เหตุเกิดจากคนหัวใส
ตอนเรายังเป็นอยู่มหาลัยปี๑ ปี๒ ยังไม่มีคำว่าวิชาชีพขาดแคลน ไม่มีอาจารย์สมองไหลเข้า มีแต่ไหลออก การเข้ารับราชการต้องสอบเข้า ตำแหน่งใน กพ.มี ๓oo แต่มีคนสอบ ๒o คน ไม่มีเงินค่าวิชาชีพ พวกรุ่นพี่มักทำงานรับใช้ต่างชาติคือเป็นลูกจ้างฝร้่งบ้าง ญี่ปุ่นบ้างบางคนเจริญก้าวหน้าขนาดเป็น เอ็มดี ของบริษัทข้ามชาติ เพราะเป็นบริษัทมหาชน
เราถามอาจารย์พิเศษที่มาสอนจาก สนง.อาหารและยา ว่า ทำไมเราต้องสอบ เข้ารับราชการด้วย ในเมื่อท่านต้องรับหมดอยู่แล้ว แม้ว่าพวกเราจะเฮละโลกันไปสมัครทุกมหาลัย ทั่วประเทศก็ยังมีตำแหน่งเหลืออยู่ดี
ท่านตอบว่า ‘คุณรู้ไหมว่า ข้อสอบถามว่า ยา ASA ย่อมาจากอะไร มีคนไม่สามารถเติมคำตอบในช่องว่างนั้น’
เราก็เลยมาคิดดูเล่นๆ
อนึ่ง ท่านไม่ได้ตอบคำถามเราเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนของประชากรในวิชาชีพ
อสอง ท่านให้ข้อคิดว่าพวกเราฉลาดน้อยจิงๆ หรือ ตกประหม่า จึงตอบไม่ได้
อสาม พวกเราอาจจงใจตอบผิด เพราะถือว่า ท่านปรามาสภูมิปันยาแห่งเราต่ำเกินไป แฮะ แฮะ
ตำนานเรื่องนี้มีอยู่ว่า
ASA เป็นตัวย่อของ ยาแอสไพริน ชื่อเต็มๆว่า Acetyl Salicylic Acid เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ทีนี้เห็นหรือยังว่าพวกเราน่ะจงใจ ไม่ตอบ หรือแกล้งตอบผิด กิ้วๆ
สรรพคุณ ของแอสไพริน นั้น ในความเห็นของเราแก้ปวดและลดไข้ได้ดีกว่าพาราเซตามอล แต่ด้วยความที่แอสไพรินมีสภาพทางเคมีเป็นกรด ทำให้มีขอจำกัดในกรณีไข้เลือดออก เพราะเป็นยาสามัญประจำบ้านด้วยและบ้านเราเป็นเมืองร้อน มียุงชุมอยู่แล้ว เราอาจเอาให้เด็กกิน จนเป็นอันตราย กว่าจะถึงโรงพยาบาล มีไข้มาแล้ว ๕ วัน กลายเป็นเรื่องยากจะเยียวยา
อย่างไรก็ตามแอสไพริน สามารถละลายน้ำได้ดี จึงมักไม่ตกค้างในตัวเรา ขับออกทางฉี่ได้ง่าย ต่างจากพาราเซตามอลสะสมนานกว่ามีผลต่อเครื่องในพวกตับไตและเซ่งจี๊ของเรามากกว่า
อวสานของแอสไพริน ไม่ได้มาจาก เภสัชวิทยา pharmacology และพิษวิทยา Toxicology หรอกค่ะ แต่มาจากปัญหา pharmaco-marketology ศัพท์นี้เราบัญญัติขึ้นมาเอง อย่าได้ถือสา
พวกเราบางคนหัวใสมากๆได้นำเอาแอสไพริน ไปรวมกับ กาแฟ ทำให้กินแล้วหายปวดเมื่อย และมีแฮงทำงาน และรสชาดอร่อย มีทั้งแบบหวานและแบบเปรี้ยว คนกินเขาว่างั้น บริษัทยาฝรั่งที่ว่าเจ๋งๆยังคิดสูตรนี้ไม่ได้เลย
