จดหมาย ไม่ลับ

4 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 21 มีนาคม 2010 เวลา 5:43 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1486

ปอ & ปูน ลูกรัก
 
   พ่อยัง หนัก อยู่กับการรื้อและจัดระเบียบข้าวของที่สิบล้อขนไปกองไว้ที่บ้านไชยา และคงใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะไปอยู่บ้านหลังเก่านั้นได้ และปรับปรุงบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ที่พ่อตั้งชื่อไว้ในใจแล้วว่า ”ศูนย์การเรียนรู้ ปู่แพน” .. ” Poo Pan Learning Center ” ตอนนี้ก็อาศัยอยู่บ้านพี่หอยไปก่อน
   เขียนมาบอกกล่าวพอให้รู้เรื่องราวและความเป็นไป  แต่ที่ขอฝากแถมมาด้วยและอยากให้ได้ลองใช้เวลาอ่านและตรึกนึกตามไปช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบ คือเอกสาร PDF ที่แนบมากับ Link ข้างล่างนี้  เป็นหนังสือที่ทั้งคนไทยและต่างชาติกล่าวถึงมากที่สุดเล่มหนึ่งของท่านอาจารย์พุทธทาส
 
   
http://gotoknow.org/file/handyman/humanhandbook.pdf
 
    ขอให้ลูกทั้งสองประสบความสำเร็จในการมองเห็นความจริงในโลก และรักษากายใจให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยสติปัญญายิ่งๆขึ้นไป
 
 
     ด้วยรักและปรารถนาดี
            จาก
            พ่อ
 

      Copy มาวางให้เป็น “จดหมายไม่ลับ” เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านทุกท่านครับ .. ประโยชน์จากสิ่งที่แนบมา ไม่ใช่สาระของตัวจดหมายครับ 


วิชา “ผักพูม”

1 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 16 มีนาคม 2010 เวลา 6:36 (เช้า) ในหมวดหมู่ การเพาะปลูก #
อ่าน: 2409

   หมู่นี้ชีพจรลงเท้าครับ เดินทางไม่ได้หยุดหย่อนก่อนลงไปปักหลักอีกครั้งที่ไชยาบ้านเกิด

   ทุกครั้งที่อยู่ต่างจังหวัดผมจะนอนน้อยกว่าอยู่กทม. อาจเพราะอากาศที่บริสุทธิ์ก็ได้ ทำให้หลับได้สัก 4 ชั่วโมงก็อิ่มแล้ว  พอตื่นมาความคิดก็วนเวียนอยู่แต่เรื่องต้นไม้ใบหญ้าที่จะไปหามาปลูกในบริเวณและรอบๆที่บ้านเก่าเนื้อที่ราว 1 ไร่ ที่หลานได้เอาปาล์มน้ำมันไปลงไว้ 50-60 ต้นแล้ว

    คืนก่อนตื่นมาตอนตีสาม คิดวนเวียนอยู่กับเรื่องพืชผักที่ไชยาบ้านผมเรียก “ผักพูม” หรือบางถิ่นเรียก “หมากหมก” พืชผักหายากที่ผมชอบมากๆและไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสมานานแล้ว  ตอนเด็กๆแม่ชอบเอามามัดเป็นกำ โดยใช้ใบตะใคร้มัด  ต้มกะทิกินกับน้ำพริกกะปิ รสชาติสุดแสนอร่อยเลยล่ะครับ  ผมว่าจะอร่อยกว่ายอดเหลียง หรือ เขลียง ด้วยซ้ำไป  จึงตั้งความหวังไว้ในใจว่าจะต้องหามาปลูกให้จงได้ จะยากอย่างไรก็จะลองจนกว่าจะสำเร็จ  คิดแล้วก็อดไม่ได้จึงลุกขึ้นมา ใช้พี่ Goo ช่วยค้นหาโดย Search จาก คำว่า “ผักพูม” ได้ข้อมูลพียบเลยครับ  และแหล่งข้อมูลสำคัญดันมาเป็นคนกันเอง น้องบ่าวโสทรแห่งเมืองตรังนั่นเอง

   นี่คือส่วนหนึ่งของสิ่งที่ค้นมาได้ครับ

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.

ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 2 เมตรลำต้นสีเขียวกิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปยาวรีปลายแหลม  หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียมกว้างประมาณ 3 -7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง    ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง  ช่อหนึ่งมี 3-5
ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่ว กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด หรือใช้หัวตากให้แห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง  ราก(หัว)กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ 

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

(หมายเหตุ  :ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา) จะพบเห็นหมากหมก
ได้ตามบริเวณสายดมแนวเขตบ้าน  ปัจจุบันพบเห็นบ้างเฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

Source : http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

………………………………..

 หมากหมก   
 
ชื่อท้องถิ่น หมากหมก พูมสามง่าม ผักพูม 
ชื่อวงศ์ OPILOACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepionurus sylvestris Bl.
ลักษณะลำต้น เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ความสุง 4-5 ฟุต ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออกจากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน
ลักษณะใบ มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3-6 ใบ ใบยาวรีปลายแหลม หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อยใบกรอบเกรียม
ลักษณะดอก  ออกใต้ลำกิ่งระหว่างขั้วใบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง
ลักษณะผล   จะเปลี่ยนจากดอกมาเป็นผล ลักษณะและขนาดของผลคล้ายลูกเขลียง ช่อหนึ่งมี 3-5 ผล ผลอ่อนสีเขียว  ผลสุกสีแสด
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ผลอ่อน ผลแก่
ใช้เป็นอาหารประเภท ใช้ยอดและผลอ่อนแกงเลียง ส่วนผลแก่ใช้ต้มกินเล่น
รสชาติ แกมหวาน (ใบ) มัน (ผล)
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ด
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ที่ราบสูง ที่ราบน้ำไม่ขัง 
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ยอดเป็นตลอดปี ออกผลปลายฤดูฝน
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้หัวสดกินดิบ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลัง หรือใช้หัวตากแล้วบดเป็น

ผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายก้อยกินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง
ราก กินดิบๆ หรือต้ม เป็นยาบำรุงกำลัง กระตุ้นความกำหนัด เห็นผลทันตา
ทั้งต้น แก้โรคไต โรคนิ่ง ขับปัสสาวะ

Source :

http://www.tungsong.com/NakhonSri/vegetable/group_3/3_16.html

…………………………

เขียนโดย sothorn เมื่อ 11 กันยายน, 2009 - 12:12 Tags:
         
พืชผักหมักหมก หมากหมก
     ต้นไม้ชนิดนี้จะชื่อ หมักหมก หรือหมากหมก เท่าที่ค้นดูชื่อที่ถูกต้องเห็นจะเป็น “หมากหมก”  แต่ผมเรียก “หมักหมก” มาตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ประทับใจหมักหมกมาตั้งแต่เด็กคือ คือความอร่อยของแกงเลียงหมักหมก ซึ่งเอาผักเหมียงมาแลกก็ไม่ยอม จริงๆ ครับ เพราะถ้าเอาหมักหมกมาแกงเลียง จะอร่อยกว่าผักเหมียงเป็นไหนๆ  แต่หมักหมกไม่ได้ปลูกง่ายอย่างผักเหมียงนี่ซิครับ มันถึงหากินได้ยาก ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ ที่ได้กินอยู่ก็มันขึ้นเองตามธรรมชชาติ ผมพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ก็ต้องผมแพ้ไปยกหนึ่งแล้ว ว่าจะลองใหม่อีกซักยก ถึงแม้ว่าจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แต่มันเป็นพืชที่โตช้าเอามากถึงมากที่สุด

     พื้นที่บ้านผม 5 ไร่มีหมักหมกประมาณ 10 ต้นเห็นจะได้ ทั้งรักทั้งหวงเลยครับ เพราะปีหนึ่งจะได้กินแกงเลียงหมักหมกแค่ไม่กี่ครั้งเอง

      เนื้อหาทางวิชาการที่ผมค้นหารมาได้จาก http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.
 
ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร  ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  รูปยาวรีปลายแหลม   หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียม กว้างประมาณ 3 -7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง     ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง   ช่อหนึ่งมี 3-5
 ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
    ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด  หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง  ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว)  กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

หมายเหตุ: ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา)  จะพบเห็นหมากหมกได้
ตามบริเวณ สายดม แนวเขตบ้าน   ปัจจุบันพบเห็นบ้าง  เฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

Source : http://www.bansuanporpeang.com/node/348

……………………………

      ถึงเวลาได้ลองปลูก และได้ผลสำเร็จ-ล้มเหลวอย่างไร จะนำมาบอกกล่าวแน่นอนครับ

      ภาพถ่าย “จิ๊ก”มาจาก” Website บ้านสวนพอเพียง ของน้องบ่าว โสทร ครับ


วิชา เหรียง (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 16 มีนาคม 2010 เวลา 5:26 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1166

