งานวิจัย “ถั่วๆ”

2 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 1 กันยายน 2010 เวลา 1:35 (เย็น) ในหมวดหมู่ การศึกษา, การเพาะปลูก #
อ่าน: 1848

    ทั้งที่ผมเป็นลูกชาวไร่ชาวนา  แต่ด้วยระบบการศึกษาที่ผิดพลาดมายาวนาน ทำให้ผมรู้เรื่องการทำไร่ ทำนา น้อยที่สุด แต่ดันไปรู้เรื่องไกลตัวที่หลายอย่างไม่ได้มีความหมายอะไรต่อชีวิตเลย 

    จำได้ว่าตอนอยู่ชั้น ป.7 เคยภูมิใจที่สามารถโม้ให้ใครต่อใครฟังได้ว่าดาวเทียมดวงไหนขนาดและน้ำหนักเท่าไร ไล่มาตั้งแต่ Sputnik ของรัสเซีย มาจน Echo-1 Echo-2 ฯลฯ ของอเมริกา  และเรื่องอะไรต่อมิอะไรที่ไกลตัว เช่นเรื่องดาวอังคาร  และบ้าถึงขนาดพยายามเปิดวิทยุ Short Wave ฟังการถ่ายทอดสดการส่งยานอวกาศจากแหลมเคเนดี้โน่นเลยทีเดียว ไม่เห็นภาพแค่ได้ฟังเสียงก็ยังดี

   มาถึงวันนี้ วันที่เหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตได้ผลักดันให้ผม “โชคดี” ได้มีโอกาสเซย์กู๊ดบายกับกทม.ที่ทนอยู่มากว่า 30 ปี กลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดอีกครั้งท่ามกลางความรัก ความอบอุ่น การยอมรับนับถือ และได้ใกล้ชิดธรรมชาติมากยิ่งขึ้น 

    ทุกวันผมเพลินกับการใช้เวลาอยู่กับดิน น้ำ หญ้า และแปลงพืชผักที่ปลูกไว้รอบๆบ้าน  ความตื่นเต้นเมื่อพบความไม่รู้เกิดขึ้นสม่ำเสมอ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งๆที่หลายอย่างควรรู้มาตั้งแต่ตอนเป็นเด็กแล้ว หลายครั้งหลายเรื่องจำเป็นต้องไปเที่ยวถามหาความรู้ ความจริงจากญาติๆ  ซึ่งก็ช่วยให้ค่อยๆหายโง่ไปทีละนิด 

   ความจริงถ้าระบบการศึกษาถูกต้อง  ตอนผมเรียนชั้นประถม ครูน่าจะได้จัดให้ผมได้สัมผัสกับงานที่พ่อแม่ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันมากกว่าที่เป็นมา  ทบทวนย้อนหลังแล้วดูเหมือน “ความรู้” คืออะไรบางอย่างที่แปลกใหม่และไกลตัว .. อนิจจา

   ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ผมต้องทำวิจัยแทบทุกวัน ตั้งสมมติฐานว่าอะไรน่าจะเป็นอย่างไร แล้วก็ทดลองพิสูจน์หาความจริง  โชคดีที่ไม่ต้องห่วงว่าจะเขียนบทที่หนึง สอง สาม สี่ ว่าอย่างไร ต้องเคาะย่อหน้ากี่ครั้งก็ไม่ต้องมาปวดหัวกับมัน ว่ากันเนื้อๆ ตรงๆ มีข้อค้นพบหลายเรื่องที่ทดๆเอาไว้ เพื่อจะได้นำมาบอกกล่าวตามเวลาที่มี

   เรื่องที่น่าตื่นเต้นวันนี้ มันเกี่ยวกับเรื่องของถั่วฝักยาวครับ 

    รอบบ้านเราปลูกถั่วฝักยาวไว้ค่อนข้างเยอะ แยกปลูกเดี่ยวๆก็มี ปลูกปนกับพืชอื่นเช่นถั่วพูก็มี ให้ไต่ขึ้นต้นไม้เก่าบ้าง ทำค้างแบบใช้ไม้ไผ่อันเดียวบ้าง  ขึงเชือกฟางให้เป็นที่เกาะเกี่ยวบ้าง ได้ผลผลิตออกมาได้กิน ได้แจก และนำไปทำบุญที่โรงครัววัดสวนโมกข์มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ 3-4 วันก่อน ตอนไปเยี่ยมท่านอาจารย์โพธิ์

