จัดการอย่างไรดี

7 ความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 8 มิถุนายน 2009 เวลา 9:32 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1586

 

เราทุกคนคงมีเรื่องผ่านเข้ามาในชีวิตมากมาย  บางเรื่องน่าจดจำ เราเคยไหมที่พยายามจะจดจำไว้ ไม่ให้ลืม  แต่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้เกิดกับชีวิตเราเลย  แต่ก็เกิด  แล้วเราทำอย่างไร  วันนี้ขอมาถามค่ะ  ใครมีวิธีคิด วิธีทำ อย่างไร กับเรื่องที่เกิดในชีวิตที่เรียกว่า ไม่อยากให้เกิด แต่ก็เกิด  บ้างคะ  เริ่มจากภายใน คิดอย่างไร จะหาเหตุเกิดอย่างไรไหม  จะหาอะไรบ้าง หลังจากนั้น จะใคร่ครวญ ไตร่ตรองอย่างไร ต้องมีข้อสรุปไหม หรือ กดทับ หรือ ตัดทิ้ง ใช้วิธีอย่างไรบ้างคะ สุดท้าย จะต้องลบออกไป พยายามลืมหรือไม่ อย่างไรค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ

ในที่นี้ขอเปิดรับกว้าง ทุกแนวนะคะ และ รวมทั้งเรื่องที่เกิดขึ้นเอง หรือ เรื่องที่มีการทำให้เกิด อาจจากใครก็ตาม อาจจะเล่า หรือ ไม่เล่าเรื่อง ก็ได้ค่ะ แต่ขอวิธีจัดการค่ะ  แน่นอนว่าแต่ละคนแตกต่างได้ เหมือนได้ และ ทุกความคิดมีคุณค่า ขอบพระคุณค่ะ 

                                                  


ห้องแล็บชีวิต : ใจ กับ กิเลส

6 ความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 2 มิถุนายน 2009 เวลา 8:55 (เช้า) ในหมวดหมู่ ข้อคิด ชีวิต #
อ่าน: 2037

 

The value of an idea lies in the using of it
              Thomas A.Edision

  จาก  เรื่องเกี่ยวกับความคิด ลานซักล้าง

มาตรงกับคำสอนของ หลวงปู่ชาสุภัทโธ จาก ตาชั่งที่ไม่เที่ยงตรง ลานซักล้าง     

ปริยัติปฏิบัติ   


หลวงพ่อมักแนะนำพระภิกษุสามเณร ผู้ที่มุ่งเข้ามาประพฤติปฏิบัติที่วัดหนองป่าพงว่า

“ไม่ต้องอ่านหนังสือ ให้อ่านใจตัวเองดีกว่า” แต่ไม่ใช่ว่าท่านประมาทในเรื่องปริยัติธรรม
เพียงแต่เป็นห่วงว่าลูกศิษย์จะหลงเข้าใจผิดว่า ตนรู้ธรรมะดีแล้ว ทั้ง ๆ ที่จิตยังเข้าไม่ถึง

ปริยัตินี้เหมือนตำรายาที่ชี้บอกให้หารากไม้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ ออกแสวงหาต้นยา ให้รู้จักว่า
ต้นนี้เป็นอย่างนั้น ต้นนั้นเป็นอย่างนี้ มันไม่เกิดประโยชน์อะไร”
มิหนำซ้ำ ความรู้ที่เป็นสัญญาความทรงจำอาจจะมีโทษต่อผู้ภาวนา

          ในที่นี่ป้าหวานนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต  ป้าหวานเกิดความรู้สึกเปรียบเทียบกับที่เคยเรียนมา  หลวงปู่ท่านหมายถึง เราต้องเข้า  ห้องแล็บชีวิต  ในตำราบอกแต่วิธี แต่ถ้าไม่ลงมือปฎิบัติ เราก็จะรู้แต่ตัวหนังสือ  ตอนสมัยเรียน เมื่อเรียนทฤษฎีแล้ว ก็ต้องเข้าห้องแล็บ เข้าไปสัมผัส ด้วยมือ ด้วยตา ให้เห็นจริง ให้เข้าใจจริง

