คำถามเฮงซวย : ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว
อ่าน: 4568ขออนุญาตเอาประสบการณ์มาแบ่งปันเพื่อขยายประโยชน์นะคะ
คำถามเฮงซวย คำนี้ฟังแล้วสะดุ้ง แต่โดนใจ เหมือนลูกถึบของหลวงพ่อชา
วันนั้นเราได้เรียนรู้เรื่องการพัฒนาการเกษตร การพัฒนาชีวิต จากหัวข้อ ชำแหละครูบา
หลังจากจบการบรรยาย และมีการแสดงความคิดเห็น กันแล้ว
ป้าหวานก็เกิดอยากฟังความคิดของ อ.โสรีช์ เนื่องจากอาจารย์มีอะไรดีๆจะบอก
จะสอนเรา เยอะแยะเลย ครั้งนี้ก็เช่นกัน
ป้าหวาน: อยากให้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับ คำว่า พัฒนา กับ ดีแล้ว พอแล้ว ว่า
ความพอดีของมันอยู่ตรงไหน ไม่ทราบอาจารย์เข้าใจคำถามของป้าหวานไหมนะคะ
หมายถึง เมื่อไรเราจะบอกได้ว่าดีแล้ว หรือ ยังไม่ดี พอแล้ว หรือ ต้องพัฒนาอีก
อ.โสรีช์: คำถามเฮงซวย ผมไม่ตอบ
ป้าหวาน : …..…….
พี่หมอจอมป่วน : ( ช่วยแก้สถานการณ์มั้ง อิอิ ) พอดีถ้าไม่มีอะไรแล้ว ได้เวลาทานข้าวแล้ว..
อ.โสรีช์ : เอา..ผมตอบนิดหนึ่ง คืออย่างนี้นะน้องป้าหวาน บางคำถามไม่จำเป็นต้องตอบ
คำถามนี้เป็น speculation…ถ้าอย่างนี้ ..แล้วจะเป็นอย่างไร…ถ้าวันนี้ฝนตกแล้วจะ……
เป็นการคาดคะเน ( แล้วท่านก็ยกคำพระ ป้าหวานจำไม่ได้..อิอิ ) เมื่อคำถามไม่จริง คำตอบก็ไม่จริง
มันก็ไม่จริงทั้งเรื่อง
ป้าหวาน : อย่างนี้แหละคือคำตอบ นี่คือคำตอบอย่างดี
อ.โสรีช์ : ผมตอบคำถามที่น้องป้าหวานไม่ได้ถามแล้วกัน
ป้าหวาน : ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ (ยิ้มแป้น )
อาจจะถ่ายทอดไม่ครบ ไม่ตรงกับคำพูดทั้งหมดนะคะ
บางคำตอบเมื่อถึงเวลาจึงมีคำตอบ
เราคิดอย่างโน้น อย่างนี้ ไป ก็ยังไม่รู้แน่อยู่ดี
คราวนี้ รู้จักหรือยัง คำถามเฮงซวย.
