัน  สิ่งที่จะก่อประโยชน์ก็จะไม่เกิดขึ้น  บางครั้งอาจต้องการเวลา และโอกาส ซึ่งรวมถึงพื้นที่ปลอดภัย ที่จะร่วมเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

จึงเริ่มเข้าใจว่า แล้วเราจะทะเลาะกันไปทำไม

เรียนรู้เป็นเด็กอนุบาลอีกคนตาม อ.สร้อยค่ะ

 

รูปนี้ยืมน้องบ้านมกรามาค่ะ

Post to Facebook


เรื่องสืบเนื่อง(ก็แล้วกัน)

อ่าน: 1270
  • - หัวหน้าเต้นไปกับท่าน ๆ หรือเปล่า ทำไมไม่เป็น back ให้น้อง ๆ อะไรก็รับมา แบบนี้น่าจะไม่มีความสุขนะ (อืม…..1 ดอก)
  • - แล้วที่มาทำงานก่อนเวลานี่ห้องอื่นเขาทำกันหรือเปล่า หรือว่าที่ไหนขอ(บังคับ)ได้ก็ขอ แต่ที่ไหนไม่สามารถจะทำได้ก็เว้นไป (อ่อนไหนแทง แข็งไหนเว้นนั่นแหละ…อิอิอิ  ดอกที่  2 )
  • - อยากรู้เป้าหมายของการมาทำงานก่อนเวลานี่คืออะไร เพราะส่วนงานที่เราให้บริการที่เป็นงานต้องติดต่อในเวลาราชการอยู่แล้ว ถ้าเป็นส่วนที่สนับสนุนการเรียนการสอนก็เป็นอีกเรื่อง
  • @#%$@$%&^$$#%FGYT&$@$$#%$
  • จากเรื่องเล่าเมื่อวันวาน มีข้อสรุปที่ได้เรียนรู้คือ

    1) เริ่มแรกรู้สึกเดือด ๆ ๆ ในใจ หัวหน้าไม่ใช่กระโถนนะเฟ้ย หัวหน้าก็ทำตามหน้าที่นะ ไม่เคยที่รับปากมาโดยที่ไม่ถามความคิดเห็นลูกน้องหรอก  แต่จะพูดให้แรงแล้วได้อะไร ถามใจตัวเอง ระหว่างฟังเป็นระยะ ๆ ว่ารู้สึกอย่างไร ตัดสินไหม พิพากษาไหม ก็ค่อย ๆ ปลดทีละล๊อค ๆ ๆ อืม ความรู้สึกเดือด ๆ ก็เย็นลง ๆ ๆ ก็อธิบายด้วยเสียงที่ไม่(ค่อย)ดัง ทำให้ได้เรียนรู้อีกครั้งว่า การฟังอย่างไม่พิพากษา ไม่ตัดสินนั้น มันช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริง  อธิบายแล้ว คุยกันแล้ว ว่ากันแล้ว ก็ประเมินเองว่า ถ้าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเอง ไม่เทียบเคียงคนอื่น มันก็สุขได้โดยเริ่มจากใจเรานั่นแหละ  ก็หวังว่าจะเห็นทางสว่างกันบ้างนะ(อันนี้คิดให้ตัวเอง) อุอุอุ

    2) ประเด็นที่ 2 นี้ ได้อธิบายว่า ทำไมเราต้องเทียบกับคนอื่น เราเทียบกับหน้าที่เราไม่ได้หรือ เรามีหน้าที่อะไร แล้วหน้าที่ที่เราทำนั้น ทำได้ไหม มันเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือเปล่า  แล้วมาปรึกษากันนี่ ก็จะถามว่าจะทำไหม สรุปคือ ไม่ทำ ก็รับไปเพื่อสรุปเสนอท่าน ๆ ว่าต่อไปเราจะทำอย่างไร (ตอนนี้ยังไม่ได้เสนอ แต่หัวหน้ามาทำงานก่อนแปดโมงแทน…เพื่อดูสถิติว่า เช้า ๆ มันมีกิจให้ต้องทำอะไรบ้าง…ลองสักตั้งคร๊าบพี่น้อง….อิอิอิ)

    3) ประเด็นนี้ เป็นคำถามเฮงซวยหรือเปล่าไม่รู้  แต่จริง ๆ บทบาทหน้าที่ตัวเองก็ต้องรู้ว่าเราทำหน้าที่อะไร  แต่การที่ไม่รู้ตัวเองนี่ อธิบายตรง ๆ ก็ไม่เข้าใจ อธิบายแบบออฟไซด์ก็จะแรงไป ก็ถามว่า ตำแหน่งของแต่ละคนคืออะไร การที่เราไม่มาทำงานตรงเวลานั้น มันกระทบใครบ้าง แล้วคนที่ต้องทำหน้าที่แทนนั้นมันกระทบกับภารงานประจำอะไรหรือเปล่า @#@$%#$%#@^%R!^ ก็เปิดประเด็นคุยกันยาว  สุดท้ายมาจบลงประเด็นที่ว่ามันก็ไม่มีปัญหาอะไรกันนี่  ก็เลยตั้งคำถามว่า แล้วที่เราบอกว่ามันไม่มีปัญหาทำไมเราต้องมีอะไรในใจว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้  มันเป็นเพราะเราไม่รู้หน้าที่ตัวเองต่างหากล่ะ  แล้วถ้าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเอง มันก็จะทำงานให้เกิดความสุขกันได้ อย่าเอารารมณ์เป็นตัวตั้งเลย  งานต่างหากล่ะ เลิกเหอะ การคิดเล็กคิดน้อย หยุมหยิม พิพากษากันว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้โดยไม่ดูแลตัวเอง วงก็จบการสนทนาตรงที่ อืม….เราไม่ได้มีปัญหากันนิ  แล้วเราคุยอะไรกัน  หัวหน้าสรุปเองว่า เออ….มันอาจจะต้องคุยกันบ่อยแล้วกระมังนี่ อิอิอิ

     

    การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบที่มากกว่าคนอื่น “การฟัง” เป็นสิ่งที่สำคัญทีเดียวค่ะ

    Post to Facebook



    Main: 0.020527124404907 sec
    Sidebar: 0.060522079467773 sec