ท่องเยอรมัน ตอนที่ 2
อ่าน: 1803บันทึกนี้จะพูดถึงเรื่องการจัดการขยะของนครมิวนิค
หน่วยงานที่ไปเยี่ยมชมคือ the Waste Management Corporation Munich (Abfallwirtschaftsbetrieb München, or AWM)
นครมิวนิคเป็นเมืองใหญ่อันดับสามของเยอรมัน มีประชากรประมาณ 1.35 ล้านคน มีพื้นที่ 310.43 ตารางกิโลเมตร
มีขยะวันละ 1,230 ตัน
ในการจัดการขยะใช้บุคลากร 1,300 คน
ใช้รถ 350 คัน ถังขยะ 400,000 ใบ
แบ่งเป็นศูนย์จัดการขยะ 4 ศูนย์
มีศูนย์รีไซเคิล 12 แห่ง
มีจุดทิ้งขยะอันตราย 52 จุด
การย่อยกิ่งไม้และการทำปุ๋ยหมักให้เอกชนดำเนินการ
อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอย ในครอบครัวที่มีคนอยู่ 4 คนเป็นเงิน 5,680 บาทต่อปี หรือ 470 บาทต่อเดือน
ระบบการจัดการขยะมูลฝอย
มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ระดับครัวเรือนและสถานประกอบการ โดยแยกกระดาษ ขวดประเภทต่างๆ(สีขาว เขียว และสีชา) กระป๋อง ขยะชีวภาพ ขยะอันตราย และมีการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม
กระดาษที่แยกได้ก็จะนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระดาษมาใช้ใหม่
ขยะชีวภาพก็นำไปทำปุ๋ยหมัก
การจัดการขยะใช้วิธีการเผา (Incinerator) เพื่อผลิตพลังงานความร้อน(Heating) และผลิตกระแสไฟฟ้า (Cogeneration)
มีการศึกษาและพัฒนา The Dry Fermentation Plant ซึ่งเป็นโรงงานต้นแบบที่เริ่มต้นขึ้น มีขนาดรับวัสดุชีวภาพได้ 25,000 ตันต่อปี สามารถผลิต biogas ได้ 1.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีซึ่งนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และได้ปุ๋ยหมักอีก 9,000 ตันต่อปี
นอกจากด้านเทคโนโลยีที่ได้ไปศึกษาดูงานแล้ว ที่น่าสนใจมากก็คือความพยายามในการลดการก่อขยะ การนำมาใช้ใหม่ และการใช้ประโยชน์จากขยะ หรือ 3R Reduce, Reuse และ Recycle
ในการทำเรื่อง 3R ทางนครมิวนิคได้มีนวตกรรม และทำงานแบบมีส่วนร่วมกับประชาชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง (Public Participation) เช่น
มีบริการให้เช่าจาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ฯ และเครื่องล้าง เหมาะสำหรับการจัดงานป็นครั้งคราว เพื่อลดการก่อขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานมหกรรมเบียร์และใส้กรอกของนครมิวนิค (Oktoberfest) ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
มีการพัฒนาหลักสูตรการผลิตที่ก่อขยะน้อยให้กับผู้ประกอบการ
มีร้านจำหน่ายของใช้แล้ว (Second hand shop )
มีการพัฒนาคู่มือต่างๆเผยแพร่เป็นหนังสือคู่มือและเผยแพร่ทาง Internet เช่น
คู่มือการซ่อม เป็นรายการร้านที่รับซ่อมอุปกรณ์ เครื่องเรือน โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดนตรี ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเลือกใช้บริการ แทนที่จะโยนทิ้ง
มีการประชาสัมพันธ์ร้านค้าที่รับแลกเปลี่ยนซื้อขายของใช้แล้ว (Second hand guide for Munich and surrounding counties)
คู่มือแนะนำการห่อของขวัญ การทำซองและการ์ดต่างๆใช้เอง
ความเห็นเพิ่มเติม
มีนโนบายและทิศทางการจัดการขยะที่ขัดเจน
ทีมประชาสัมพันธ์ที่รู้เรื่องการจัดการขยะอย่างดี
ในการศึกษาดูงานที่นครมิวนิค ทีมที่มาต้อนรับและนำเสนอพร้อมทั้งตอบข้อซักถามเป็นทีมงานด้านประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่ทีมงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างจากบ้านเรา
บ้านเราเวลามีคนมาศึกษาดูงานด้านต่างๆ มักจะให้ทีมงานที่ทำงานด้านนั้นมาต้อนรับและนำเสนอและตอบข้อซักถาม ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ ทีมงานประชาสัมพันธ์มีความรู้อย่างดี สามารถนำเสนอและตอบข้อซักถามได้เป็นอย่างดี
นครมิวนิคให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะทางนครมิวนิคจะพยายามสื่อสารกับประชาชนในทุกช่องทางการสื่อสารโดยใช้ทีมงานประชาสัมพันธ์เป็นหลัก มีการเชิญประชาชนมาเพื่อให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับนโยบายและมาตรการต่างๆที่นครมิวนิคจะเริ่มปฏิบัติ และขอความร่วมมือกับประชาชน
ประเด็นนี้คงจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของเทศบาลนครพิษณุโลก คือจะให้ความสำคัญกับงานด้านประชาสัมพันธ์มากขึ้น ในการให้ความรู้ ทำความเข้าใจและขอความร่วมมือจากประชาชนคงไม่ใช้แต่หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านนั้นๆเพียงหน่วยงานเดียว แต่คงจะพัฒนาขีดความสามารถของทีมงานด้านประชาสัมพันธ์ ทีมงานการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม รวมถึงอาสาสมัครต่างๆเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว จะทำให้การขยายผลเป็นไปอย่างรวดเร็วและได้ผลมากขึ้น
รวมทั้งฝึกอบรมพัฒนาทีมงานให้รู้จักทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานตามความต้องการของประชาชน รู้จักพูดคุยกันและร่วมมือกันพัฒนาการทำงานเชิงรุกแบบใหม่ๆ ร่วมกันคิดนวัตกรรมใหม่ๆ
Next : ตะลุยญี่ปุ่น Hamamatsu (1) » »
1 ความคิดเห็น
ร้านแลกเปลี่ยนของใช้แล้วน่าสนใจ จะเปิดฉากเรื่องนี้ในไทยได้อย่างไร?