สำเนาเรื่องการไปร่วมสัมมนาเรื่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง จาก “ลานเจ๊าะแจ๊ะ”

โดย handyman เมื่อ 7 สิงหาคม 2009 เวลา 2:42 (เย็น) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1306

    เนื่องจากที่ลานเจ๊าะแจ๊ะ  ผู้เข้าชมที่เป็นขาจร ไม่อาจดูได้สมบูรณ์ ครบถ้วน  ผมจึงถือว่า พลาดไปแล้วที่ใช้ที่ตรงนั้นระดมความคิด ประสบการณ์ จากพี่น้องชาว ลานปัญญา  น่าจะวางไว้ในส่วน ลานหญ้าปากคอกตั้งแต่แรก .. รีบและง่วง ก็เลยพลาดครับ .. ไม่เป็นไรครับ  “ผิดเป็นครู” .. อิ อิ อิ

    นั่นคือที่มาว่าทำไมต้อง Copy มาวางไว้ตรงนี้อีก  ท่านที่จะช่วยเติมต่อ แบ่งปันความคิด ประสบการณ์ ก็เชิญบรรเลงได้เลย ท้ายบันทึกนี้ครับ  ที่ Copy มาทั้งตัวบันทึก และ Comment ก็เพื่อจะได้เห็นทั้งหมดในที่เดียวครับ

     เช้านี้ตื่นมาตั้งแต่ตีสาม กลัวจะลืมโน่นลืมนี่และไปไม่ทันขึ้นรถตามเวลานัด คือ 6.30 น. เพื่อเดินทางไปร่วมกิจกรรมสัมมนาที่กาญจนบุรี กับทีมงานคณะศึกษาศาสตร์ มรภ.จันทรเกษม เป็นกลุ่มนักศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา อันประกอบด้วยผู้บริหารระดับต่างๆจากโรงเรียนในกทม.และปริมณฑล รุ่นนี้เป็นรุ่น 6 ครับ

     เรื่องที่เป็น Theme ของงานนี้คือ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีความหมายและความสำคัญเพียงใดต่อการพัฒนางานและพัฒนาองค์กรในยุคปัจจุบัน

     สิ่งที่จะร้องขอแบบเร่งด่วน และหวังจะได้ใช้นำเสนอเป็นส่วนเสริมในการประชุมวันนี้ และพรุ่งนี้ได้แก่ แง่คิด มุมมอง ความรู้หรือประสบการณ์ตรงที่แต่ละท่านมีต่อสิ่งที่เรียกว่า ” Change ” และ ” Change Management ” ครับ

      สั้นๆ ยาวๆไม่สำคัญครับ กรุณานำเสนอในส่วนแสดงความคิดเห็นท้ายบันทึกนี้ได้เลย ยิ่งมากและหลากหลายเท่าไรก็ยิ่งดีครับ สิ่งที่ช่วยกันต่อเติมตรงนี้ นอกจะจะเป็นวิทยาทานแก่ผู้เข้าสัมมนาแล้ว จะยังคงเป็นร่องรอยให้ได้ใช้ประโยชน์ในวงกว้างต่อไป ในบ้าน ลานปัญญา ของพวกเรา
      ช่วยกันหน่อยนะครับ เพื่อพิสูจน์ว่าแม้เวลามีเพียงน้อยนิด ความรู้ ความคิดจากใจพวกเรา สามารถไหลมาปรากฏให้ใช้ประโยชน์ได้ ด้วยพลังของเทคโนโลยี และที่สำคัญ จากใจของผู้ที่มี “สุขจากการให้” เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจในการดำเนินชีวิต  อย่างพวกเรา

