Prelude

3 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 เมษายน 2011 เวลา 14:16 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1579

A teacher who is attempting to teach without inspiring the pupil with a desire to learn is hammering on cold iron.

~Horace Mann

…….

จากหนังสือ การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ โดย รศ. ดร.ชูชัย สมิทธิไกร คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การเรียนรู้ = ความสามารถ * แรงจูงใจ

……….

และจากตาราง….

เรียนไม่เป็น

เต็มใจเรียน

เรียนเป็น

เต็มใจเรียน

เรียนไม่เป็น

ไม่เต็มใจเรียน

เรียนเป็น

ไม่เต็มใจเรียน

การเรียนรู้ การทำงานและการใช้ชีวิตเป็นเรื่องเดียวกันและต่อเนื่องไปจนชีวิตจะหาไม่

ถ้าจะสลับการทำงาน หรือการใช้ชีวิตไปแทนการเรียนตามข้อความและตารางข้างบนก็จะเป็นเรื่องเดียวกัน

ในการเรียนรู้ การทำงานและการใช้ชีวิต คงมี 2 ประเด็นให้พิจารณา

1. เรียนรู้ ทำงานและใช้ชีวิตเป็นไหม? หรือรู้จัก เข้าใจ Learn How to Learn ไหม?

2. มีแรงจูงใจ หรือเต็มใจที่จะทำไหม?

คนที่ทำไม่เป็นและไม่เต็มใจทำ ก็เหนื่อยหน่อยที่ต้องสร้างแรงจูงใจก่อน แล้วจึงฝึกให้ทำเป็น (เรียนเป็น ทำงานเป็น ใช้ชีวิตเป็น)

คนที่เต็มใจทำ แต่ทำไม่เป็นก็ง่ายขึ้นหน่อย เพราะมีแรงจูงใจและมีความเต็มใจอยู่แล้ว ก็แค่ฝึกให้ทำให้เป็น

คนที่ทำเป็นอยู่แล้ว แต่ไม่เต็มใจทำ ก็คงต้องมาสร้างแรงจูงใจให้อยากทำ

ส่วนคนที่ทำเป็นและเต็มใจทำอยู่แล้วก็คงไม่ต้องไปยุ่งกับเขา คนพวกนี้น่าจะช่วยชี้แนะ แนะนำผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

แต่พวกที่เหนื่อยที่สุดคงเป็นพวกที่ทำก็ไม่เป็นแถมไม่เต็มใจทำ แต่คิดว่าตัวเองทำเป็นและเต็มใจทำ แถมยังอยากสอนคนอื่น

ว่าตัวเองรึเปล่าเนี่ย อิอิอิอิ

ไม่มีอะไรหรอกครับเพียงแต่อยากแนะนำว่า ก่อนจะเรียน คุณครูต้องสร้างแรงจูงใจให้เด็กๆอยากเรียนก่อน ไม่งั้นก็เหมือนกับออกแรงตีเหล็กที่เย็นๆ…….

ก่อนการฝึกอบรมหรือทำงานหรือใช้ชีวิตก็ต้องกระตุ้น ทำความเข้าใจให้อยากก่อน เพราะ

การเรียนรู้ = ความสามาถ * แรงจูงใจ

เพราะถ้าไม่อยากเรียน ไม่อยากทำแล้ว แรงจูงใจเป็นลบ ผลคูณออกมาก็เป็นลบ หรือได้ผลไม่เต็มที่

(ห้ามเอาความสามารถที่เป็นลบมาคูณกับแรงจูงใจที่เป็นลบนะครับ เพราะลบคูณลบในสมการนี้จะไม่ได้ผลเป็นบวก แต่จะได้ผลเป็นโคตรลบ อิอิ )

Post to Facebook Facebook


ASEAN Environmentally Sustainable Cities Award 2011

7 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 เมษายน 2011 เวลา 11:47 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1657

เทศบาลนครพิษณุโลกได้รับเลือกให้เข้ารับรางวัลอาเซี่ยนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน ประจำปี 2544 2554  จากจำนวน 10 เทศบาล ที่เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงาน  ได้แก่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลเมืองวารินชำราบ เทศบาลเมืองกระบี่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครตรัง เทศบาลนครนนทบุรี และเทศบาลเมืองทุ่งสง

โดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมพิ๗ารณาและตัดสิน  ได้แก่  สำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ  กรมควบคุมมลพิษ  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  กรมโรงงานอุตสาหกรรม  และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการฯ ได้มีมติคัดเลือกเทศบาลนครพิษณุโลกเข้ารับรางวัล  เนื่องจากมีผลดำเนินงานเด่นชัดด้านการจัดการขยะมูลฝอยและพื้นที่สีเขียวชุมชนอย่างยั่งยืน  โดยมีการนำเทคโนโลยีบำบัดขยะโดยวิธีเชิงกลชีวภาพ  มีการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันโดยเทคโนโลยี Pyrolysis  มีการจัดการขยะติดเชื้อ  รวมทั้งมีการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ  ทั้งภาคเอกชนและชุมชน  ตลอดจนมีการถอดบทเรียนและเผยแพร่สู่องค์กรอื่น

…….อิอิ

Post to Facebook Facebook



Main: 0.030894041061401 sec
Sidebar: 0.046577930450439 sec