ความรุนแรง กับ ความสงบ
อ่าน: 1440โชคดีที่เกิดเป็นมนุษย์ มีปัญญา
แต่โชคร้าย ถ้าไม่ใช้ความเป็นมนุษย์ให้อาหารปัญญา
ป้อนอาหารให้มาร หรือ ป้อนอาหารให้ปัญญา
ความรุนแรง ตอบด้วยความรุนแรง
จะได้ความรุนแรงรวมมากขึ้น อาจเป็นหลายเท่า
เป็นอาหารของมาร มารชอบ
จึงทำให้ สะใจ รู้สึกชนะ ข้าเก่ง สมน้ำหน้า ได้ใจ อยากจะทำอีก อยากเห็นเขาแพ้
ในขณะเดียวกัน เพิ่มความกังวล ความเห็นแก่ตัว กลัวเสียหน้า กลัวแพ้
เพิ่มความรุนแรงถ้าถูกตอบโต้ แรงมาต้องแรงกลับให้มากกว่าอีกจะได้ชนะ
ผลคือแลกกับสูญเสีย จึงไปโกรธเพิ่ม ทุกอย่างทวี ยิ่งไปไกล ยิ่งกลับยาก มารชอบ
ความรุนแรง ตอบด้วยความสงบ
จะได้ความรุนแรงลดลง ความสงบเพิ่มขึ้น
แต่ไม่เป็นอาหารของมาร มารไม่ชอบ
จึงทำให้ ไม่สะใจ หงุดหงิด เสียใจ กลัวแพ้ กลัวถูกหยาม ลังเล
ตอนนี้คือสติจะเกิดไหม ถ้าสติไม่เกิดมารชนะ
ถ้ามารชนะ กลับไปรุนแรงอีก
ถ้าสติเกิดมารแพ้ ใจเลือกสงบ ไม่เลือกแพ้ ชนะ
ไม่รุนแรง มาร..อด
สงบ … มารถูกทำลาย
ยื่นไมตรี …มารบาดเจ็บ
เสียสละ…มารตาย
เกิดความสงบ เพิ่มความสุข ลดความทุกข์
ใจสงบ เกิดเมตตา เกิดความคิดดีๆ ลดความกังวล ลดความเห็นแก่ตัว มั่นใจ
มารก็คือ กิเลส ตัณหา มานะ อัตตา
ต่อเมื่อความเป็นมนุษย์แข็งแรงขึ้น มีปัญญา
มนุษย์จึงมองเห็นทางออก ใจสว่าง ตาสว่าง
เห็นใจตน ใจผู้อื่น เห็นทางที่จะไปด้วยกัน
ทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นสิ่งชั่วคราวทั้งสิ้น
คำสอนหลวงพ่อชา
อารมณ์ทั้งหลายที่ว่ามานี้ เหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย
ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน
แม้พิษของมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออก ไม่ได้ทำอันตรายเรา
เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น
ดังนี้ ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมดสิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป
สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบก็ปล่อยมันไป
เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น
ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไปมันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั่นเอง