     เชิญได้เลยครับ .. ผมต้องรีบแต่งตัวไปขึ้นรถแล้ว

                       ขอบคุณครับ
อิ อิ อิ

Comments

  • #1 ป้าหวาน 7 สิงหาคม 2009 8:55 | # | แก้ไข ขอเสนอแนะค่ะ
    สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ เปิดใจผู้ร่วม ผู้รับค่ะ
    การปูพื้นฐานนำสู่เรื่องที่กำลังเสนอนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย
    ทำอย่างไรให้ผู้ร่วมสัมนารู้สึกว่าเรื่องนี้คือส่วนหนึ่งของตน ยอมเป็นเนื้อเดียวกับเรื่องที่จะดำเนินต่อไปค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
  • #2 sutthinun 7 สิงหาคม 2009 11:09 | # | แก้ไข ส่งการบ้านไว้ที่ลานสวนป่าให้แล้วนะครับ อิอิ
  • #3 Panda 7 สิงหาคม 2009 11:45 | # | แก้ไข การเปลี่ยนแปลง จะสำเร็จหรือเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มที่ การเปิดใจ ที่นำไปสู่การ เรียนรู้ ยอมรับ เคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนที่เท่าเทียม
    มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน มีความไว้วางใจกัน ทำให้สามารถก้าวข้ามสู่การเปิดเผยไว้วางใจกัน
    มีการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติ
    เรียนรู้ด้วยใจ มีสติอยู่ตลอดเวลา นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างศานติสุข ที่ยั่งยืนในที่สุด
    อ่านเพิ่มเติมที่ สัมผัสจิตตปัญญาศึกษา ครับ….ไม่ใช่ความคิดของผมแต่ชอบครับ
    ที่ …. http://gotoknow.org/blog/phyto/172759
  • #4 handyman 7 สิงหาคม 2009 11:46 | # | แก้ไข ขอบพระคุณมากครับ ทั้ง #1 ป้าหวาน และท่านครูบาสุทธินันท์ และท่านอาแปะ Panda
    ใครจะตามไปอ่านที่ลานสวนป่า ให้ไปเข้าไปอ่านเรื่อง … ตอบการบ้านพระอาจารย์ HANDY
  • #5 sutthinun 7 สิงหาคม 2009 12:38 | # | แก้ไข ครูสมัยนี้ จำเป็นต้องมีตัวช่วย
    ตัวช่วยที่ดีที่สุดก็คือ..ระบบไอทีทางการศึกษา
    แต่ก็หาครูที่จะเข้าใจ เข้าถึงเรื่องนี้น้อยมาก
    เมื่อเข้าไม่ถึง ก็รู้แค่หางอึ่ง อานุภาพการใช้เทคโลโลยีทางการศึกษาจึงน้อยมาก
    เรื่องนี้นับว่าน่าเสียดายยิ่งนัก
    รัฐบาลลงทุนลงแรงเรื่องนี้ไว้มาก
    สมมุติว่าลงทุนไป 100 บาท แต่มีการใช้ประโยชน์แค่ 2-3 บาท
    แล้วก็มานั่งบ่นนโยบายทางการศึกษา
    ไม่ได้มองตัวเองว่า สามารถผนึกกำลังระหว่าง “ครูคน” เข้ากับ “ครูเครื่อง” ได้แล้วหรือยังขอให้สนุกกับการอบรมครูนะครับ
    อิ อิ
  • #6 จันทรรัตน์ 7 สิงหาคม 2009 13:18 | # | แก้ไข ส่งการบ้านไว้ในลานอุ๊ยจั๋นตานะคะลงวอร์ดมาเที่ยงครึ่ง ทำการบ้านครึ่งชั่วโมง ก่อนไปสอนต่อบ่ายโมงครึ่ง…อิอิ
  • #7 handyman 7 สิงหาคม 2009 13:34 | # | แก้ไข ขอบคุณครับอุ๊ย
    เริมภาคบ่ายแล้ว ตอนแรกเขาจะให้ผมว่าเลย ตอนหลังพัก แต่เห็นว่ายังโกลาหลกันเรื่องเข้าห้องพัก และบางกลุ่มก็สนใจวิชาเสริม “อัญมณี” ก็เลยคงพูดตอนบ่ายแก่ๆดีฝ่า
    ขอบคุณ และ อิ อิ อิ ครับ

Post to Twitter Post to Plurk Post to Yahoo Buzz Post to Delicious Post to Digg Post to Facebook Post to MySpace Post to Ping.fm Post to Reddit Post to StumbleUpon

« « Prev : ชีวิตใหม่ กับมะรุม

Next : ULEM ภาคพิเศษ สำหรับชาวเฮฯ/ชาวลานฯ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 เวลา 4:59 (เย็น)