   พูดถึงเมล็ดพันธุ์ถั่วหรือพืชตัวอื่นๆ ผมได้ยินมาว่าเมล็ดจะต้องแก่จัด และนำไปตากแห้งก่อนจึงค่อยนำมาเพาะปลูก ก็ทำตามนั้นเรื่อยมา  แต่ในใจก็สงสัย อยากลองอะไรที่ต่างออกไปด้วย  เพราะเห็นบ่อยมากที่เมล็ดสด ที่แก่จัด เมื่อได้ฝนได้น้ำ มันก็มีรากงอกออกมาได้ตั้งแต่อยู่ในฝัก ครั้นหล่นลงมาก็เจริญเป็นต้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ  ไม่ต้องตากแห้งก็ได้ แต่ก็เชื่อว่าที่เขาต้องตากแห้งก็เพื่อให้เก็บไว้ได้นานๆมากกว่า  อย่างไรก็ตามผมเชื่อสนิทใจว่า ถึงอย่างไรเมล็ดที่จะงอกได้ดี ต้องเป็นเมล็ดที่แก่จัดเท่านั้น  แล้ววันหนึ่งก็มีเหตุการณ์ให้ผมได้ลองทำสิ่งที่สวนทางกับความคิด  และผลที่ได้ออกมา เหลือเชื่อครับ

   ลองติดตามเรื่องราวย่อๆ และดูภาพไปตามลำดับซิครับ   คนอื่นคิดอย่างไรไม่ทราบได้  แต่ผมนั้น งง งง งง และ ยัง งง อยู่ครับ

 

08220820

นี่คือถั่วสองฝักจากต้นถั่วที่เราปลูก

 

0822082308220824

ฝักหนึ่งแก่จัด ได้น้ำฝนช่วย เปลือกเปื่อยยุ่ย เมล็ดมีรากงอกออกมาบ้างแล้ว

ส่วนอีกฝัก แก่แล้วแต่เปลือกยังไม่แห้งเหี่ยว เมล็ดยังสดและเต่งตึง

 

0822082508220832

ผมนำมาทดลองเพาะอย่างละ 10 หลุม หลุมละ 1 เม็ด

ในใจก็คิดไว้แล้วว่า ที่จะงอกงามขึ้นมาคงเป็นเมล็ดแก่ที่มีรากออกมาบ้างแล้ว

 

08220837

ทั้งสองชุดอยู่ติดๆกัน ในร่ม ให้น้ำวันละครั้งเท่าๆกัน

 

08300855

ผ่านมา 7 วัน มีต้นอ่อนจากเมล็ดที่ยังไม่แก่จัดโผล่พ้นดินขึ้นมาราว 1 นิ้ว 1 ต้น

 

08300856

ส่วนชุดที่เป็ดเมล็ดสมบูรณ์และมีรากออกมาบ้างแล้ว ยังไม่มีโผล่มาให้เห็น

 

08300909

เช้า 22 สค. 53 เลยทดลองเพาะผลหมากเม่าสดไว้40 กว่าต้น

 

08300928

ตอนแรกว่าจะติดตั้งเครื่องพ่นหมอกให้ให้น้ำอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด แต่แล้วก็เปลี่ยนใจ หันไปใช้วิธีที่เรียบง่าย เอาน้ำใส่ขวด และเจาะรูฝาบน ก็ใช้รดน้ำได้ ไม่ต้องมากเรื่อง

 

08311254-3

 บ่าย 2 โมง 54 นาทีของวันที่ 31 สค. 53

โผล่ขึ้นมาอีก 3 ต้น และกำลังแทรกดินขึ้นมาอีก 1

ส่วนหลุมที่เพาะด้วยเมล็ดที่เริ่มมีราก ยังไม่มีอะไรโผล่มาให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว

 


วิชา “ผักพูม”

1 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 16 มีนาคม 2010 เวลา 6:36 (เช้า) ในหมวดหมู่ การเพาะปลูก #
อ่าน: 2494

   หมู่นี้ชีพจรลงเท้าครับ เดินทางไม่ได้หยุดหย่อนก่อนลงไปปักหลักอีกครั้งที่ไชยาบ้านเกิด

   ทุกครั้งที่อยู่ต่างจังหวัดผมจะนอนน้อยกว่าอยู่กทม. อาจเพราะอากาศที่บริสุทธิ์ก็ได้ ทำให้หลับได้สัก 4 ชั่วโมงก็อิ่มแล้ว  พอตื่นมาความคิดก็วนเวียนอยู่แต่เรื่องต้นไม้ใบหญ้าที่จะไปหามาปลูกในบริเวณและรอบๆที่บ้านเก่าเนื้อที่ราว 1 ไร่ ที่หลานได้เอาปาล์มน้ำมันไปลงไว้ 50-60 ต้นแล้ว

