วิชา “ผักพูม”

โดย handyman เมื่อ 16 มีนาคม 2010 เวลา 6:36 (เช้า) ในหมวดหมู่ การเพาะปลูก #
อ่าน: 2494

   หมู่นี้ชีพจรลงเท้าครับ เดินทางไม่ได้หยุดหย่อนก่อนลงไปปักหลักอีกครั้งที่ไชยาบ้านเกิด

   ทุกครั้งที่อยู่ต่างจังหวัดผมจะนอนน้อยกว่าอยู่กทม. อาจเพราะอากาศที่บริสุทธิ์ก็ได้ ทำให้หลับได้สัก 4 ชั่วโมงก็อิ่มแล้ว  พอตื่นมาความคิดก็วนเวียนอยู่แต่เรื่องต้นไม้ใบหญ้าที่จะไปหามาปลูกในบริเวณและรอบๆที่บ้านเก่าเนื้อที่ราว 1 ไร่ ที่หลานได้เอาปาล์มน้ำมันไปลงไว้ 50-60 ต้นแล้ว

    คืนก่อนตื่นมาตอนตีสาม คิดวนเวียนอยู่กับเรื่องพืชผักที่ไชยาบ้านผมเรียก “ผักพูม” หรือบางถิ่นเรียก “หมากหมก” พืชผักหายากที่ผมชอบมากๆและไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสมานานแล้ว  ตอนเด็กๆแม่ชอบเอามามัดเป็นกำ โดยใช้ใบตะใคร้มัด  ต้มกะทิกินกับน้ำพริกกะปิ รสชาติสุดแสนอร่อยเลยล่ะครับ  ผมว่าจะอร่อยกว่ายอดเหลียง หรือ เขลียง ด้วยซ้ำไป  จึงตั้งความหวังไว้ในใจว่าจะต้องหามาปลูกให้จงได้ จะยากอย่างไรก็จะลองจนกว่าจะสำเร็จ  คิดแล้วก็อดไม่ได้จึงลุกขึ้นมา ใช้พี่ Goo ช่วยค้นหาโดย Search จาก คำว่า “ผักพูม” ได้ข้อมูลพียบเลยครับ  และแหล่งข้อมูลสำคัญดันมาเป็นคนกันเอง น้องบ่าวโสทรแห่งเมืองตรังนั่นเอง

   นี่คือส่วนหนึ่งของสิ่งที่ค้นมาได้ครับ

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.

ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 2 เมตรลำต้นสีเขียวกิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปยาวรีปลายแหลม  หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียมกว้างประมาณ 3 -7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง    ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง  ช่อหนึ่งมี 3-5
ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่ว กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด หรือใช้หัวตากให้แห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง  ราก(หัว)กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ 

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

(หมายเหตุ  :ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา) จะพบเห็นหมากหมก
ได้ตามบริเวณสายดมแนวเขตบ้าน  ปัจจุบันพบเห็นบ้างเฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

Source : http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

………………………………..

 หมากหมก   
 
ชื่อท้องถิ่น หมากหมก พูมสามง่าม ผักพูม 
ชื่อวงศ์ OPILOACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepionurus sylvestris Bl.
ลักษณะลำต้น เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ความสุง 4-5 ฟุต ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออกจากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน
ลักษณะใบ มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3-6 ใบ ใบยาวรีปลายแหลม หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อยใบกรอบเกรียม
ลักษณะดอก  ออกใต้ลำกิ่งระหว่างขั้วใบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง
ลักษณะผล   จะเปลี่ยนจากดอกมาเป็นผล ลักษณะและขนาดของผลคล้ายลูกเขลียง ช่อหนึ่งมี 3-5 ผล ผลอ่อนสีเขียว  ผลสุกสีแสด
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ผลอ่อน ผลแก่
ใช้เป็นอาหารประเภท ใช้ยอดและผลอ่อนแกงเลียง ส่วนผลแก่ใช้ต้มกินเล่น
รสชาติ แกมหวาน (ใบ) มัน (ผล)
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ด
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ที่ราบสูง ที่ราบน้ำไม่ขัง 
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ยอดเป็นตลอดปี ออกผลปลายฤดูฝน
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้หัวสดกินดิบ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลัง หรือใช้หัวตากแล้วบดเป็น

ผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายก้อยกินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง
ราก กินดิบๆ หรือต้ม เป็นยาบำรุงกำลัง กระตุ้นความกำหนัด เห็นผลทันตา
ทั้งต้น แก้โรคไต โรคนิ่ง ขับปัสสาวะ

Source :

http://www.tungsong.com/NakhonSri/vegetable/group_3/3_16.html

…………………………

เขียนโดย sothorn เมื่อ 11 กันยายน, 2009 - 12:12 Tags:
         
พืชผักหมักหมก หมากหมก
     ต้นไม้ชนิดนี้จะชื่อ หมักหมก หรือหมากหมก เท่าที่ค้นดูชื่อที่ถูกต้องเห็นจะเป็น “หมากหมก”  แต่ผมเรียก “หมักหมก” มาตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ประทับใจหมักหมกมาตั้งแต่เด็กคือ คือความอร่อยของแกงเลียงหมักหมก ซึ่งเอาผักเหมียงมาแลกก็ไม่ยอม จริงๆ ครับ เพราะถ้าเอาหมักหมกมาแกงเลียง จะอร่อยกว่าผักเหมียงเป็นไหนๆ  แต่หมักหมกไม่ได้ปลูกง่ายอย่างผักเหมียงนี่ซิครับ มันถึงหากินได้ยาก ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ ที่ได้กินอยู่ก็มันขึ้นเองตามธรรมชชาติ ผมพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ก็ต้องผมแพ้ไปยกหนึ่งแล้ว ว่าจะลองใหม่อีกซักยก ถึงแม้ว่าจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แต่มันเป็นพืชที่โตช้าเอามากถึงมากที่สุด

     พื้นที่บ้านผม 5 ไร่มีหมักหมกประมาณ 10 ต้นเห็นจะได้ ทั้งรักทั้งหวงเลยครับ เพราะปีหนึ่งจะได้กินแกงเลียงหมักหมกแค่ไม่กี่ครั้งเอง

      เนื้อหาทางวิชาการที่ผมค้นหารมาได้จาก http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.
 
ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร  ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  รูปยาวรีปลายแหลม   หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียม กว้างประมาณ 3 -7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง     ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง   ช่อหนึ่งมี 3-5
 ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
    ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด  หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง  ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว)  กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

หมายเหตุ: ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา)  จะพบเห็นหมากหมกได้
ตามบริเวณ สายดม แนวเขตบ้าน   ปัจจุบันพบเห็นบ้าง  เฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

Source : http://www.bansuanporpeang.com/node/348

……………………………

      ถึงเวลาได้ลองปลูก และได้ผลสำเร็จ-ล้มเหลวอย่างไร จะนำมาบอกกล่าวแน่นอนครับ

      ภาพถ่าย “จิ๊ก”มาจาก” Website บ้านสวนพอเพียง ของน้องบ่าว โสทร ครับ

Post to Twitter Post to Plurk Post to Yahoo Buzz Post to Delicious Post to Digg Post to Facebook Post to MySpace Post to Ping.fm Post to Reddit Post to StumbleUpon

« « Prev : วิชา เหรียง (2)

Next : จดหมาย ไม่ลับ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.058861017227173 sec
Sidebar: 0.020004987716675 sec