ช่วงสุข ช่วงทุกข์
อ่าน: 3954
ทุกคนในโลก ล้วนต้องการความสุข ที่แท้จริง แต่มีไม่น้อย ที่กลับได้รับความทุกข์ เป็นเครื่องตอบแทน
ธรรมชาติกำหนดให้กระแสน้ำมีขึ้นลงฉันใด ธรรมชาติสร้างให้มนุษย์มีช่วงสุข - ช่วงทุกข์ฉันนั้น
เมื่อน้ำขึ้นแผ่นดินชุ่มฉ่ำ เมื่อน้ำลงสิ่งสกปรกถูกชะล้างให้หมดไปด้วย เช่นเดียวกับชีวิตมนุษย์ เมื่อมีความสุขจะอิ่มเอิบ แต่เมื่อมีทุกข์จิตใจ ควรจะเข้มแข็งยิ่งขึ้น ตั้งหน้าทำความดีมากขึ้น เพื่อเอาชนะความทุกข์ยากนั้น
ความทุกข์และความสุขเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติซึ่งอยู่ในจิตใจของเราเอง หากเราเอาเงื่อนไขจากภายนอกมาใส่ไว้ในใจตัวเอง ก็จะทำให้เกิดทุกข์ เกิดความเครียดไปขัดขวางการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งจะมาบั่นทอนสุขภาพและชีวิตของเราเอง
ทุกสิ่งทุกอย่างมีผลเชื่อมโยงมาถึงเหตุที่อยู่ในใจเราทั้งสิ้น จากรากเหง้าของโรค รากเหง้าของความทุกข์ ความผิดหวัง และความล้มเหลวทั้งหลายทั้งปวงล้วนมาจากรากพิษในใจของเราทั้งสิ้น
1. ทุกข์ ตามสภาวะ เกิดตามธรรมชาติ ได้แก่ เกิดแก่เจ็บตาย
2. ทุกข์ เกิดจากอุปทาน : เกิดจากใจเราคิดขึ้นเอง
สภาวะทุกข์ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้น ต้องทำใจ แต่ทุกข์จากอุปทานนั้นเราหลีกเลี่ยงได้ ถ้าใจได้รับการฝึกฝนด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
• ผู้มีปัญญาย่อมทำใจยินดีต้อนรับเหตุร้ายด้วยความสงบ และสามารถเปลี่ยนเหตุร้ายให้กลายเป็นดีได้ (เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส)
• ภายใต้จิตสงบ เราจะมองเห็นปัญหาชัดเจนขึ้น ภายใต้จิตขุ่นมัวจะทำให้ปัญหามากขึ้น ความสงบ (อุปสมะ) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
• ผู้มีปัญญาย่อมหาความสุขได้ แม้ในความทุกข์ หรือเรื่องน่าจะเป็นทุกข์
ทุกข์ = อาการเตือนภัย ให้เราค้นหาต้นเหตุเพื่อการระงับทุกข์
ร่างกาย มักจะแสดงอาการเตือนภัย ว่า มีอาการผิดปกติก่อนการป็นโรค เป็นเรื่องที่เราต้องค้นหาสาเหตุ และแก้ที่ต้นเหตุ ก่อนที่จะป่วย เพื่อทำให้โรคหายไปโดยเร็วที่สุด
หลังจากหายโรค ร่างกายเราจะสมดุลมากขึ้น หลังจากหายทุกข์จิตใจจะแข็ง
แกร่งมากขึ้น
• พูดผิด - พูดใหม่ ให้ถูกได้ ทำผิด - ทำใหม่ ให้ถูกได้.. ไม่มีปัญหาใดในโลก ที่แก้ไขไม่ได้ หากเราใช้ปัญญาความสุขมี 2 ประเภท คือ…
1. สุขเกิดจากภายนอก = อามิสสุข : สุขที่เกิดจากอามิส เครื่องปรุงแต่ง ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นสุขที่ไม่ยั่งยืน
2. สุขเกิดจากภายในใจของเราเอง = นิรามิสสุข เป็นสุขถาวร เป็นของทิพย์ =
” ทิพยสุข ” นำไปสู่ความสมหวังแห่งชีวิต