« « Prev : รวมพระธรรมคำสอนหลวงปู่ดู่ พระผู้จุดประทีปในดวงใจ
Next : ความรุนแรง กับ ความสงบ » »
10 ความคิดเห็น
อมยิ้มเลยค่ะป้าหวาน
นึกถึงตอนเรียนกับอาจารย์ เบิร์ดถามอาจารย์ว่าอุเบกขาคืออะไร อาจารย์บอกว่าเบิร์ดถามธรรมที่เป็นจุดก้าวข้ามจากโลกียะเป็นโลกุตระเลยนะ อุเบกขาไม่ใช่การนั่งเฉย ๆ หรือไม่ทำอะไรเพราะไม่กล้า กลัวผิด กลัวโน่นกลัวนี่ หรือยึดเอาในสิ่งที่ตนคิดว่า”ถูก”โดยไม่เปลี่ยนแปร แม้จะมีคนบอกว่าไม่ใช่หรือมีทางอื่นที่ดีกว่า
อุเบกขาเป็นการกระทำ-ไม่กระทำที่มีเหตุ-ผล และรู้เหตุ-ผลอย่างถูกต้องตามจริงในขณะนั้น ไม่มีภาวะอารมณ์อยาก-ไม่อยาก ชอบ-ไม่ชอบ แต่ไตร่ตรอง ตัดสินใจ บนความถูกตามธรรม ซึ่งมีฐานจากมรรค 8 อาจารย์ปิดท้ายว่าเบิร์ดลองศึกษาและคิด ไตร่ตรองวิธีในการจัดการกับอารมณ์ของคนโดยใช้ Deep Breathing เป็นเทคนิคหลัก เรียกว่า Bird deep breath ไปเลย…ซึ่งเบิร์ดก็หัวเราะบอกว่า”ใช้ลมหายใจยาว สะบั้นอารมณ์ให้สั้น” ซึ่งอาจารย์ชอบใจบอกว่าใช่ ๆ ๆ ๆ อิอิอิ
ตอนนั้นก็ฟังเงียบ ๆ และยังไม่ลึกเท่าไรน่ะค่ะ แต่เมื่อโตขึ้น ก็พบว่าธรรมเพียงข้อเดียวของพระพุทธองค์ก็แจ่มชัดและเชื่อมโยงกับ”ทาง”ในการก้าวเดินอย่างชัดแจ้ง นี่เองมั้งคะคือความหมายของคำว่าพุทธะ ซึ่งทุกคนคือพุทธะได้ถ้าเห็นธรรม และ”รู้”เพียงใบไม้กำมือเดีียวในมือเราก็เพียงพอแล้ว แต่ที่ผ่านมาเรามัวไปสนใจใบไม้ในกำมือของคนอื่น มากกว่า”มีอะไร”ในมือเราบ้าง
แหม อยากกอดจริงจริ๊งค่ะ ^ ^
ผมไม่ค่อยกล้าร่วมวงคุยกับอาจารย์ท่านมากเท่าไร กลัวถูกจัดกลุ่มเป็นผู้อาวุโส เพราะกำลังภายในเรายังไม่แข็งกล้าเดี๋ยวธาตุไฟจะแทรก อิอิ ปล่อยให้จอมยุทธป่วนโลกา กับท่านบางทราย กับท่านหัวตอ ท่านหัวหลัก(นามเรียกขานใหม่ของใครก็ไม่รู้อยากรู้ถามอารามดูได้) แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ ส่วนตัวเองแว๊ปไปเข้าครัว
แต่ก็ได้จากท่านอาจารย์หลายกระบวนท่าอยู่ครับ
เช่น เรื่องที่ท่านว่า สมาธิอย่างเดียวไม่พอ ต้องคู่กับการรู้จักคิดดีด้วย
เช่น เรื่องที่ท่านเปรียบการแลกเสื้อกับผมใส่ที่ลานไผ่ อันนี้สรุปได้เหมือนกับที่พระอาจารย์ไพศาล ท่านสอนไว้ว่า ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ
ใจผมตกไปอยู่ที่ตาตุ่ม..เมื่อได้ยินคำนั้น…ป้าหวานเจี๊ยบ..
แต่พอได้ฟังคำอธิบาย เออ ค่อยยังชั่วหน่อย..