จาก “วิชาเหรียง” ตอนที่หนึ่งทำให้ผมคิดต่อว่าน่าจะได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพืชชนิดนี้เก็บไว้ประกอบการเรียนรู้  ตอนแรกจะเก็บเป็นไฟล์เอกสารไว้ใช้ส่วนตัวแต่มาคิดอีกที คนอื่นที่ควรได้ประโยชน์จากสิ่งที่รวบรวมก็หมดโอกาส  จึงตัดสินใจนำสิ่งที่สืบค้นได้มารวบรวมไว้ที่นี่ เป็นบันทึกชื่อ วิชา “เหรียง”(2)

   รายละเอียดมีดังนี้ครับ

*

 เหรียง
 
 ชื่อวิทยาศาสตร์ :Parkia timoriana Merr.
 ชื่อวงศ์ :MIMOSACEAE

 ชื่ออื่น ได้แก่ กะเหรี่ยง, เรียง, สะเหรี่ยง (ใต้); นะกิง, นะริง (มาเลย์-ใต้) (เต็ม สมิตินันทน์, 2523); สะตือ (ใต้) (กัญจนา ดีวิเศษ,2542)
 
   ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-50 เมตร ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น เปลือกเรียบและหนาสีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ลักษณะทั่วไปคล้ายสะตอ แต่พุ่มใบแน่น และเขียวทึบกว่า ใบใหญ่และหนากว่าสะตอ ลักษณะใบเป็นแบบช่อ ใบประกอบมี 18-33 คู่ ใบแคบปลายแหลม ใบแก่จะเป็นสีเหลืองร่วงเกือบหมดต้น และผลิใบใหม่แทน ลักษณะดอกเป็นดอกช่อแบบสะตอ ออกที่ปลายยอด เป็นก้านยาวสีเขียวสลับน้ำตาล ลักษณะผลเป็นฝัก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยางประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ ประมาณ 15-20 เมล็ดต่อฝัก ฝักแก่เต็มที่มีสีดำ เมล็ดในสีดำ เนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม และมีกลิ่นฉุน เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ดเมื่อแก่ตัดส่วนปลายนำไปเพาะให้แตกรากสั้นๆ รับประทานสดหรือดอง
 
Source : http://www.scitour.most.go.th

 

** 

   เหรียง

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Parkia timoriana Merr.
วงศ์ : LEGUMINOSAE - MIMOSOIDEAE
   เหรียง เป็นพืชสกุลเดียวกับสะตอ  เหรียงเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง  50  เมตร   ต้น  เปลา  ตรง  เกลี้ยง   เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง  ไม่มีแก่น  อ่อนและเปราะ มีเสี้ยนตรงกลางอย่างสม่ำเสมอ  เนื้อไม้ผ่าได้ง่าย จึงเหมาะที่จะทำเป็นไม้บางๆ  ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น  ใบเรียงสลับ  ใบย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน  ดอกช่อ  ออกเป็นช่อกลม   ก้านช่อยาว  ผล  เป็นฝัก  แคบ แบน ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม  ติดฝักเดือนมกราคม -  กุมภาพันธ์  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด ประโยชน์  เนื้อไม้ใช้ทำลังใส่ของ   ก่อสร้างภายใน   เมล็ด เพาะให้งอก นำไปดอง รับประทานเป็นผัก  เปลือกและเมล็ด ขับลมในลำไส้   ถิ่นกำเนิด  อินเดีย  และปาปัวนิวกินี    เป็นพืชเขตร้อน ชอบที่มีน้ำฝนและมีความชุ่มชื้นในอากาศสูง

Source : http://www.wangtakrai.com/panmai/detail.php?id=357

 

*** 

   เหรียง

 
1.  ชื่อพันธุ์ไม้          เหรียง

2.  ชื่อสามัญ          (ไทย)เหรียง  เรียง  สะเหรี่ยง (ภาคใต้)  กะเหรี่ยง  นะกิง  นะริง

                            (มาลายู ภาคใต้)

                            (อังกฤษ)               -

3.  ชื่อวิทยาศาสตร์   Parkia javanica Merr. และมีชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์ คือ

