เรื่องแปลกๆ และความรู้ใหม่ที่ได้ในการเดินทางไปเอธิโอเปีย (๓)

อ่าน: 3656

การเดินทางไปประเทศเอธิโอเปียในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของผมในประเทศนี้ และเป็นครั้งที่ ๔ ในทวีปอัฟริกา

ที่ผ่านมา ๓ ครั้ง ผมก็ได้มีโอกาสเรียนรู้สังคมและวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ แบบ “เท่าที่จะทำได้” โดยอาศัยการสร้างเพื่อน ที่ทำให้เขาเล่าชีวิต และความเป็นมาของประเทศเขา ได้ดีนอกเหนือจากการอ่านจากเอกสาร และอินเตอร์เน็ต ที่อาจจะครอบคลุมบางมุม และขาดบางประเด็น หรือขาดรายละเอียดในประเด็นที่เราสนใจ

โดยเฉพาะเรื่องชนเผ่านั้น จะไม่ค่อยมีปรากฏในข้อมูล เพราะบางแห่งถือว่าเป็นการแบ่งแยก ที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านปกครองและระบบเศรษฐกิจ การนำเสนอทางเอกสารทั่วๆไปจึงจะไม่เน้นตรงนี้ นอกจากงานวิจัย และราบงานการพัฒนาที่เจาะลงลึกทางสังคม ที่อาจจะให้รายละเอียดได้ดีพอสมควร

จากข้อมูลเอกสารที่ผมอ่านก่อนเดินทางมาเอธิโอเปีย เขาบอกว่า มีตั้ง ๘๐ เผ่า ๘๐ ภาษา แล้วก็ไม่พูดอะไรมากกว่านั้น ทำให้ผมต้องจินตนาการต่อเอาเองว่าเขาจะอยู่จะกินกันอย่างไร

โดยอาศัยประสบการณ์เก่าๆที่เคยมี ตั้งแต่สมัยไปเรียนออสเตรเลีย (ที่ผมไปตีสนิทกับชนเผ่าอะบอริจีนิส) อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ศรีลังกา อเมริกา อังกฤษ อัฟริกาใต้ เวียตนาม พม่า เขมร ลาว หรือแม้กระทั่งของไทยเราเอง ที่มีช่องว่างของการสื่อสาร ความเข้าใจกัน ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ที่ทำให้ “ไม่กลมกลืน” ที่เป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งทางสังคมและการปกครอง ที่ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็ง และความเป็นผู้นำ ความเป็นผู้ตาม ความสามารถในการปกครอง และการยอมรับการปกครองของเผ่าอื่นๆ

เมื่อผมได้รับข้อมูลว่ามี ๘๐ เผ่า ๘๐ ภาษา ผมคิดได้ทันทีว่า “ศักยภาพ” ของความขัดแย้งต้องมีสูงแน่นอน

ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารของผู้นำ ที่ลุงเอก (พลเอกเอกชัย) ได้พยายามช่วยเหลือสังคมไทยและสังคมโลก ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมที่สถาบันพระปกเกล้า นั่นแหละครับ

แม้เมืองไทยเราพยายามที่จะไม่แบ่งแยกกันให้ชัดมากก็ยังมีปัญหาพอสมควร

แล้วนี่เขาประกาศชัดแบ่งกันชัดอย่างนี้ มีทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายตรงข้าม ปัญหาใหญ่กว่าเราแน่ๆ

นี่คือที่มาของการสรุปผลจาก “ข้อมูลมือสอง”

ทีนี้พอผมเริ่มถามเรื่องของความอดอยาก

ประเด็นของชนเผ่าก็เริ่มชัดขึ้นมา

ผู้สันทัดกรณี ที่ผมไปคุยด้วย เขาว่ามีหลายชนเผ่าที่ต่อต้านรัฐบาล มีการปิดกั้นไม่ให้รถ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลผ่าน จึงกลายเป็นพรมแดนซ้อนพรมแดน เกิดขึ้นในประเทศของเขา มีการต่อสู้กันเอง และต่อสู้กับรัฐบาลอีกต่างหาก

ทำให้ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ และการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาลจำกัดอยู่เฉพาะในวงพื้นที่ และกลุ่มชนเผ่าที่เขาคุยได้

ทำให้ผมเริ่มเข้าใจปัญหาสภาพมากขึ้น ว่าทำไมจึงมีปัญหาทางสังคมและการอดอยากในประเทศนี้

ที่มีทั้งปัญหาทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ แก่งแย่ง แข่งขัน เหยียดหยัน ซึ่งกันและกัน

และยิ่งมีปัญหาการยุยงส่งเสริมจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วยทั้งทางการสนับสนุนขยายความขัดแย้ง และทางการสร้างปัญหาเพิ่มเติมด้านต่างๆ

พอมองตรงนี้ ผมเห็นภาพความขัดแย้ง ที่เป็นที่มาของกระแสข่าวได้ชัดเจนมากขึ้น

กลุ่มองค์กรต่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชน จึงมักนำเสนอภาพของประเทศ คนละภาพกับทางรัฐบาล ด้วย “จุดเน้น” และ “ค่าเฉลี่ย” จากข้อมูลคนละชุดกัน

จะทำอย่างไรให้ข้อมูลแต่ละชุดใกล้เคียงกัน อันนี้ผมว่าไม่ง่าย แม้แต่เมืองไทยเรายังทำไม่ได้เลย แค่ไม่กี่ภาษา และชัดๆ ไม่กี่กลุ่ม

นี่คือข้อสรุปของสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆในเอธิโอเปีย

ว่าจะเขียนให้จบถึงเรื่องสาวๆ เอธิโอเปีย ยกไว้พรุ่งนี้แล้วกันนะครับ

ให้ดูรูปอ่อยไว้ก่อนนะครับ

สวัสดีครับ


2 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.37395787239075 sec
Sidebar: 0.40755295753479 sec