สรีระยนต์
อ่าน: 4218
ดิฉันได้ฟังโอวาทของท่านเจ้าอาวาส และของท่าน พระภาวนาวิริยคุณ ที่วัดแห่งหนึ่ง เห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของพระและผู้ที่จะไปปฎิบัติธรรม ที่มีประโยชน์มาก ในกรณี ที่ใครมีญาติ หรือผู้รู้จัก จะไปบวช เป็นพระหรือจะไปปฎิบัติธรรม ก็อาจนำไปถ่ายทอดต่อได้ และแม้แต่ตัวเราเอง ในฐานะฆราวาส ก็สามารถ นำมาปรับใช้กับตัวเองได้ด้วย จึงขอสรุปมาฝากดังนี้ค่ะ….
การทำให้ สรีระยนต์ แข็งแรงถือเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของคนเรา ไม่ควรจะปล่อยปละละเลย เพราะร่างกาย เป็นที่รองรับของทุกสิ่งคือ มรรค ผล นิพพาน ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง จิตใจก็จะไม่แข็งแกร่ง
การป้องกันดูแลตนเองเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดเป็นอุปนิสัย ตลอดจนถึงวิธีการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนมา นานแสนนาน….เรื่องที่จะแนะนำอยู่บ้าง เช่น …..
เรื่องเส้นติด..
เกิดจากการอยู่ในอิริยาบถเดียวนาน ๆ เช่น พิมพ์ดีด (เส้นคอติด) นั่งรถก็เส้นติด, นั่งภาวนา, นั่งเขียนนาน ๆ ก็เส้นติด แก้ไขโดยออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายดื่มน้ำน้อยเส้นจะ เหี่ยวลีบ ถ้าปล่อยไว้เส้นจะติดเป็นแผงจนไขว้ แล้วแคลเซี่ยมเกาะแกะได้ยาก
อาการเส้นติดดูได้จากการขับปัสสาวะ จะขับไม่หมด ยังมีกระปริบกระปรอยแสดงว่าเส้นลีบแห้ง เส้นเริ่มไขว้ แคลเซี่ยมเริ่มพอก ให้รีบออกกำลังกายภายใน ๑-๒ สัปดาห์จะหาย ถ้าทิ้งไว้นานจะรักษานาน (มาก) การนวดก็พอทำให้อาการทุเลาบ้าง แต่ไม่หายเพราะเส้นติดลึก
การออกกำลังกาย
มีทั้งข้อดี และข้อเสีย บางคนเล่นโยคะเล่นเฉพาะท่าที่ชอบใจ จึงเกิดการผิดพลาด การเล่นโยคะและมวยจีนนั้น จะต้องไม่หักโหม ควรเล่นท่าตามลำดับ การออกกำลังกายอย่างต่ำต้องออกครั้งละครึ่งชั่วโมง การแกว่งแขนจะได้ผลต้องทำต่อเนื่อง อย่างน้อย ๒๐ นาที คว่ำ-หงายมือ รอบละ ๕ นาที รวม ๔ รอบเป็น ๒๐ นาที จำนวนครั้งในการแกว่งแขนประมาณ ๑,๒๐๐ ครั้ง จะให้ดีควรแกว่งแขนให้ได้ถึง ๒,๐๐๐ ครั้งต่อวัน
ถ้าไม่ชอบแกว่งแขนให้กวาดสนามหญ้า อย่างน้อยชั่วโมงครึ่งเหมาะสำหรับผู้นั่งภาวนาอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล
การดื่มน้ำ
การดื่มน้ำต้องดื่มให้เป็นให้เพียงพอ โดยดูได้จากตื่นนอนในตอนเช้าปัสสาวะมีสีใส ถ้ามีสีเหลืองเข้มหรือสีชายังใช้ไม่ได้ ตื่นมาตอนเช้ารีบดื่ม ๒-๓ แก้ว(ประมาณ ๑ ลิตร) ก่อนออกเดินทาง ๑ ชั่วโมงไม่ควรดื่มน้ำแต่เมื่อเดินทางใกล้จะถึงที่หมายจึงค่อยดื่ม หนึ่งชั่วโมงก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำ
ดื่มน้ำน้อย โอกาสจะเกิดอาการข้อเท้าแพลงก็มีมากเพราะเส้นลีบ ทั้งยังทำให้เกิดอาการมึน และปวดศรีษะได้
การรับประทานอาหาร กินข้าวเป็นมื้อเช้า รับประทานแค่เพียงค่อนท้องก็พอ เพราะถ้าอิ่มมากเกินไปจะรับประทานตอนเพลไม่ได้ แล้วจะทำให้หิวตอนบ่ายหรือค่ำ มื้อเพล รับประทานให้อิ่มพอดี จากนั้นอีกประมาณ ๑๐ นาที ดื่มน้ำตาม ๑ แก้ว เพื่อช่วยในการย่อย
เหตุที่กระเพาะลำไส้ไม่มีแรง เพราะดื่มน้ำน้อย กระเพาะจึงต้องใช้พลังงานมากในการย่อย ดังนั้นหากมีความรู้สึกว่าอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ให้หยุดรับประทาน เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับน้ำ และการย่อยในกระเพาะอาหาร
กลั้นปัสสาวะนาน ๆ อันตราย!
