ชี้แนะผมด้วย
โดย truna เมื่อ 8 June 2011 เวลา 12:37 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1356 ตอนนี้ผมเรียนอยู่ วิศวะลาดกระบัง สาขา ระบบควบคุม
ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ และผมก้ไม่รุว่าผมต้องการอะไร
ตอนนี้มีความรู้สึกว่าจะถอยจะสู้ เป็นเหมือนไม่อยากเรียนแล้ว
จะไปเรียนวิทยาศาสตร์ สาขา ฟิสิกดีมั้ยน้า เพราะเป็นสิ่งที่คิดว่าต้องการจะเรียนในตอนแรก
ผมจะทำไงต่อไปดีครับ
Next : ประเทศไทยในอีก 10 ปีจะเป็นยังไงน้า » »
16 ความคิดเห็น
อืม งั้นเรามาคุยกันก่อนว่าอะไรบ้างที่น้องเท่รู้สึกว่ามันไม่ใช่เรา ลองเล่าให้น้าๆ อาๆ ป้าๆ ลุงๆ ในนี้ฟังได้มั้ยครับ
เจ้าหลาน
ชีวิต ใช่จะพบเจอสิ่งที่ใช่ภายในคราวเดียวเสมอไปเด้อ
ไปหาอ่าน จปผ เล่ม๒ ของลุงดู
เรียนรู้ ปรับเปลี่ยนไปตามโอกาสที่ผ่านเข้ามา
แต่ในกรณีของหลาน ลุงว่าชักม้าเปลี่ยนทางกลางคัน ก็เสียดายเนาะ ไปให้สุดขุดให้ถึงแล้วค่อยดูว่าใช่ปลายทางที่วาดหวังหรือไม่ หากไม่ใช่แล้วค่อยต่อยอดหาหน่อใหม่มาเสียบเหมือนที่พ่อครูบาหากิ่งส้มโอมาเสียบต้นตอมะสังก็ยังไม่สาย
ปล. พนักงานฝ่ายธุรการที่หงสาคนหนึ่ง จบเอกฟิสิกส์คณะวิทย์มา
ผมคิดว่า ผมไม่อยากเรียนตามที่มหาลัยจัดให้ คือ บางอย่างที่เรียนอยู่ ผมไม่ได้มีความสนใจเลย ไม่รุว่าเรียนแล้วมันจะมีประโยชน์อย่างไร แต่ตอนนี้มันมีปันหาอยู่ว่าตัวผมเองสนใจในสิ่งไหน
ถ้าไม่เรียนในมหาลัยละจะไปทำอะไร มันจะเป้นการทิ้งโอกาสอันดีไปใช่มั้ย และจากการที่เคยอ่านเคยได้ยินมาคนที่เก่งๆระดับเปลี่ยนโลกส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านมหาลัย จึงทำให้ตัวผมเองมีคมคิดแบบนั้น
โดยถ้าผมถอยมันจะทำให้ผมมีปมในใจรึป่าว
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
ลองมองหลายๆมุม เพราะเพิ่งเข้ามาเรียนไม่นาน เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนเพื่อน เปลี่ยนที่เรียน อาจจะเหงา เบื่อ คิดถึงบ้าน ค้นตัวเองให้พบว่าอะไรคือปัญหา ถามตัวเองว่าชอบอะไร อยากรู้อะไร แล้วก็ เรียนสิ่งที่เราอยากรู้และสนุก ถ้าคณะนี้เราไม่ชอบ มีเรื่องอื่นที่น่าสนใจอีกไหม เรื่องที่ว่า ”คนที่เก่งๆระดับเปลี่ยนโลกส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านมหาลัย” นั้นจริงหรือ ต้องถามว่า ส่วนใหญ่ นั้น แต่มีกี่คน กี่เปอร์เซ็นต์ที่ว่า “เก่ง” ในโลกนี้ และเขาต้องผ่านเส้นทางที่ลำบากเพียงใด กว่าจะถึงจุดที่คนยอมรับว่าเขาคือคนเก่ง