1. ทำใจให้ว่าง โปร่งใส
2. รักษาความว่าง - โปร่งใสของจิตอยู่ตลอดเวลา โดย
• ” อย่าชักศึกเข้าบ้าน ” ข้าศึก = ตัวทุกข์ = กิเลสโลภ โกรธหลง
” การละทุกข์ (กิเลส) เสียได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง ”
• ทำจิตให้เป็นอิสสระ โดยหมั่นปฎิบัติสมาธิ
• ” มีชีวิตที่พอดี - มีชีวีที่พอเพียง ” ถือสันโดษ
ตั้งเป้าหมายชีวิตให้พอดี ไม่สูงเกินไป จะไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายมาก
” จิตที่พอเพียง ” จะสามารถบันดาลให้ชีวิตเรามีทุกอย่างเพียงพอ ไม่ขาดสาย และมีทิพยสุข (สุขสงบสว่างสันติ)
เราจึงควรใช้ชีวิต ให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ครอบครัว และสังคมส่วนรวม ทำหน้าที่การงานของเราให้ดีที่สุดอย่างมีความสุข
สิ่งที่เราควรกลัว คือ ความชั่ว เพราะมันจะติดตามตัวเราไปไม่รู้จบ หากเราไม่สะสมความดี และพยายามละเว้นความชั่ว
อ้างอิง จากข้อเขียนของ ศ.นพ.ดร.วิจิตร บุณยะโหตระ
« « Prev : ปัญญาญาณ
Next : การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต » »
9 ความคิดเห็น
อาวุธ 3 ชนิดพิชิตกิเลส ต้องมี การควบคุมจิตของเราเองเป็นสำคัญ ให้ “ จิตเป็นนาย”
1. ศีล จิตที่มีศีล (ปกติจิต) เป็นจิตที่มีเกราะป้องกันไม่ให้ทำชั่ว
2. สมาธิ เป็นผลสืบเนื่องจากการรักษาศีล
จิตที่มีสมาธิ (สมาธิจิต) เป็นจิตที่มั่นคง สงบ และมีพลัง
“ จิตว่าง” = ว่างสว่าง เบาสบายไม่ยึดติด อิ่มเอิบ (ทิพยสุข)
3.ปัญญา เกิดจากการปฎิบัติสมาธิ ควบคุมจิตไม่ให้ปรุงแต่ง
อ่านแล้วสบายใจจังค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ นะคะคุณพี่
ขอบคุณที่มาอ่านค่ะ จริงๆเรื่องสุข ทุกข์ นี้พี่คิดอยู่ตลอด ไม่เคยเริงร่าเกินไปเมื่อพบความสุข แต่ก็ไม่ทุกข์ จนเกินเหตุ เมื่อมีความทุกข์ค่ะ
ดูแล้วจะสงบสติได้หน่อยครับ พี่ ขอบคุณครับ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ เรื่อง สุข ทุกข์ เป็นสัจธรรมของมนุษย์นะคะ ถ้าเรารู้เท่าทัน เราก็จะไม่ทุกข์มากนักค่ะ
อยากได้ ธีม แบบคุณ ศศินันท์ ไม่ทราบจะช่วยแนะนำได้ไหมครับ
ขอบคุณครับ
ได้ค่ะ พี่ใช้ธีมของSyrup ที่คุณLogosแนะนำ ลองอ่านดูในบันทึกแนะนำของเขาที่นี่ค่ะ..
มีแนะนำทุกขั้นตอน แต่สีพื้นและการตกแต่ง พี่เลือกสีเอง มีthemeสีให้เลืออยู่ในบันทึกแนะนำนี้เช่นกันค่ะ หรือถ้าไม่อยากเลือกสี เขามีสีdefaultมาให้เป็นสีเหลือง สวยดีค่ะ
http://lanpanya.com/lanmanual/?page_id=46
theme นี้ ยืดหยุ่นกว่าtheme อื่นค่ะ ลองดูนะคะ จะแนะนำต่อได้อีกค่ะ
เอาหนังสือมาฝากครับ พี่ศศินันท์
http://search.barnesandnoble.com/The-Goal/Eliyahu-M-Goldratt/e/9780884271789
ขอบคุณมากๆค่ะ พี่ชอบมากๆ