                            P. timoriana Merr. , P. roxburghii G. Don.

4.  ชื่อวงศ์              Mimosaceae

5.  การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

        เหรียง  เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ แถบหมู่เกาะติมอร์ และแถบเอเซียเขตร้อน ซึ่งรวมตั้งแต่ประเทศอินเดีย จนถึงประเทศปาปัวนิวกินี สำหรับในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ชอบขึ้นตามป่าดิบชื้น ตั้งแต่ในระดับพื้นที่ต่ำจนถึงพื้นที่สูงถึง 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่อย่างไรก็ตามอาจมีบ้างที่เจริญเติบโตได้ในระดับสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล

        เหรียงเป็นไม้ที่ชอบแสงกสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดใบในขณะที่ออกช่อดอก และใบจะร่วงหล่นจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อม ๆ กับใบอ่อนที่ผลิออกมาใหม่

6.  ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา

        เหรียงเป็นพืชวงศ์เดียวกับสะตอและลูกดิ่ง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง สูงถึง 50 เมตร มีพูพอนสูงถึง 7 เมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับสะตอ แต่แตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนักพุ่มใบแน่นและเป็นสีเขียวทึบกว่าพุ่มใบของสะตอ  เปลือก เรียบ กิ่งก้านมีขนปกคลุมประปราย

         ใบ   ก้านใบยาว 4 - 12 ซม. มีต่อมรูปมนยาว 3.5 - 5 มม. อยู่เหนือโคน ก้านแกนช่อใบยาว 25 - 40 ซม. มีช่อใบแขนงด้านข้าง 18 - 33 คู่ ใต้รอยต่อของก้านช่อใบแขนงด้านข้างมักจะมีต่อมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 3 ซม. ช่อใบแขนงยาวประมาณ 7 - 12 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อย 40 - 70 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ ๆ กว้าง 5 - 7 มม. ยาว 1.5 - 1.8 มม. ปลายใบแหลมโค้งไปทางด้านหน้า ฐานใบมักจะยื่นเป็นติ่งเล็กน้อย เส้นแขนงใบด้านข้างไม่ปรากฏชัดเจน

         ดอก  ออกเป็นช่อกลม ขนาดของดอกกว้าง 2 ซม. ยาว 5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 20 - 25 ซม. ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ๆ และใบประดับยาว 4 - 10 มม. รองรับกลีบรองกลีบดอกของดอกสมบูรณ์เพศเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 8 - 11 มม.

         ผล  เป็นฝักกว้าง 3 - 4 ซม. ยาว 22 - 28 ซม. ตัวฝักตรงไม่บิดเวียนเหมือนสะตอบางพันธุ์ เมล็ดไม่นูนอย่างชัดเจน แต่ละฝักมีเมล็ดรูปไข่ ขนาดประมาณ 11 x 20 มม. ประมาณ 20 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดหนาสีคล้ำ

         ระยะการออกดอก-ผล  ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ฝักแก่ประมาณเดือนมกราคม - กุมภาพันธุ์

7.  การขยายพันธุ์

        การขยายพันธุ์เหรียงที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือ การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์โดยมีวิธีอื่น ๆ ได้อีก เช่น การตัดกิ่งปักชำ และการขยายพันธุ์โดยการติดตา แต่การขยายพันธุ์โดยการตัดกิ่งปักชำ และการติดตานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมปฏิบัติกัน

        การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดคือ ช่วงเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤษภาคม  วิธีการเก็บเมล็ด เก็บจากฝักแก่ที่ร่วงหล่นบนดิน นำฝักมาผึ่งแดดให้แห้งเกรียม แล้วใช้ไม้ค้อนทุบให้ฝักแตกแกะเมล็ดออก

        การปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด ใช้มีดตัดขั้วเมล็ดให้ขาดออกเล็กน้อยแล้วนำไปแช่น้ำ 1 คืน นำเมล็ดมาผึ่งให้แห้งก่อนเพาะในแปลงเพาะ หรือเพาะลงในถุงพลาสติก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากเพาะประมาณ 2 -3 วัน ก็จะเห็นต้นอ่อนของต้นกล้าโผล่ออกมา เมื่อกล้าอายุได้ประมาณ 2 เดือน ความสูงพอประมาณก็ทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้

