สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (5)
อ่าน: 1392อ. ศิระชัย โชติรัตน์
การจะรักษาประชาธิปไตยต้องเคารพผู้คนที่มีความแตกต่างกัน และต้องเคารพกติกา ต้องเปิดใจรับฟัง และพูดคุยกันโดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
ความขัดแย้งทางการเมือง เป็นอาการที่แสดงออก ซึ่งมีเหตุปัจจัยที่ต้องศึกษาค้นคว้า
สังคมไทยต้องการเวลาอีกนานที่จะเรียนรู้ที่จะเคารพซึ่งกันและกัน และเคารพกติกา
ต้องเริ่มจากการทำความจริงให้ปรากฏ และคนเราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำลงไป ผู้ผิดต้องได้รับโทษ และลงท้ายด้วย “การให้อภัย”
เราพูดกันมากเรื่องการปรองดอง ปรองดองยังไง? ปรองดองแล้วจบไหม ?
ถ้ายังเหลือรากเหง้าของปัญหา เช่นโครงสร้างทางการเมือง โครงสร้างทางสังคม ฯลฯ ก็ยังไม่จบ
จะต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
หลังจากนั้นก็มีการชี้แจงการจัดทำเอกสารวิชาการและการจัดทำโครงการรุ่นเชิงปฏิบัติ
หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 3 จะแตกต่างจากรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2
รุ่นที่ 1 นอกจากต้องส่งบันทึกการเรียนทุกวิชาเป็นรายบุคคลแล้ว ก็จะทำประมวลบทเรียนการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ซึ่งเป็นงานเขียนที่ประมวลความรู้ที่ตกผลึกจากกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดที่ได้ตลอดหลักสูตร พร้อมกับระบุว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการทำงานได้อย่างไร
เนื่องจากหลักสูตรนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน เมื่อจบการศึกษา นักศึกษาจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนในรูปของ “เครือข่ายเสริมสร้างสังคมสันติสุข” เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงในการสร้างสันติสุขในชาติในระยะต่อไป
รุ่นที่ 1 ได้ทำ Peace Talk, Peace Conversation, Peace Dialogue และ Peace Net (Networking) หลายสิบครั้ง และได้นำเสนอเอกสารวิชาการรุ่นในเวทีสาธารณะและนำเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้าและรัฐบาลไปเรียบร้อยแล้ว
รุ่นที่ 2 ได้พัฒนามาทำโครงการสันติธานี เน้นการลงมือปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน มีกิจกรรมร่วมกับสถานีตำรวจ โรงเรียน โรงพยาบาล ภาคชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากศุนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แบบว่า…4ส3 คิด ศอ.บต. ทำ
แต่ รุ่นที่ 2 มาเริ่มทำโครงการภายหลังปัจฉิมนิเทศน์ จึงล่าช้ายังไม่ได้นำเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้าและรัฐบาล
รุ่นที่ 3 นี้จึงต้องทำโครงการรุ่นเชิงปฏิบัติ ซึ่งนักศึกษาจะต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอะไร ? ทำอย่างไร ?……และต้องขับเคลื่อนให้เกิดผลภายใน 9 เดือนที่ศึกษาหลักสูตรนี้ แล้วนำเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้าและรัฐบาลเหมือนรุ่นก่อนหน้านี้
มีการแนะนำว่า ในการลงพื้นที่ ไม่ใช่ลงไปแค่หาข้อมูล ความจริง แต่ลงไปเก็บความรู้สึก นึกคิด ดังนั้นจึงต้องมีคนที่จะเชื่อมโยง ทำให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย(ด้านอารมณ์และจิตใจ) มีการสร้างเครือข่ายเป็นใยแมงมุม มีความแตกต่าง, Flexible ไม่มี pattern ที่ตายตัว
ผศ. ดร. จงรัก พลาศัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ได้พูดถึงปัญหาภาคใต้ ด้านการศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้เวลาสี่สิบกว่าปีสอนด้านวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยปัตตานี ใช้เวลาสี่สิบกว่าปีสอนด้านสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธวาสราชนครินทร์ใช้เวลาสี่ปีสอนแต่ศึกษาศาสตร์
การจัดการศึกษาต้องครบทุกด้าน ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความหวังที่ลูกหลานจะได้เรียนคณะยอดนิยมเหมือนคนภาคอื่นๆ
ปัจจุบันเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 80 กว่าคน ได้เรียน แพทย์ วิศวะ พยาบาล ฯ
ประชาชนมีความพึงพอใจมาก เป็นการสร้างฐานความรู้สึกที่ดี
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีวัตถุดิบทางการเกษตรมาก แต่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่จะแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเลย ทำอย่างไรจะมีโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ท่านสิงห์ชัย ทุ่งทอง สมาชิกวุฒิสภา
เรามีข้อมูล มีความรู้ทางทฤษฎี มีผลงานวิจัยมากมายอยู่แล้ว ทำอย่างไรที่จะนำความรู้ ทฤษฎีต่างๆมาปฏิบัติ
จะทำอะไรดี? ทำอย่างไร?
นอกจากปัญหาภาคใต้แล้ว ปัจจุบันก็มีปัญหาภาคอีสาน ภาคเหนือ แม้แต่ใน กทม. เอง
จุดแข็งของสังคมไทยคือ Human Touch แต่วิธีแก้ปัญหาคือตั้งกรรมการเลยไม่เสร็จสักเรื่อง
« « Prev : สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (4)
Next : Post Election Stress Syndrome » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สถานการณ์ความขัดแย้งหลักในชาติ (5)"