การใช้พลังงานในการวิ่ง-มือใหม่หัดวิ่ง

โดย จอมป่วน เมื่อ 16 August 2008 เวลา 7:02 am ในหมวดหมู่ วิ่ง, สุขภาพ, ออกกำลังกาย #
อ่าน: 4989

 

ถ้าเราวิ่งเร็วเต็มที่คงวิ่งไม่ได้ไกลและไม่ได้นาน  แต่ถ้าเราวิ่งเหยาะๆหรือเดินคงจะได้ระยะทางไกลโขอยู่  ทั้งนี้เป็นเพราะมีความสัมพันธ์ระหว่างความหนักในการออกกำลัง ( Exercise Intensity ) กับการใช้พลังงาน

 

        นักวิ่งมือใหม่หัดวิ่งจะวิ่ง  20 นาทีติดต่อกันไม่ได้เพราะวิ่งเร็วเกินไปและกล้ามเนื้อยังมีความสามารถในการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นได้ต่ำ  ต้องอาศัยการฝึกซ้อมสักระยะหนึ่ง

 

        ร่างกายของเราจะมีพลังงานสะสมอยู่ในร่างกาย  ที่พร้อมใช้เลยจะอยู่ในรูปของ ATP  แต่ใช้ได้ไม่นาน  ( ไม่เกิน 10 วินาที )

 

        ที่เหลือจะสะสมอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรต ( ไกลโคเจนที่ตับและกล้ามเนื้อซึ่งก็มีปริมาณไม่มากนัก  ถ้าใช้แบบไม่ใช้ออกซิเจน- Lactic Acid System  ( Anaerobic ) ในกรณีที่วิ่งเร็วๆ  ก็จะใช้ได้ไม่นาน  เพราะจะเกิดของเสียขึ้นมาก  ( กรดแลกติค )    ใช้ได้ไม่เกิน 2-3 นาทีก็จะหอบเหนื่อย  ปวด เมื่อยล้า  ร่างกายก็จะทนไม่ไหว  แต่ถ้าใช้ออกซิเจน - O2 System ( Aerobic ) ในกรณีที่วิ่งช้าๆ    จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  กลัยโคเจนที่มีอยู่ก็สามารถใช้ได้นานประมาณ 90 นาที

 

        ที่สะสมอยู่ในรูปของไขมันจะมีอยู่ค่อนข้างมาก  สามารถวิ่งได้ถึง 600 ไมล์  หรือ 3 วัน 3 คืนติดต่อกัน

 

        ส่วนที่เป็นโปรตีนในกล้ามเนื้อ  ไม่จำเป็นจริงๆร่างกายก็จะไม่นำมาใช้เป็นพลังงาน

 

  

 

         กรัม

         kcal

  คาร์โบไฮเดรต

 

 

ตับ (glycogen)

         110

         451

กล้ามเนื้อ (glycogen)

         250

       1025

กลูโคส ในเลือด

           15

           62

                  รวม

         375

       1538

  ไขมัน

 

 

ชั้นใต้ผิวหนัง

       7800

     70980

กล้ามเนื้อ

         161

       1465

                  รวม

       7961

     72445

โปรตีน

 

     41000

  

        การใช้พลังงานในร่างกาย  อธิบายง่ายๆก็คือถ้าเราวิ่งเร็วมากๆ  ที่ 85-90% ของชีพจรสูงสุด ( Maximum Heart Rate )  ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากเกินกว่าที่ร่างกายจะจัดหาได้ทันต่อความต้องการ  ร่างกายจึงใช้พลังงานที่พร้อมใช้เลย ( ATP )  และจากไกลโคเจนที่สะสมอยู่ในร่างกายโดยไม่ใช้ออกซิเจน  - Lactic Acid System  ( Anaerobic )  ซึ่งประสิทธิภาพต่ำและให้พลังงานค่อนข้างน้อย  และเกิดของเสียขึ้นมาก  ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด เมื่อยล้า  เหนื่อยหอบ  ก็จะสามารถวิ่งได้ไม่เกิน 2-3 นาที

 

        ถ้าวิ่งช้าๆ  ที่ระดับ 60-70% ของชีพจรสูงสุด   ร่างกายก็จะใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจน - O2 System ( Aerobic )  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งทั้งกลัยโคเจนและไขมัน  ก็จะสามารถวิ่งระยะยาวๆ  ใช้เวลานานๆได้    20-30 นาทีติดต่อกันเรื่องเล็กเลยครับ

         ท่านที่เป็นมือใหม่หัดวิ่ง  ไม่ต้องวิ่งเร็วนะครับ  เริ่มวิ่งเหยาะๆ ( เร็วกว่าเดินเล็กน้อย )  ก็จะสามารถวิ่งได้นานขึ้นและได้ระยะทางมากขึ้น  ฝึกซ้อมสักพักก็จะสามารวิ่งได้ครบ 20-30 นาทีโดยไม่ต้องหยุดเดิน  แล้วค่อยมาพัฒนาความเร็วและความอดทนเพิ่มทีหลังครับ       

 

« « Prev : ปวดเข่า ( 2 )การเจ็บปวดบริเวณด้านนอกเหนือหัวเข่า

Next : การใช้พลังงานของนักวิ่ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

108 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.30486297607422 sec
Sidebar: 0.021429061889648 sec