8.  การปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์

       ในการปลูกเหรียงนั้นสิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกก่อนคือ การเลือกพื้นที่ที่จะปลูก ในการเลือกพื้นที่ปลูกเหรียงนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเหรียงเป็นสำคัญ จากที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า เหรียงเป็นพืชในเขตร้อนชื้นซึ่งชอบที่มีประมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศที่สูง มีปริมาณฝนตกมากพอสมควรประมาณ 2,500 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซียส เป็นไม้ที่ต้องการแสง ลักษณะดินชอบดินที่อุ้มน้ำ และเก็บความชื้นได้ดีส่วนมากเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย ดังนั้นในการเลือกพื้นที่ปลูกเหรียงจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย

       การปลูกไม้เหรียงควรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดี มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายปลูกควรอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ขนาดของกล้าไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกอายุประมาณ 2.5 เดือน สูงประมาณ 30 ซม.

       สำหรับระยะปลูกนั้นควรพิจารณาจากความกว้างของเรือนยอดเมื่อไม้โตเต็มที่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 8 x 8 เมตร หรือ 10 x 10 เมตร เมื่อปลูกเหรียงแล้ว เนื่องจากเรือนยอดเหรียงโปร่ง อาจพิจารณาปลูกไม้ชนิดอื่นใต้ต้นเหรียงได้

       เหรียงเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วชนิดหนึ่ง มีความเพิ่มพูนทางด้านความสูงรายปีมากกว่า 60 ซม.ต่อปี เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต จากการทดลองปลูกไม้เหรียงเปรียบเทียบการเจริญเติบโตกับไม้ชนิดอื่นอีก 5 ชนิด คือ สะตอ หลุมพอ ทัง ตำเสา และไม้เคี่ยม ที่สถานีทดลองปลูกพรรณไม้สงขลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ในแปลงทดลองลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย (sandy loam) ระดับผิวดินลึกประมาณ 15 - 30 ซม. ค่า pH ประมาณ 4.6 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 - 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ดำเนินการทดลองในปี พ.ศ. 2525 การเจริญเติบโตของไม้เหรียงเมื่ออายุ 3 ปี ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ย 2.04 ม. ความโตเฉลี่ย 3.50 ซม. มีอัตราการรอดตาย 91% เมื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตกับไม้ชนิดอื่น ๆ ในโครงการชนิดเดียวกัน ดังแสดงในตาราง

     ตารางเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไม้เหรียงกับไม้ชนิดอื่น ๆ 5 ชนิด เมื่ออายุ 3 ปี ณ สถานีทดลองปลูกพรรณไม้สงขลา

ชนิดไม้ ความสูง (ม.) ความโต (ซม.) การรอดตาย (%)
เหรียง Parkia javanica 2.04 3.5 91
           
สะตอ  Parkia speciosa 0.96 1.51 37
           
หลุมพอ 

Intsia palembanica

0.91 1.44 46
           
ทัง     Litsea grandis 1.13 1.75 67
           
ตำเสา  Fragraea fragrans 2.12 3.23 88
           
เคี่ยม   Catylelobium melannxylon 0.9 1.02 24
          
ที่มา : สุทธิ  มโนธรรมพิทักษ์, 2529        

9.  วนวัฒนวิธีและการจัดการ

         ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับวนวัฒนวิธีและการจัดการของไม้เหรียงนั้น ยังไม่ได้มีการรายงานไว้ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้ไม้เหรียงที่ปลูกมีการรอดตาย และมีการเจริญเติบโตดี พ้นจากการแก่งแย่งของวัชพืชและศัตรูธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูก สิ่งที่ควรปฏิบัติมีดังนี้

         1.  การกำจัดวัชพืช  เนื่องจากไม้เหรียงเป็นไม้ที่ต้องการแสงมาก แม้ว่ากล้าไม้เหรียงจะมีความสามารถแก่งแย่งกับพวกวัชพืชได้ดีก็ตาม แต่ในปีแรกมีความจำเป็นต้องเอาใจใส่ดายวัชพืชให้ในกรณีที่มีพวกวัชพืชแย่งเบียดบัง ดังนั้นในการปลูกระยะแรก ๆ จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชไม่ให้สูงคลุมต้นเบียด และแย่งแสงและอาหารจากต้นไม้ได้ อาจกระจำโดยการดายวัชพืช โดยใช้แรงคนหรืออาจใช้สารเคมีพ่นก็ได้