    อ๋อย จะมาทันมั้ยเนี่ย วันนี้ทำ km ทั้งวันเลยน่ะค่ะ แต่ยังไงก็ขอร่วมวงด้วยคน
    การเปลี่ยนแปลงจะมี 2 คำพื้นฐานที่เกี่ยวข้องคือปัญหา และโอกาส
    ปัญหามีทั้งสิ่งที่อยู่ในอดีตคือความคับข้องต่างๆจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่อยู่ในปัจจุบันด้วยเหตุจากกำลังจะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดปัญหา
    ส่วนโอกาสคือโอกาสในการลองสิ่งใหม่ๆ โอกาสในการคว้าจับที่รวดเร็วและทันกาล โอกาสที่จะได้ปรับตัว ปรับองค์กร โอกาสที่จะสร้างแรงกระตุ้นใหม่ๆในใจ
    ที่อยากชวนดูคือเมื่อไรก็ตามที่องค์กรราบรื่น ไม่มีปัญหาเมื่อนั้นจะไม่ค่อยมีความคิดแบบ Creative เกิดขึ้นมากนัก แทบจะต้องเค้นกันเลยล่ะค่ะ แต่เมื่อใดที่องค์กรเผชิญปัญหา หรือความท้าทายใหม่ๆที่บีบคั้นและต้องทำเพื่อความอยู่รอดขององค์กร เมื่อนั้น Creative Thinking เพิ่มพูนมากกว่าปกติหลายเท่า เหมือนดีแทคที่เผชิญกับการลดลงของต้นทุน แต้มต่อทางการตลาดจนจวนเจียนจะไป แต่ได้มิสเตอร์แฮปปี้มาช่วยไว้ จนขึ้นมาแย่งส่วนแบ่งตลาดมือถือไปได้อย่างน่าชม

    ดังนั้น CM จึงเป็นโอกาสในการสนุกกับภาวะผู้นำ การหยิบปัญหามาพิจารณา การให้อำนาจ การสร้างทีม ฯลฯ และทักษะที่จำเป็นคือรู้ประเด็นที่จะเปลี่ยนแปลง(ย้อนไปรู้จักตัวเองจริงๆก่อนว่าเรามีอะไรบ้าง) รู้ว่าเมื่อเปลี่ยนแล้วจะเกิดผลอะไร(สามารถคาดเดาได้ว่าถ้าทำอย่างน้แล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้างทั้งคน องค์กร งาน ต้นทุน ไปสัมพันธ์กับใคร อย่างไร) เมื่อรู้(คาด)ได้ว่าจะเกิดอะไรบ้างถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจึงมาถึงอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลง และถึงเวลาที่ต้องนำ EQ หรือทุก Q ที่องค์กรมีมาร่วมด้วยช่วยกันให้รอด เมื่อมีการลงขันความคิด ความทุกข์ที่เป้นความรู้สึกร่วมกันจึงนำไปสู่ความเป้นเจ้าของการเปลี่ยนแปลง

    ในการพูดคุยเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ควรเป็นการพูดคุยแนวราบ ที่ทุกคนเท่ากัน พูดกันบ่อยๆ วันนี้อาจเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่เป็นไร ค่อยๆพูด ค่อยๆจากันไปเรื่อยๆด้วยความเป็นพี่น้อง เป็นเพื่อนร่วมงาน คุยกันด้วยความจริงใจ คุยเพื่อให้เข้าใจ”ความคิด”ที่อยู่ข้างใน ไม่ใช่คุยเพื่อเข้าใจ “กิจกรรม” ที่จะทำนะคะพี่แฮนดี้ ที่ผ่านมาการประชุมต่างๆพังเพราะคุยกันเรื่องกิจกรรมนี่แหละ

    ถ้าเรามองไปที่ความคิดของคนอื่น พยายามเข้าใจกันและกันว่าที่เขาทำแบบนั้นมีความคิดอะไรอยู่ข้างหลัง เราจะคุยกันได้ง่ายขึ้น ภาษาเหนือเปิ้นฮอ้งว่าดูกำกึ๊ดว่าเปิ้นกึ๊ดอะหยัง

    ยกตัวอย่างดีกว่าค่ะ การไปดูงานส่วนมากเราจะไปดูว่าเขาทำอะไร มีกิจกรรม กิจการอะไรบ้าง แต่เราลืมดูว่าเบื้องหลังการกระทำ กิจกรรมนั้น เขาคิดอะไรเขาถึงทำ มีหมู่บ้านหนึ่งที่เขาใช้หลัก 1 เดียว มีรถกระบะก็มีคันเดียว ทำนาก็มีนาเดียว ไม่ได้แบ่งแยกว่าส่วนนี้นาฉัน ส่วนนั้นนาเธอ เมื่อถึงเวลาทำนาต่างคนต่างก็ช่วยกันลงพื้นที่นาของหมู่บ้าน เมื่อถึงเวลาเก้บเกี่ยวก็ลงไปเกี่ยวมาไว้กิน ไม่เห็นมีใครห้ามหวงว่านี่นาฉัน …อะไรทำให้ทั้งหมู่บ้านคิดแบบนั้น เขาคิดอะไรถึงเกิดการกระทำแบบนี้ นี่แหละค่ะคือการเข้าใจ”กำกึ๊ด” ของกำเมืองวันละกำ