และมีอีกกี่คนที่เขาเรียนจบในสิ่งที่เขาชอบ และประสบสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จ
คุณเองยังไม่แน่ใจเลยว่าถ้า ถอยแล้วมีปมในใจไหม ลองสู้ดูอีกสักตั้ง จนแน่ใจว่าจะถอยโดยไม่มีปม แล้วค่อยตัดสินใจดีไหมคะ มีคนอีกมากมายที่เขาไม่มีโอกาสดีเหมือนคุณนะคะ
“ปมมันอยู่ที่ใจ
แต่ปมในใจ ก็เหมือนปมเชือก เกิดได้ ผูกได้ ก็แก้ได้ คลายได้”
…
สองปีก่อนในเดอะดาวหก รอบยี่สิบคน มีเจ้าหนุ่มไดม่อน ไม่ชอบระบบและบรรยากาศ เธอก็เก็บกระเป๋าออกจากการแข่งขัน
ปีถัดมา พ่อกลับมาประกวดรายการ เคพีเอน มุ่งมั่นจนได้เป็นขวัญใจมหาชนนะ
……
ครูปู ครูอึ่งครับ ลุงพอจะเป็นครูที่ปรึกษาไหวไหมนี่ …แว๊ป
เอ้า ขาใหญ่วิดวะ งานเข้าแล้ว ช่วยแง้มช่องทางเดินให้ลูกหลานหน่อย อิ
เข้าใจว่าคุณเรียนสาขา การวัดคุม (control engineering) จริงๆแล้ววิชานี้เป็นวิชาที่น่าสนุกมากๆ แต่คุณต้องเก่งคณิตศาสตร์หน่อยนะ เช่น หา pole/ zero เพื่อหา stability ของระบบ
ตลาดงานก็ต้องการวิศวกรด้านนี้มาก ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานอย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ
ถ้าคุณมีวิสัยทัศน์สักหน่อยจะเห็นว่า การวัด และ คุม สังคม การเศรษฐกิจ ก็สามารถโมเดลเป็นคณิตศาสตร์ได้ เหมือนกับระบบวิศวกรรม
การวัดคุมนี้เป็นฟิสิกส์อย่างยิ่ง เพราะคุณต้อง sense อะไรบางอย่างที่เป็นระบบฟิสิกส์ เคมี หรือ ชีวะ แล้วเอาสัญญาณที่ sense ได้นั้นมาจัดการเพื่อป้อนกลไกอัตโนมัติ (รวมทั้งหุ่นยนต์) ให้ทำงานสนองตอบอย่างดีที่สุด
ผมว่าศึกษาให้ดีก่อนว่าคุณกำลังเรียนอะไร ก่อนด่วนตัดสินใจ สาขาวิชานี้ผมว่าน่าสนุกมากๆ นะ
คนเก่งๆ ระดับเปลี่ยนโลก ที่ไม่ได้จบมหาลัย ก็เช่น สตีฟ จอบส์ และ บิล เกตส์ และอื่นอีกอีกสองสามคน
แต่อย่าลืมว่าจำนวนคนพวกนี้มี หลายพันล้านคนนะ สำเร็จสักสองสามคน เท่านั้น
ส่วนคนที่จบมหาลัยมีประมาณสิบล้านคนได้กระมัง แต่มีคนเปลี่ยนโลกได้เป็นแสนคน ดังนั้นผมว่าถ้าคุณใช้หลักสถิติ และอยากเปลี่ยนโลก คุณน่าจะกัดฟันเรียนให้จบนะครับ
วิชาคอนโทรลจะทำให้คุณฉลาดได้มาก วันหนึ่งคุณอาจคิดหาวิธี คอนโทรล ความโลภ ของมนุษย์ แล้ว ”เปลี่ยนโลก” ก็เป็นได้
ตรงนี้แหละมั๊งที่ต้องหาคำตอบให้ตัวเองก่อนตัดสินใจเรื่องอื่น “ถ้าผมถอย มันจะทำให้ผมมีปมในใจรึป่าว” คำตอบที่ควรหาคือ “ปม” หมายถึง…………. เห็นมันชัดหรือยัง ชัดแล้วก็จะหาคำตอบได้เองค่ะ ทางเลือกเดินต่อจะเป็นอย่างไร