         2.  การปลูกซ่อม  หลังจากปีแรกผ่านไป ควรมีการตรวจสอบและปลูกซ่อมต้นที่ตายเพื่อเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้เต็มเนื้อที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในตอนแรก และยังช่วยให้การบำรุงรักษาสะดวกขึ้น

         3.  การป้องกันไฟ  โดยทั่ว ๆ ไปแล้วการทำแนวกันไฟควนให้กว้างประมาณ 10 - 15 ม. รอบแปลงสวนป่า เพื่อป้องกันไฟภายนอกหรือจากการเผาไร่ไม่ให้ลุกลามเข้ามายังสวนป่า พวกวัชพืช เช่น หญ้าคาจะเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดีในฤดูแล้ง ดังนั้นการกำจัดวัชพืชที่ดีก็จะช่วยลดปัญหาด้านไฟได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่ภาคใต้นิยมใช้ยา round up กำจัดวัชพืช

10. การใช้ประโยชน์

      เหรียงเป็นไม้โตเร็วอเนกประสงค์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างดังนี้

      1.  การใช้ประโยชน์ด้านเนื้อไม้  ไม้เหรียงมีลำต้นกลม ตรง เปลา เนื้อไม้สีขาวนวล ไม่มีแก่น อ่อนและเปราะ เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ เลื่อยผ่าได้ง่าย เหมาะที่จะทำพวกไม้บาง นำมาใช้ในการทำส่วนประกอบที่เบาหรือเป็นโครงร่างของการผลิตต่าง ๆ เช่น หีบใส่ของ รองเท้าไม้ ไม้หนาประกบพวกเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สอย เช่น พวกเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องครัว เครื่องมือวิทยาศาสตร์ แพ และเรือที่ขุดจากต้นไม้

      2.  ใช้ประโยชน์สำหรับเป็นผักบริโภค  กล้าของเหรียงที่เพาะใหม่ ๆ สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้เช่นเดียวกับสะตอ แต่เหรียงจะมีรสขมกว่า กรรมวิธีในการนำเมล็ดเหรียงออกมารับประทานก็คือ เมื่อฝักของเหรียงแก่จัดจะตกลงนั้น สามารถนำไปกระเทาเอาเมล็ดออกมา เมล็ดมีเปลือกแข็ง ทำให้สามารถเก็บเมล็ดได้นาน และจะนำมาเพาะได้เมื่อจำเป็น ในการเพาะควรตัดปลายเมล็ดแล้วนำไปเพาะในกะบะทรายจึงจะนำไปแช่น้ำค้างคืนก่อนที่จะมีความชุ่มชื้นเพียงพอ ต่อมาก็จะมีรากและใบเลี้ยงโผล่ออกมา ซึ่งใบเลี้ยงจะมีลักษณะสีเขียวจึงแกะเอาเปลือกออกล้างน้ำให้สะอาด นำไปรับประทานเป็นผักต่อไป

       3.  ใช้ประโยชน์ในการขยายพันธุ์พืช  เนื่องจากต้นเหรียงสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้แต่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม จึงมีการนิยมนำต้นเหรียงมาใช้เป็นต้นตอในการติดตาพันธุ์สะตอ

       4.  ใช้ประโยชน์ด้านการปรับปรุงดิน  เนื่องจากเหรียงเป็นพืชตระกูลถั่ว จึงมีคุณสมบัติทางด้านการบำรุงดินให้ดีขึ้น ใบของเหรียงมีขนาดเล็ก เหมาะสมในการนำมาปลุกควบกับพืชอื่น ๆ เช่น กาแฟ ทำให้กาแฟมีผลผลิตสูงขึ้นติดต่อกันไป

       5.  ใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ  เปลือกและเมล็ดของเหรียงมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรดีกว่าสะตอ ส่วนใหญ่เมล็ดใช้เป็นยาแก้อาการจุกเสียด

Source : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/


วิชา “เหรียง”

3 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 11 มีนาคม 2010 เวลา 6:42 (เช้า) ในหมวดหมู่ การเพาะปลูก #
อ่าน: 1512

 

   อีกไม่กี่วันผมก็จะอพยพกลับบ้านที่ไชยาแล้วครับ เพราะขนสัมภารกไปกองเป็นภูเขาไว้แล้ว หนึ่งในหลายงานที่อยากทำคือทำบ้านและบริเวณโดยรอบประมาณ 1 ไร่ให้เป็น ศูนย์การเรียนรู้  เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรก็ได้ที่จะทำให้ชีวิตมีความปกติสุขทั้งฝ่ายกายและจิตวิญญาณ .. ในใจก็ได้บรรจุเรื่อง “เหรียง” ไว้เป็นวิชาแรกๆแล้วครับ