แต่เรามองสองด้าน กาแฟ ช่วยให้คึกคักมีแรงทำงานก็จริงอยู่ แต่อย่าลืมว่ากาแฟเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ฉะนั้นแล้วอาการปวดศรีษะไมเกรน ก็ลดลงด้วย รวมถึงฤทธิ์แก้ปวดของแอสไพรินไปด้วยก็ช่วยสงบอาการไปตั้งเยอะ
และคนหัวใสเหล่านี้ได้เล็งเห็นว่า ตลาดยาแก้ปวดลดไข้สูตรนี้ควรตั้งราคาไว้ถูกมากๆ เพื่อเจาะตลาดคนจนที่ทำงานหนักจนปวดเมื่อยเนื้อตัว ต้องขายราคาถูกๆ กินเองสะดวกหาซื้อได้ใกล้บ้าน บางคนทำงานกลางแดดนานๆ มีไข้แบบ sun-stroke หรือที่ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกว่าไข้แดด คือไม่ติดเชื้อโรคอะไรหรอก กินยาแอสไพรินสูตรผสมกาแฟนี่ก็หาย
หลังจากใช้กันในกลุ่มชนขนาดใหญ่มากๆไปนานเข้า โดยไม่มีอาหารรองท้อง ขาดสุขศึกษานั่นเอง ผลก็คือโรคแผลในกระเพาะมีอุบัติการณ์มาก รายงานผล ADR (adverse drug reaction) มีมากๆเข้า อย.ก็..ทิพอาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กลับกระด้างดังศิลาประหลาดใจ…ต้องมาทบทวน เพิกถอนทะเบียนยาสูตรนี้กัน
บทสรุปของพวกหัวใสก็ต้องไสหัวไปทำตลาด เครื่องดื่มชูกำลังจนรวยไปตามๆกัน .. เชอะ
ปัจจุบัน ยาเม็ดจิ๋ว ที่เคยเรียกกันว่าเบบี้แอสไพรินนั้น (แอสไพรินเปล่าๆขนาดต่ำๆ) ใช้รักษาโรคหัวใจในผู้ใหญ่ แต่ต้องเป็นโรคหัวใจที่ไม่เกิดจากสาเหตุอกหัก อยากรู้ใช่ม้า…เราจะอุบไว้ก่อน ให้ไปถามหมอเจ๊เอาเอง
« « Prev : ยากล้วยๆ
2 ความคิดเห็น
ชอบมากครับ
อ้าว…อยู่ดีๆก็โดนพาดพิง ก็เลยถือสิทธิที่โดนพาดพิงมาออกเสียงต้อนรับซ้าหน่อย ก็มีเรื่องเติมเพิ่มอีกหน่อยว่า อุบัติการณ์โรคกระเพาะอาหารที่ว่านั่นนะ ถึงขั้นกระเพาะทะลุ แผลในกระเพาะอาหารเลือดออกไม่หยุด ต้องผ่าตัดด่วนเพื่อช่วยชีวิตคนวันละหลายราย และก็มีคนไข้ให้ผ่าทุกวัน โดยเฉพาะในภาคอีสาน นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จำเป็นต้องขอให้เลิกตำรับไปซะ
อีกเหตุผลคือ ในยุคนั้น แอสไพรินทำให้เด็กป่วยเป็นโรคทางสมองที่เรียกว่า “ไรน์ซินโดรม” เยอะมาก และเป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิตกันเยอะ ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีเหตุมาจากการที่ยาถูกมากๆ เข้าถึงง่าย ในยุคที่เดินทางลำบาก กว่าจะดั้นด้นไปพบหมอ ใช้เวลาหลายวัน
ประเทศยากจนก็ต้องเลือกทางแก้ที่เร็วกว่า เพื่อลดการเสียชีวิตของผู้ใหญ่และเด็กดังว่า ก็เลิกตำรับยาไปซะเลย ซึ่งกว่าจะเลิกได้ก็หืดขึ้นคอ ใช้เวลานานกว่าสิบปี ถ้าจำไม่ผิด