เรื่องนี้ผมมองอย่างนี้นะ ต้องรู้จักอาจารย์ดีพอก่อนจึงจะสังสรรค์ด้วย หมายความว่า ปรับ จูน การรับรู้ของเราให้เข้ากับธรรมชาติของอาจารย์
ผมไม่รู้จักอาจารย์เป็นการส่วนตัวมาก่อน แม้ชื่อก้ไม่เคยได้ยิน เพียงแต่ น้องครูอึ่ง เล่าให้ฟังนิดหน่อยว่า อาจารย์เป็นลูกช้างและรู้จักเพื่อนพี่หลายคน พี่เองก็ทันอาจารย์สมัยเรียน มช. เพราะห่างหัน 2 ปี กับพี่หลินก็น่าจะรู้จักกัน
เมื่อได้ฟังอาจารย์โสรีย์แล้วนึกถึง ท่านถวัลย์ ดัชนี นั่นก็ย่อยเสียเมื่อไหร่ หากตั้งสติไม่ดีละก็หงายตกเก้าอี้เลยหละ ท่านเหล่านี้ศึกษา ปฏิบัติหลักศาสนามาเยอะ และใช้กระบวนวิธีโบราณ ฟาดเปรี้ยงลงไปเลย..เหมือนฟ้าผ่า จะตื่นก็ตื่นไปเลย หากไม่ตื่นก็หลับไหลลงรูไปเลย อะไรทำนองนั้น
ผมก็มิบังอาจไปก่อกรกับท่านหรอก …. แม้ดูท่าท่านจะปรานีผมอยู่บ้าง แต่ข้าเจ้ากั๋ว…นะบ่ะ แต่ก็ชอบฟัง เหมือนเคาะกะโหลกเราน่ะ.. ป้าหวานเจี๊ยบ
อ้าวเบิร์ดเคยเรียนกับท่านมาด้วยหรือครับ อิอิ คงผ่านการปะทะมาเยอะนะ
ขอบคุณน้องเบริ์ดค่ะ ป้าหวานยินดีด้วยกับทุกๆคนที่ได้เคยเรียน เคยรับ ความรู้จากอาจารย์ โสรีช์ นะคะ พ่อครูได้เอ่ยยกย่องว่า มีน้อยคนที่เป็นครูจริงๆ ท่านอาจารย์เป็นครูจริงๆ ไม่ใช่มีภาพเป็นครู เสียดายที่มีเวลาไม่มากนัก แต่อะไรที่เราอยากเรียนรู้ เราก็หาโอกาส ไขว่คว้า นะึคะ
ขอบคุณ ลุงเอ้ยอาเปลี่ยนค่ะ ป้าหวานก็มีโอกาสแป๊บเดียว เหมือนกัน เรื่องคำถามเฮงซวยยังมีอีก แต่ไม่ชัดมากเพราะรวมกับเรื่องอื่นด้วย แต่ท่านมีความรู้ให้เราเรียนอีกเยอะเลย ท่านมีความเมตตากรุณาต่อศิษย์อย่างมาก
สรุปว่า ความพอดี อยุ่ที่ความพอใจ นี่แหละคือปัญหาของมนุษย์ เพราะความพอใจของมนุษย์ไม่เท่ากัน ความพอดี ของมนุษย์ จึงไม่เท่ากัน การทำงานร่วมกันจึงพบเรื่องนี้อยุ่เนืองๆ จึงต้องมีการกำหนดไว้ก่อนว่าจุดร่วมอยุ่ที่ไหน ก็กลับไปเข้าทำนอง speculation ดังที่ท่านว่าคนเราก็งมกันอยู่ไม่น้อย ป้าหวานจึงสงสัยไงว่าเราจะงมหาอะไร…
อีกคำตอบที่โดนใจสุดๆ ต้องไปถามพี่หมอจอมป่วน คำตอบคือ ..”เรื่องของมึง” 55 ป้าหวานก็เลยถึงบางอ้อ…ว่า อ๋อ…มันก็มี 2 เรื่องสิ…ไม่เรื่องของมึง ก็เรื่องของกู พี่หมอบอก ไม่ใช่มีอีกเรื่อง คือ เรื่องของมัน…เอ้อ…..5555555
ขอบพระคุณพี่บางทรายค่ะ เหมือนกันเลย..เรียกว่าถ้าอาจารย์ตอบเท่านั้นไม่อธิบาย ป้าหวานคงนอนไม่หลับ 5555 แต่อาจารย์อาจเจตนาเคาะกระโหลกให้ป้าหวานตื่นก็ได้ นะ..ถ้าไม่เข้าถ้ำเสือ ก็ไม่ได้ลูกเสืออ่ะ…ฮิ้ว…ยอมเจ็บกระโหลกงานนี้..ไม่รู้เนื้อ รู้ตัว ดีไม่หลงไปโกรธท่าน..
โป๊ก ! แห่งความรักความปราณ๊ อิอิ
บทสนทนานี้เหมือนสายฟ้าฟาดเข้ามาในใจเลย ที่เคยกังขาในบางเรื่องก็ทะลุ แจ่มแจ้งขึ้นเลย อิอิ
แปลกนะครับ เคาะกระโหลกคนนึง ฟ้าดันผ่า และแลบในใจอีกคนนึง อิอิ
อิอิ แรงสะท้อนกระจุย กระจาย
[...] ควรอ่านบันทึกเฮงซวย [...]