 
   ตอนเด็กๆผมเคยมีหน้าที่สับเม็ดเหรียงเพื่อเตรียมเพาะ โดยใช้เครื่องมือง่ายๆที่พ่อทำให้ คือใช้ไม้ไผ่ขนาดประมาณ 1 นิ้ว ยาวราว 1 ฟุต ตรงกลางเจาะรูกลมๆขนาดพอให้หัวเม็ดเหรียงโผล่ออกไปได้ ตอกไม้ดังกล่าวลงบนดินนั่งป้อนเม็ดเหรียงเข้าช่องดังกล่าวและใช้มีดคอยสับปลายเม็ดที่ยื่นออกไปทางด้านตรงกันข้าม  ทำงานได้เร็วและปลอดภัยดีมาก จำได้ว่าไม่เคยมีอุบัติเหตุมีดบาดเพราะการทำงานนี้แม้แต่ครั้งเดียว  ตอนนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมจากการพูดคุยกับท่านครูบาสุทธินันท์และดร.แสวง เกิดแนวทางใหม่ๆให้ได้ลองอีกหลายอย่าง เช่นการขัด การต้มเม็ดเหรียงก่อนเพาะ ผมได้ตั้งโจทย์เพื่อการลองของไว้แล้ว 2-3 ข้อครับ

  1. เพาะเม็ดเหรียงให้ได้ผลเร็วที่สุดต้องทำอย่างไร
  2. ต้นกล้าเหรียงที่มีกิ่งเป็นสะตอทำได้หรือไม่ และทำอย่างไร
  3. ทำต้นเหรียงใหญ่ให้ออกฝักเป็นสะตอ ทำได้หรือไม่  ทำอย่างไร
  4. เมนูอาหารจากลูกเหรียงที่แปลกใหม่จากที่ทำๆกันอยู่ได้แก่อะไรบ้าง
  5. ฯลฯ

      ข่าวคืบหน้าจะนำมาบอกกล่าวเพิ่มเติมเมื่อถึงเวลาครับ


พร 3 ประการที่อ่านแล้วต้องสะดุ้ง

3 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 5 มีนาคม 2010 เวลา 7:33 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1103

     ผมกลับจากไปร่วมงานบุญ “ส่งตายาย” ที่บ้านเกิด อ.ไชยาเมื่อ 2-3 วันก่อนก็ได้เข้าไปอ่านพบข้อความในบันทึกหนึ่งของ “ป้าจุ๋ม” หรือ อ.สมพิศ  ไม้เรียง พี่สาวที่รัก-เคารพ เล่าเรื่องการไปร่วมงานบุญที่ ร่มธรรม สถานฝึกอบรม ปฏิบัติธรรมของ อ.ไร้กรอบ (ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ) และพูดถึงพร 3 ประการที่หลวงพ่อท่านให้ไว้  ผมอ่านปั๊บก็รู้ได้ทันทีว่า มันคืออะไร ที่ชอบใจมากก็ตรงที่หากตีความตื้นๆไปตามตัวอักษรแล้วล่ะก็ หลายคนอาจมองว่ามันน่าจะเป็นคำสาปแช่งมากกว่าพร  แต่ความจริงแล้วมันคือพรอันประเสริฐเลยทีเดียว

     ผ่านมาวันสองวัน ผมก็ได้นำไปถ่ายทอดต่อเพื่อก่อประโยชน์ให้กับคนคุ้นเคยอีกหลายคน  รวมทั้งการใช้พูดคุยกับคนป่วยที่ผมไปเยี่ยมมาที่ รพ.พระมงกุฏฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาด้วย  ผมเล่าเรื่องนี้ประกอบในการมอบหนังสือธรรมะเรื่อง เมื่อหมดทุกข์ก็พบสุข ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส  งานนี้ทำเอา พี่แมว คนป่วยที่ผมไปเยี่ยม หน้าตาสดใส และดูมีกำลังใจมากขึ้นเยอะเลย  ก่อนกลับยังขอจับมือผมไปแนบที่หน้าพร้อมกล่าวคำขอบคุณซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมก็เลยทวนซ้ำคำพรจากหลวงพ่ออีกรอบดังนี้ ..