    คืนก่อนตื่นมาตอนตีสาม คิดวนเวียนอยู่กับเรื่องพืชผักที่ไชยาบ้านผมเรียก “ผักพูม” หรือบางถิ่นเรียก “หมากหมก” พืชผักหายากที่ผมชอบมากๆและไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสมานานแล้ว  ตอนเด็กๆแม่ชอบเอามามัดเป็นกำ โดยใช้ใบตะใคร้มัด  ต้มกะทิกินกับน้ำพริกกะปิ รสชาติสุดแสนอร่อยเลยล่ะครับ  ผมว่าจะอร่อยกว่ายอดเหลียง หรือ เขลียง ด้วยซ้ำไป  จึงตั้งความหวังไว้ในใจว่าจะต้องหามาปลูกให้จงได้ จะยากอย่างไรก็จะลองจนกว่าจะสำเร็จ  คิดแล้วก็อดไม่ได้จึงลุกขึ้นมา ใช้พี่ Goo ช่วยค้นหาโดย Search จาก คำว่า “ผักพูม” ได้ข้อมูลพียบเลยครับ  และแหล่งข้อมูลสำคัญดันมาเป็นคนกันเอง น้องบ่าวโสทรแห่งเมืองตรังนั่นเอง

   นี่คือส่วนหนึ่งของสิ่งที่ค้นมาได้ครับ

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.

ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 2 เมตรลำต้นสีเขียวกิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปยาวรีปลายแหลม  หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียมกว้างประมาณ 3 -7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง    ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง  ช่อหนึ่งมี 3-5
ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่ว กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด หรือใช้หัวตากให้แห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง  ราก(หัว)กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ 

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

(หมายเหตุ  :ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา) จะพบเห็นหมากหมก
ได้ตามบริเวณสายดมแนวเขตบ้าน  ปัจจุบันพบเห็นบ้างเฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

Source : http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

………………………………..

 หมากหมก   
 
ชื่อท้องถิ่น หมากหมก พูมสามง่าม ผักพูม 
ชื่อวงศ์ OPILOACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepionurus sylvestris Bl.
ลักษณะลำต้น เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ความสุง 4-5 ฟุต ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออกจากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน
ลักษณะใบ มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3-6 ใบ ใบยาวรีปลายแหลม หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อยใบกรอบเกรียม
ลักษณะดอก  ออกใต้ลำกิ่งระหว่างขั้วใบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง
ลักษณะผล   จะเปลี่ยนจากดอกมาเป็นผล ลักษณะและขนาดของผลคล้ายลูกเขลียง ช่อหนึ่งมี 3-5 ผล ผลอ่อนสีเขียว  ผลสุกสีแสด
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ผลอ่อน ผลแก่
ใช้เป็นอาหารประเภท ใช้ยอดและผลอ่อนแกงเลียง ส่วนผลแก่ใช้ต้มกินเล่น
รสชาติ แกมหวาน (ใบ) มัน (ผล)
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ด
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ที่ราบสูง ที่ราบน้ำไม่ขัง 
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ยอดเป็นตลอดปี ออกผลปลายฤดูฝน
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้หัวสดกินดิบ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลัง หรือใช้หัวตากแล้วบดเป็น

ผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายก้อยกินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง
ราก กินดิบๆ หรือต้ม เป็นยาบำรุงกำลัง กระตุ้นความกำหนัด เห็นผลทันตา
ทั้งต้น แก้โรคไต โรคนิ่ง ขับปัสสาวะ

Source :

http://www.tungsong.com/NakhonSri/vegetable/group_3/3_16.html

…………………………

เขียนโดย sothorn เมื่อ 11 กันยายน, 2009 - 12:12 Tags:
         
พืชผักหมักหมก หมากหมก
     ต้นไม้ชนิดนี้จะชื่อ หมักหมก หรือหมากหมก เท่าที่ค้นดูชื่อที่ถูกต้องเห็นจะเป็น “หมากหมก”  แต่ผมเรียก “หมักหมก” มาตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ประทับใจหมักหมกมาตั้งแต่เด็กคือ คือความอร่อยของแกงเลียงหมักหมก ซึ่งเอาผักเหมียงมาแลกก็ไม่ยอม จริงๆ ครับ เพราะถ้าเอาหมักหมกมาแกงเลียง จะอร่อยกว่าผักเหมียงเป็นไหนๆ  แต่หมักหมกไม่ได้ปลูกง่ายอย่างผักเหมียงนี่ซิครับ มันถึงหากินได้ยาก ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ ที่ได้กินอยู่ก็มันขึ้นเองตามธรรมชชาติ ผมพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ก็ต้องผมแพ้ไปยกหนึ่งแล้ว ว่าจะลองใหม่อีกซักยก ถึงแม้ว่าจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แต่มันเป็นพืชที่โตช้าเอามากถึงมากที่สุด