หลวงพ่อเคยสอนพระที่แตกฉานในทางปริยัติรูปหนึ่งว่า
“เอาปริยัติของคุณใส่หีบใส่ห่อเก็บไว้เสีย อย่าเอามาพูด
เวลามีอะไรขึ้นมา มันไม่เป็นอย่างนั้น เหมือนกับเราเขียนหนังสือว่า ความโลภ

เวลามันเกิดขึ้นในใจมันไม่เหมือนกับตัวหนังสือ เวลาโกรธก็เหมือนกัน
เขียนใส่กระดานดำเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นตัวอักษร เวลามันอยู่ในใจ มันอ่านอะไรไม่ทันหรอก

มันเป็นขึ้นมาที่นี่เลย สำคัญนัก สำคัญมาก จริงอยู่ปริยัติเขียนไว้ถูก
แต่ต้อง โอปนยิโก ให้เป็นคนน้อม ถ้าไม่น้อมก็ไม่รู้จักความจริง”    

ยังมีอีกมากนะคะ  ลองติดตามจากที่อ้างถึงนะคะ
จะเห็นได้จากที่อ้างมาข้างต้นว่า การปฎิบัติตามคำสอนของท่านนั้น เป็นการนำเอาธรรมมาใช้จริง  และทำให้เกิดขึ้นจริง 
ไม่ใช่เรียนรู้แต่ในตำรา  และเมื่อนำมาใช้แล้วเราก็จะตระหนักมากขึ้นจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อๆไป ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆในชีวิต 
เมื่อนึกเชื่อมโยงกับ การมีสติ  ทำให้รู้ถึงวิธีจัดการกับอารมณ์  มีสติ  มีสติเป็นตัวหนังสือ ในทางปฎิบัติคือหมายถึงรู้สติ แล้วนำไปสู่การบังคับตัวเอง  รู้เฉยๆไม่พอ  การบังคับตัวเองก็คือ พิจารณาให้เห็นกิเลสตัณหานั้นแล้วตัดออกไป  ทุกอย่างเกิดขึ้นที่ใจเราทั้งสิ้น เกิดอารมณ์เมื่อมีกิเลสมาจับ ชอบไม่ชอบ อยากได้ไม่อยากได้ หวัง ไม่หวัง โกรธ เสียใจเพราะไม่เป็นไปตามที่คิด เมื่อทราบแล้วว่าเกิดจากกิเลสมาจับ เราก็ต้องมีสติก่อนจะได้รู้ว่ากิเลสมาแล้วไม่ตกไปอยู่ใต้อำนาจกิเลส การรู้นั้นเกิดขึ้นได้ในระดับความยากง่ายต่างกัน  บางเรื่องทำได้ง่าย บางเรื่องทำได้ยาก
 เรามีตัวช่วยจากคำสอนเรื่องการย้ายที่วางใจ  จาก แสงส่องใจ สมเด็จพระสังฆราช  ใจเราส่งกระแสออกไปเรียกกิเลสมา  ถ้าเราเปลี่ยนที่จุดนี้ ใจกับกิเลสก็จะไม่พบกัน เพราะใจรู้สึกได้ที่ละหนึ่งเดียว เราจึงหลบกิเลสได้ มีสติ แล้วทำอย่างไรต่อให้ไม่ผลอ เดี๋ยวใจก็วิ่งไปที่เดิมอีก ต้องหางานให้ใจทำ ให้ใจไม่ว่าง อาจใช้วิธี พุทโธๆ หายใจเข้า หายใจออก เอาใจไปตามเรื่องพุทโธ หรือ เรื่องการหายใจ  บางคนทำได้ บางคนทำไม่ได้ เดี๋ยวใจก็วิ่งไปอีก  ก็ให้เพิ่มงานอีกงานนั้นเบาไปใช้แต่ใจ ให้ใช้กายด้วย  จะใช้วิธีไหนก็ได้ให้เกิดการบังคับร่างกาย แล้วเอาใจไปจับ เช่นการเดินจงกรม แต่บางท่านอาจใช้กายบริหารแทนก็ได้ เอาใจไปตามการเคลื่อนไหวของกาย สักพักจะเกิดควบคุมสติได้  นอกจากนี้ยังมีวืธีย้ายร่างกายเปลี่ยนสถานที่ ทำให้พบสิ่งเร้าอย่างอื่น สติจึงกลับคืนมา หรือใช้วิธีระบายออก โดยการร้องเพลง การพูด การเขียน  เป็นการใช้ร่างกายช่วย เปลี่ยนที่วางใจ  แต่ในส่วนตัวป้าหวานคิดว่า  การอ่านเป็นการรับเพิ่มเข้าไป ไม่ใช่การระบายออกมา  และต้องระวังไม่ใช่หนีเสือ ปะ จระเข้ ออกจากหลุมนี้ไปตกหลุมโน้น ต้องมี
เป้าหมายที่ชัดเจนค่ะ  เมี่อสติกลับคืนมาแล้วจึงไตร่ตรองหาทางกำจัด และ ป้องกันกิเลส  ซึ่งถ้าเราชนะใจตัวเองบ่อยๆใจก็จะเข้มแข็ง ข้อนี้ป้าหวานว่าตามตำรา ป้าหวานเองยังไม่เก่ง เพียงแต่มาบอกต่อ เท่านั้นค่ะ
นอกจากนี้เรายังมี   ยุทธวิธีกำจัดมาร ของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  มีเรื่อง ยิงเร็ว ยิงไว ยิงไกล ด้วย แยบยลจริงๆ