  1. ขอจง อย่ามีอนาคต
  2. ขอให้ หมดเนื้อ หมดตัว
  3. ขอ อย่าให้ได้ผุดได้เกิด

    อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ .. แต่ที่อยากเตือนไว้ก็คือ อย่าเผลอใจร้อน รีบอวยพรใครแบบนี้ โดยไม่ดูตาม้าตาเรือนะครับ .. วิ่งหนีไม่ทันเดี๋ยวจะมาโทษกันว่าไม่เตือน .. แต่หากนึกตรึกตามดีๆ ก็จะพบว่านี่แหละคือสุดยอดคำพร ที่เราจะต้องทำให้ได้มากยิ่งๆขึ้นทุกวัน

   ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จครับ


เราเลือกได้

2 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 5 มีนาคม 2010 เวลา 7:32 (เช้า) ในหมวดหมู่ ธรรม #
อ่าน: 1367

     ผมห่างหายไปนับเดือน  ไม่มีโอกาสเข้ามาอ่านมาเขียนเนื่องจากสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมันหนักหน่วงเอาการอยู่ไม่น้อย งูจงอางหนึ่งตัว และงูเห่าอีกหนึ่งตัวที่ผมอุ้มมา มันขบกัดและพ่นพิษใส่ครับ ตัวแรกมันกัดอย่างจงใจ ตัวที่สองกัดแบบไม่ตั้งใจ แต่ผลร้ายๆในทางโลก ทางวัตถุนั้นพอๆกัน  เวลาที่ผมเสียไปส่วนใหญ่ในระยะหลังก็เพื่อจัดการชำระสะสางให้ทุกอย่างลงตัวมีความปกติสุข และหวังจะได้ คิด ทำ พูด เขียน อะไรๆที่ให้ประโยชน์แก่ผู้คนอีกครั้งในเร็วๆนี้ 

    แม้สิ่งที่ได้รับเปรียบดัง Tsunami ผสม Tornado แต่มองในมุมบวก มันเป็นโอกาสพิสูจน์อะไรหลายอย่าง ที่สำคัญที่สุดคือพิสูจน์ว่าเราสอบผ่าน คือไม่ต้องบ้า ฆ่าตัวตาย หรือฆ่าคนตายอย่างที่เขาเป็นเขาทำกัน .. ผมกินได้ นอนหลับ สบายใจ ไม่ทุกข์ ไม่กระวนกระวายใจ แม้ร่างกายต้องเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขปัญหาบรรดามี แต่ใจนี้ไม่ได้แกว่งตามจนเสียศูนย์  เชื่อว่าถ้า ท่านอาจารย์ ยังอยู่ และล่วงรู้ ท่านคงพูดว่า “ถูกต้อง - พอใจ” เป็นแน่

   ผมบันทึกเรื่องราวทุกฉากทุกตอนไว้ ทั้งในความทรงจำ เป็นภาพถ่าย และเป็นเอกสาร มากบ้างน้อยบ้าง ด้วยหวังจะใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอด ให้ความรู้แก่ผู้คนตามโอกาสที่เหมาะสมต่อไป .. อีกไม่นานน่าจะได้ค่อยๆปล่อยออกมาทีละเล็กละน้อยครับ

   สิ่งที่อยากจะฝากไว้ตรงนี้ก็คือ ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามาในชีวิต เราเองเลือกได้ครับที่จะ ทุกข์ หรือ ไม่ทุกข์ เคล็ดลับมีครับ บอกให้ก็ได้ว่า ..

  ” อย่าเผลอโง่ ไปคิดว่าสิ่งสมมุติที่เราสัมผัสอยู่นั้นนั้นเป็นความจริง ” และ ” อย่าไป แบก สิ่งที่ท่าน มี ใช้ และ เป็น .. ใช้สอย พึ่งพิง อิงอาศัยได้ แต่อย่าไปแบก

    เตือนสติตัวเองในแนวนี้บ่อยๆ และ ระลึกถึงความตาย ไว้สม่ำเสมอจะยิ่งดีครับ

    พูดถึงควาสุข ความทุกข์ ว่าเรานั้นเลือกได้ ก็ทำให้นึกถึงเรื่องราวที่กัลยาณมิตรผู้น้อง จากมหาสารคามส่งมาเป็น Forward mail น่าจะไปกันได้ดีกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น

   ลองอ่านดูสิครับ

  



Main: 1.6832311153412 sec
Sidebar: 0.88584899902344 sec