การเตือนภัยน้ำท่วมฉันพลัน จากการตรวจวัดปริมาณน้ำฝน
ดูข่าวน้ำท่วมหนักที่ออสเตรเลียแล้วก็เศร้าใจ คลิปนี้มีคนดูเกิน 2 ล้านคนแล้วครับ เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่ Toowoomba รุนแรงมากจนหอบพารถไปได้หลายคัน สำนักข่าวบางที่รายงานสภาพน้ำที่สูง 6-10 ฟุตและไหลมาอย่างแรง
ว่า “Instant Inland Tsunami” หรือ สึนามิบนบก
คุย Gtalk กับ @preedano ก็ได้ข้อมูลที่ไม่ค่อยดีมาเช่นกัน
“น้องสะใภ้ย้ายไปอยู่เพิร์ท ออสเตรเลีย ไม่ดีเลย
เพื่อนเก่าสมัยมัธยม เป็นพาณิชย์นาวีลงเรือปีละ 10.5 เดือน
บอกว่ากระแสน้ำในทะเลแย่มาก ธุรกิจเดินเรือกำลังลำบากมากครับ
มันเพี้ยนไปหมดครับ สัปดาห์หน้าจะมาหาผม หลังงจากไม่ได้เจอกัน 20 ปีครับ”
เหตุการณ์ที่ออสเตรเลียทางตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากภาวะโลกร้อนที่ชื่อ ลานีญา ทำให้ฝนตกลงมาหนักในบริเวณนั้นและทำท่าจะตกไปอีกนาน ช่วงนี้ลองค้นเว็บไซต์ดูจึงเจอเว็บไซต์ “บริการเตือนภัยน้ำท่วมแห่งชาติ” ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ออสเตรเลีย เห็นว่าน่าสนใจจึงลองเขียนถึงซะหน่อย
สิ่งที่ประทับใจคือ แผนที่ประเทศจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะเห็นข้อมูลการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนที่ลึกลงไปอีกชั้น
การใช้สีก็ชัดเจนดีคือ แดง ส้ม แสดงสถานการณ์ที่หนักเบา ลงไปจนถึง เขียว น้ำเงิน ฟ้า และเทา
ลองคิดต่อลงไปอีกชั้น จะเห็นว่าจุดวัดปริมาณน้ำในเยอะดีจริงๆ และกระจายตัวตามจุดเสี่้ยงที่ควรตรวจวัด เช่น บริเวณชายฝั่งจะหนาแน่นกว่าใจกลางของประเทศ และคลิกดูเป็นค่าสะสมรายชั่วโมงได้ด้วย
ลองแว้บกลับมาดูที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยาของบ้านเรา มีแผนที่ประเทศใหญ่ๆเหมือนกันเลย
คลิกลงไปในแต่ละภาค ส่วนใหญ่ตัวตรวจวัดน้ำฝนจะติดอยู่ตามสถานที่ราชการ เช่น อบต., สถานีอนามัย ฯลฯ
จากจุดนี้คลิกต่อไปไม่ได้แล้ว และถ้าผมตาไม่ฝาด ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส มีตัวตรวจวัดระดับน้ำฝนเพียงจังหวัดละจุดเท่านั้น
ซึ่งขณะนี้จังหวัดที่กำลังเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมต่อเนื่อง คือ ตั้งแต่พัทลุงลงไป
แนวทางที่อยากนำเสนอ คือ การเพิ่มจุดตรวจวัดระดับน้ำฝน และถ้าจะลงทุนแล้วมันราคาไม่แพงหรอกครับที่จะวัดเรื่องอื่นไปด้วยทีเดียว เช่น ความกดอากาศ, ความเร็วและทิศทางลม, ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง ในจุดที่ใช่ และทำเป็น Open Data ให้สามารถบูรณาการข้อมูลร่วมกันได้ เจ้าภาพที่ติดจะเป็นใครก็ได้เช่นหน่วยงานราชการที่เป็นแม่งาน, เอกชนที่มีจิตศรัทธา หรือ ชุมชน แต่ตัวภาพรวมใหญ่น่าจะมีเจ้าภาพดูแลประสานงานในส่วนนี้ครับ
การลงทุนนี้แค่เพียงช่วยชีวิตคนได้เพียง 1 คนจากภัยพิบัติ ก็จะถือว่าคุ้มค่ามากมายแล้ว
ครั้งนี้น้ำท่วมที่ออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าน้ำท่วมของไทยมากนะครับ
« « Prev : วิศวกรอาสาเพื่อสังคม
Next : ยุคน้ำแข็งใหม่ (New Ice Age) » »
3 ความคิดเห็น
ชอบการชี้ให้เห็นแบบนี้นะคะ เป็นประโยชน์มากๆเลย ดีจัง
มีบ้างมั้ยคะที่ฝนตกไม่หนักแต่ก็เกิดน้ำท่วมหนักได้ คือกำลังคิดว่าปริมาณน้ำฝนเป็นตัวหนึ่งที่ควรใส่ใจ แต่มันมีปัจจัยอื่นอีกหรือเปล่าน่ะค่ะ
ฝนตกหนักแม้จะเป็นปัจจัยหลัก แต่ก็มีปัจจัยอื่นได้้ด้วย เช่น น้ำทะเลหนุน หรือ เขื่อนแตก - -” นะครับ