ทำให้ตับร้อน ไตร้อน ทำลายสุขภาพร่างกาย กลั้นอุจจาระนาน ๆ อันตราย! ทำให้ของเหลวในอุจจาระถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ลำไส้แล้วเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้เลือดเสีย กลิ่นตัวแรงเป็น โรคผิวหนัง อุจจาระแข็ง เพราะน้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือดขับถ่ายลำบากอาจเป็นเหตุทำให้เป็น โรคริดสีดวงทวารได้
การกินไม่เป็น ปัสสาวะไม่เป็น อุจจาระไม่เป็น ออกกำลังกายไม่เป็น
เป็นเหตุทำให้ต้องไปพบแพทย์บ่อย ๆ สูญเสียความมั่นใจในสุขภาพของตนเอง บั่นทอนจิตใจกลายเป็นคนวิตกกังวลไปในที่สุด
หลัก ๘ ประการ สำหรับการดูแลสุขภาพให้เหมาะสมสำหรับพระภิกษุและผู้ปฎิบัติธรรม
๑. รับประทานอาหาร อย่างถูกต้องเหมาะสม
อาหารเช้า สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี
ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า
ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ - ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อกลางวัน อย่ารับประทานมาก
อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน)
ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร
รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
๒. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน
๓. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก
๔. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
๕. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี
๖. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
๗. พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศ และวัยไม่ควรนอนดึกเกิน ๒๒.๐๐ น. ติดต่อกันหลายวัน
๘. มีท่าทาง และอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน
รักที่จะปฏิบัติธรรมให้ดี ต้องรักษาสุขภาพให้เป็น ให้ดีด้วย
(ภาพจาก web site ของวัดโพธิ์)
« « Prev : การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
10 ความคิดเห็น
ท่านพระภาวนาวิริยคุณ ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมดังนี้ค่ะ
สิ่งที่ควรู้เพิ่มเติม
1.ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนจะช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น
2. หลังรับประทานอาหารไม่ควรนั่งหรือนอนทันที ควรเดินไปมาซัก ๑๐-๑๕ นาที
3. เพื่อให้อาหารย่อยเสียก่อน
4. หลังรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำมาก จะทำให้น้ำย่อยเจือจาง ควรดื่มเพียง แก้วเดียว
5. จากนั้นอีกประมาณ ๒๐-๓๐ นาที จึงค่อยดื่มให้เต็มที่ตามต้องการ
6.การดื่มน้ำอุ่นร่างกายจะได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะน้ำมีอุณหภูมิใกล้เคียง
7. กับอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ต้องปรับมากดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลย
8.ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ และเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
พิธีบูชาข้าวพระ ทุกวันอาทิตย์
อ่านแล้วมีกำลังใจฮึด พรุ่งนี้ผมจะออกกำลังแล้วครับ เสริมร่างกายให้แข็งแรง ขอบคุณคำแนะนำดีดีครับ…
ดีใจที่มาเยี่ยมค่ะ บันทึกที่สรุปจากโอวาทของพระผู้ใหญ่ทั้งสองท่านนี้ เหมาะสำหรับ พระภิกษุที่กำลังบวชอยู่ กับผู้ที่จะไปถือศีลปฎิบัติธรรมค่ะ
พยายามปฏิบัติให้ดีๆ อยู่เรื่อยๆ ค่ะ แต่เรื่องดื่มน้ำ กับเข้าห้องน้ำ ยอมรับว่าบางครั้งจังหวะไม่ดีทำให้ไม่ได้เข้าห้องน้ำ และไม่ได้ดื่มน้ำตามควรค่ะ
สวัสดีค่ะ อาจารย์ เรื่อง การดื่มน้ำต้องดื่มให้เป็นให้เพียงพอ พี่ก็ทำไม่ค่อยได้ เพราะ พอดื่มน้ำ ต้องเดือดร้อน เข้าห้องน้ำทุกที เลยไม่ค่อยดื่ม กลายเป็นดื่มน้ำน้อย แต่ก็ยังไม่เคยเกิดอาการอาการมึน และปวดศรีษะค่ะ
ผมมีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะครับ ไม่ใช่ไม่รักตัวเอง แต่มันติดเป็นนิสัยครับ
สวัสดีค่ะคุณ themiti
การกลั้นปัสสาวะ ไม่ใช่เรื่องดีนะคะ เพราะอาจทำกะเพาะปัสสาวะอักเสบ และน้ำปัสสาวะจะกลับซึมเข้าไปในร่างกายอีกนะค่ะ
เหตุที่ผมต้องกลั้นปัสสาวะจนติดเป็นนิสัยเพราะ เวลาผมไปปฏิบัติธรรม หรือไปอุปฐากครูบาอาจารย์ที่วัดนั้น ห้องน้ำของโยมอยู่อีกฝากหนึ่งของเขา(ดอย) ต้องเดินขึ้นเขาไป-กลับ หอบลิ้นห้อยเลยครับ..เลยกลั้นเอาไว้มาปล่อยที่บ้าน พอนานๆ เข้ามันก็เลยชิน บางครั้งกว่าจะรู้สึกก็ตอนปวดหลังเอานั่นแหละครับ