     พื้นที่บ้านผม 5 ไร่มีหมักหมกประมาณ 10 ต้นเห็นจะได้ ทั้งรักทั้งหวงเลยครับ เพราะปีหนึ่งจะได้กินแกงเลียงหมักหมกแค่ไม่กี่ครั้งเอง

      เนื้อหาทางวิชาการที่ผมค้นหารมาได้จาก http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.
 
ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร  ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  รูปยาวรีปลายแหลม   หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียม กว้างประมาณ 3 -7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง     ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง   ช่อหนึ่งมี 3-5
 ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
    ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด  หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง  ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว)  กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

หมายเหตุ: ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา)  จะพบเห็นหมากหมกได้
ตามบริเวณ สายดม แนวเขตบ้าน   ปัจจุบันพบเห็นบ้าง  เฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

Source : http://www.bansuanporpeang.com/node/348

……………………………

      ถึงเวลาได้ลองปลูก และได้ผลสำเร็จ-ล้มเหลวอย่างไร จะนำมาบอกกล่าวแน่นอนครับ

      ภาพถ่าย “จิ๊ก”มาจาก” Website บ้านสวนพอเพียง ของน้องบ่าว โสทร ครับ


วิชา “เหรียง”

3 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 11 มีนาคม 2010 เวลา 6:42 (เช้า) ในหมวดหมู่ การเพาะปลูก #
อ่าน: 1584

 

   อีกไม่กี่วันผมก็จะอพยพกลับบ้านที่ไชยาแล้วครับ เพราะขนสัมภารกไปกองเป็นภูเขาไว้แล้ว หนึ่งในหลายงานที่อยากทำคือทำบ้านและบริเวณโดยรอบประมาณ 1 ไร่ให้เป็น ศูนย์การเรียนรู้  เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรก็ได้ที่จะทำให้ชีวิตมีความปกติสุขทั้งฝ่ายกายและจิตวิญญาณ .. ในใจก็ได้บรรจุเรื่อง “เหรียง” ไว้เป็นวิชาแรกๆแล้วครับ

 
   ตอนเด็กๆผมเคยมีหน้าที่สับเม็ดเหรียงเพื่อเตรียมเพาะ โดยใช้เครื่องมือง่ายๆที่พ่อทำให้ คือใช้ไม้ไผ่ขนาดประมาณ 1 นิ้ว ยาวราว 1 ฟุต ตรงกลางเจาะรูกลมๆขนาดพอให้หัวเม็ดเหรียงโผล่ออกไปได้ ตอกไม้ดังกล่าวลงบนดินนั่งป้อนเม็ดเหรียงเข้าช่องดังกล่าวและใช้มีดคอยสับปลายเม็ดที่ยื่นออกไปทางด้านตรงกันข้าม  ทำงานได้เร็วและปลอดภัยดีมาก จำได้ว่าไม่เคยมีอุบัติเหตุมีดบาดเพราะการทำงานนี้แม้แต่ครั้งเดียว  ตอนนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมจากการพูดคุยกับท่านครูบาสุทธินันท์และดร.แสวง เกิดแนวทางใหม่ๆให้ได้ลองอีกหลายอย่าง เช่นการขัด การต้มเม็ดเหรียงก่อนเพาะ ผมได้ตั้งโจทย์เพื่อการลองของไว้แล้ว 2-3 ข้อครับ

  1. เพาะเม็ดเหรียงให้ได้ผลเร็วที่สุดต้องทำอย่างไร
  2. ต้นกล้าเหรียงที่มีกิ่งเป็นสะตอทำได้หรือไม่ และทำอย่างไร
  3. ทำต้นเหรียงใหญ่ให้ออกฝักเป็นสะตอ ทำได้หรือไม่  ทำอย่างไร
  4. เมนูอาหารจากลูกเหรียงที่แปลกใหม่จากที่ทำๆกันอยู่ได้แก่อะไรบ้าง
  5. ฯลฯ

      ข่าวคืบหน้าจะนำมาบอกกล่าวเพิ่มเติมเมื่อถึงเวลาครับ



Main: 0.3226900100708 sec
Sidebar: 0.01844310760498 sec