    การเปลี่ยนแปลงก็เช่นเดียวกัน คำว่าการเปลี่ยนแปลงจึงมี 2 คำที่เกี่ยวข้องอย่างที่เบิร์ดเล่าไปแล้วคือปัญหาและโอกาส ซึ่งทั้ง 2 คำล้วนต้องการการจัดการที่แม่นยำ เข้าใจว่าเปลี่ยนเพื่ออะไร เปลื่ยนแล้วไปไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง และจะเปลี่ยนแบบมีส่วนร่วมกันได้อย่างไร โดยการเข้าใจ”กำกึ๊ด” อย่างแท้จริงไม่ใช่ตามแห่

    คิดรวบๆได้แค่นี้ก่อนค่ะพี่แฮนดี้ ถ้ามีความคืบหน้าจะมาป่วนต่อ

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 เวลา 8:31 (เย็น)

    เพิ่งมาเห็นครับ
    เป็นหัวข้อที่น่าสนใจที่สุด ผมเองขออนุญาติใช้มุมมองจากงานที่ทำนะครับ มีทัศนะบางเรื่องต่อหัวข้อนี้อย่างนี้ครับ

    เปลี่ยนมุมมอง: อะไรที่เคยชินนั้นบางทีคิดไม่ออกว่าจะส้รางสรรค์ใหม่ๆที่ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะรู้ว่าที่ว่าดีดีนั้นดูเหมือนติดหมดแล้ว ทำหมดแล้ว แต่ผมมีประสบการณ์ว่า ลูกน้องมักวิจารณ์นาย  และนายก็มักด่าลูกน้อง หากเข้าไปตีสนิททั้งสองฝ่ายเราก็รู้ว่ามีเหตุผลทั้งคู่ นายคิดแบบนาย ภายใต้สิ่งแวดล้อมนาย ลูกน้องก็คิดแบบของเขาภายใต้เงื่อนไขของเขา  ผมเคยเป็นลูกน้องและก้าวขึ้นมาเป็นลูกพี่ หลายอย่างจึงรู้ว่า อ้อที่ลูกพี่คนก่อนๆคิดแบบนั้นน่ะ เพราะเงื่อนไขแบบนั้น เมื่อประสบการณ์สอนเช่นนี้จึง คิดว่าเป็นไปได้ไหมที่ให้นายลงมาคลุกคลีกับลูกน้อง ในเงื่อนไขต่างๆ โอกาสต่างๆแบบถอดหน้ากากออกมา และอยู่บ่อยๆ นานๆ ก็น่าที่จะเรียนรู้ความคิดและเหตุผลของลูกน้องได้ดีมากขึ้นที่จะนั่งวิเคราะห์ข้างบน หรือประชุมแล้วก็เปิดอกกัน  แต่รูปแบบประชุมนั้นไม่เคยเอาความจริงทั้งหมดมาพูดหรอกครับ  หากจัด WS (workshop) จะเป็นแแบบ dialogue หรือ แบบไหนๆก็ตารม ผมก็ว่าจะดีมากขึ้น แต่ที่ดีที่สุดคือลงไปคลุกกับเขาจริงๆในระยะเวลาที่นานพอสมควรตามโอกาสต่างๆ แล้วจะเข้าใจเขา จากนั้นก็เอาข้อเท็จจริงนั้นมาพัฒนาจุดบกพร่อง จุดอ่อน เพิ่มเติมส่วนที่ขาด ปรับส่วนที่เกิน ซึ่ง ผมลองทำดูแล้ว ได้ผลเกินคาดครับ มันมิใช่ได้มุมมองใหม่ๆ แต่ความสัมพันธ์ ได้มากที่สุด ความเข้าใจต่อกัน สายสัมพันธ์นี้จะเข้ามาโดยอัตโนมัติมากกว่าแค่เป็นนายกับลูกน้อง…  ความเห็นนี้เป็นหลักการนะครับ องค์กรใดๆเอาแนวคิดไปดัดแปลงตามความเหมาะสมเถิด

  • #3 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 สิงหาคม 2009 เวลา 9:20 (เย็น)

    ขอบคุณครับ
    - น้องหมอเบิร์ดที่รัก — ตรงใจโดนมากและคงเอื้อประโยชน์ให้สมาชิกที่มา และบุคคลทั่วไปได้มากทีเดียว
    - ท่านพี่บู๊ท บางทราย .. ดีจังครับ กลี่นมาจากของจริงที่เจอ นำเสนอเป็นหลักการ จับหลักได้ โอกาสนำไปปรับใช้ย่อมอยู่แค่เอื้อม
    พรุ่งนี้เช้า้จะหาโอกาส ชี้บอกเพิ่มเติมให้เข้ามาอ่านกัน
    ขอบคุณอีกครั้งครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.1232578754425 sec
Sidebar: 0.021125078201294 sec