ขอบพระคุณ นักปราชทุกท่านมากครับ ผมเริ่มมีความคิดใหม่ๆแล้วเหละตอนนี้
เป็นกำลังใจให้หาตัวเองให้เจอเร็วๆนะคะ
ขอตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเรามักเลือกไม่ได้ดี หากว่าไม่รู้ว่าเราเลือกอะไรนะครับ การเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัย มีมากกว่าที่หลักสูตรกำหนดให้เรียนตั้งมากมาย
อมยิ้มกับทุกคำแนะนำและสิ่งที่น้องเท่”คิดได้”ครับ
ตอนน้าเรียนก็มีที่คิดว่าวิชานี้จะเรียนไปทำไม(ฟะ) แต่ที่แย่กว่า่นั้นคือ น้าดั๊นคิดไม่ออกว่าวิชาไหนที่น่าจะเรียนแทน และยืนยันว่าเมื่อทำงาน สิ่งที่เราคิดว่าไม่ได้ใช้บางทีมันก็โผล่มาให้ได้ใช้ รวมทั้งอาจได้ทำในสิ่งที่ไม่ได้เรียนมาซะด้วย ตัวอย่างจากหลายๆท่านข้างบนนั่นแหละจ้ะ
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญกับการฝึกเรียนรู้ ที่จะเป็นฐานให้เราเดินบนถนนชีวิตของเราได้ อาจไม่ใช่วิชาที่เรียน แต่เป็น”วิธีการเรียนรู้” ก็ได้นะ แบบที่คุณแม่ส่งน้องเท่ไปสวนป่าไงจ๊ะ
เอาใจช่วยให้เดินต่อได้อย่างเข้าใจและมั่นคงคร้าบ
หลักสูตรทุกหลักสูตร ร่างขึ้นมาด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ พวกท่านตระหนักดีว่า ทุกอย่างที่บรรจุแล้ว เอาไปใช้ประโยชน์ในวิชาชีพได้ทั้งสิ้น ..แต่บางครั้งแม้ผู้สอนเองก็ยังไม่ตระหนัก เนื่องจากเป็นอาจารย์หนุ่มสาว ก็สอนไปดายๆ ไม่สามารถสื่อสารให้ นศ. เข้าใจได้ว่า ทุกอย่างนั้น “สำคัญ” ต่อวิชาชีพ
ผมเองเมื่อก่อนเคยชอบวิชา คอนโทรล มาก อยากยึดเอาเป็นวิชาชีพด้วยซ้ำ แต่ตอนหลัง พรหมลิขิตหักเห ทำให้ต้องมาเรียนทาง aerodynamic หนังสือคอนโทรลคลาสสิค ของ Richard C Dorf ผมยังเก็บโชว์ไว้ในตู้หนังสือผมแม้วันนี้ ..แค่เหลือบมองนานๆที่ก็สุขใจแล้ว
คำว่า “นักปราญ์” ของคุณนั้น ทำให้ผมนึดถึงกรณีที่มี นศ. บางคน มายัดเยียดให้ผม ไม่รู้ว่าด้วยเต็มใจหรือเสียดสี บ้างก็ว่าเป็น ปราชญ์เดินดิน ไปโน่น
ผมว่าทุกคนในโลกนี้ ล้วนเป็นปราชญ์ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่อาจมีความเฉพาะคนละด้าน
แม้แต่คนที่โง่ที่สุดก็เป็นปราชญ์ได้ เช่น ปราชญ์แห่งความโง่ ในโลกนี้ไม่มีใครเกินเขาอีกแล้ว เป็นต้น
อ่านบทความที่ 15 แล้ว อาจทำให้คิดว่าผมเสียดสีคนโง่ นะ ไม่ใช่ กำลังชมต่างหาก ว่าทุกคนมีดีด้วยกันทั้งนั้น