ยิงเร็วและยิงไว ยิงไกล ยิงถูกข้าศึกหมู่ใหญ่ กิเลสมารมีราคะ เป็นต้น จะเกิดขึ้นด้วยการดำริแล้ว รีบเร่งให้มีสติกำหนดประหารอย่าให้ทันเกิดขึ้นได้ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง เรียกว่ายิงเร็ว กิเลสมารถึงมันจะเกิดขึ้นห่างไกลจากตัวของเรา แต่มันเกี่ยวเนื่องถึงตัวของเราก็ให้รีบเร่งตั้งสติกำหนดเอากิเลสนั้นมาเป็นอารมณ์ ให้เห็นมูลของมันแล้วทำลายเสีย เรียกว่ายิงไกล สรรพกิเลสทั้งปวงซึ่งมีราคะ โทสะ โมหะ เป็นแม่ทัพนำพาเอากิเลสทั้งปวงมารุมล้อม ทำให้จิตของเราเศร้าหมอง ต้องกำจัดด้วยอนัตตาเป็นอาวุธ ถูกข้าศึกหมู่ใหญ่ราบเรียบไปหมด เราได้แม่ทัพทั้งสามคนนี้ไว้ในกำมือแล้ว เราไม่กลัวข้าศึกภายในของเราซึ่งจะมาราวีทำลายสมาธิของเราได้

เป็นเรื่องเล่าสู่กันฟังเท่านั้น กรุณาช่วยปรับปรุง แนะนำ ถ้าเห็นแตกต่าง หรือ ถ้าอยากเพิ่มเติม จะเป็นพระคุณค่ะ  เจตนาของป้าหวานคือการแบ่งปัน  ไม่ได้เจตนาแสดงว่ารู้ เพราะจริงๆก็ยังไม่รู้ค่ะ ยังเรียน ยังหาอยู่ และ ไม่ใช่เจตนาว่า ท่านทื่อ่านไม่รู้ เพราะท่านที่รู้มากกว่ามีมากมาย  ป้าหวานเทน้ำในแก้วออกมา เพื่อรับน้ำใหม่เข้าไปค่ะ  เพราะท่านว่า ถ้าเราไม่เทน้ำออก เราก็รับอะไรเพิ่มไม่ได้  ช่วยเติมเต็มให้ด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ

 



Main: 0.031059980392456 sec
Sidebar: 0.03015398979187 sec