เมื่อผมกับ ดร.เม้ง คุยกันใหม่ๆ
อ่าน: 1210ดร.เม้ง เขาเรียกผม “พี่บ่าว” และผมก็เรียกเขา “น้องบ่าว” จนชินแล้ว เรารู้สึกใกล้ชิดกันมากทั้งๆที่จนบัดนี้ ยังไม่เคยเจอตัวเป็นๆกันเลย นัดกินข้าวต้มก็หลายครั้ง แต่แห้วทุกที และที่อยากบันทึกไว้ตรงนี้อีกเรื่องคือ เมื่อคุณแม่ผมเสีย และผมแจ้งข่าวขึ้น Blog ที่ Gotoknow โทรศัพท์แสดงความเสียใจสายแรกที่ผมได้รับเป็นโทรทางไกลจากเยอรมันครับ ก็จากน้องบ่าวสุดที่รัก ดร.เม้งคนเดียวกันนี่แหละ
วันนี้ย้อนรอยไปอ่านบันทึกเก่าๆ ได้พบกับข้อเขียน ความคิด ความเห็นที่เราแลกเปลี่ยนกันในระยะแรกๆ จึงอยากนำมาตัดต่อและบันทึกไว้ให้เห็นง่ายๆที่ตรงนี้ครับ จะมีคุณค่าอย่างไร หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการมองของแต่ละคน สำหรับผม มันมีค่ามากครับ .. ตอนนั้น ดร.เม้ง ยังเรียกผม “คุณ Handy” อยู่เลย
เชิญติดตามครับ …
จากบันทึกของผมเรื่อง “ เพิ่มความเร็วอย่างเหลือเชื่อ ในการคูณเลขสองหลักด้วย 11” ดร.เม้งมาเริ่มคุยด้วยการบอกว่า ..
…
กราบสวัสดี คุณแฮนดี้ครับ
ผมก็คนหนึ่งที่ชอบคณิตศาสตร์ครับ และรู้สึกดีครับ ที่มีการหยิบยกตัวอย่างทางคณิตศาสตร์ ซึ่งนำมาใช้ในประจำวันได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคณิตศาสตร์หรือภาษามันก็เป็นเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น ล้วนมาจากสาขาปรัชญาทั้งสิ้น แต่พอเราเรียนลงลึกแล้วแยกสาขาลงไปจนเห็นความแตกต่างระหว่างสาขาที่แยกลงไปเลยกลับกลายไปว่ามีหลายๆ อย่างจนต้องชอบหรือไม่ชอบวิชาต่างๆตามมา จริงๆแล้วหากเรารู้ว่าในโลกนี้มีความรู้มากมาย แล้วที่เรียนมานำไปประยุกต์ใช้อย่างไร เรียนเรื่องนี้นำไปใช้ในส่วนใด แต่ละเรื่องเกี่ยวกับรอบตัวอย่างไร ก็จะเห็นความสำคัญขึ้นมาทำให้ตอนเรียนน่าสนใจ น่าติดตามและศึกษาก่อนที่อาจารย์สอนเพราะสนใจเป็นพิเศษ ดังนั้นหากเรามีคนแนะนำ โดยนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอนหรือหยิบยกอะไรบางอย่างให้เด็กเห็น เด็กๆ ก็จะจำเป็นภาพ เป็นการประยุกต์ การจำสิ่งรอบข้างทำให้เชื่อมโยงกับความคิดในบทเรียน นั่นคือเรื่องเดียวกัน
อย่างคณิตศาสตร์ แต่ละเรื่องแต่ละบทก็เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเราทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าเราจะเชื่อมต่อมันเข้ากันได้อย่าง เพราะตอนนี้มันแปลงมาอยู่ในรูปสัญลักษณ์และสมการแล้ว ซึ่งหากเราอ่านสมการและสัญลักษณ์นั้นได้เข้าใจ ก็ไม่ต่างไรกับการอ่านบทความทางภาษาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์นั่นเอง และในทางกลับกันบทความทางภาษาศาสตร์หรือทางสัมคมศาสตร์ก็แปลงให้อยู่ในรูปคณิตศาสตร์ได้เช่นกันครับ
ผมอยากให้เด็กไทยอยากเรียนคณิตศาสตร์และก็ชอบภาษาและสังคมด้วย เพราะมันคือเรื่องเดียวกัน
ขอบคุณครับผม
สมพร
จากนั้นผมก็ไปตอบแกว่า …
…
แล้ว ดร.เม้งก็มาต่ออีกครั้งว่า …
สวัสดีครับ
ผมก็เป็นนักคณิตศาสตร์ผสมกับคอมพิวเตอร์ รวมๆกัน เหมือนจะเป็นคณิตศาสตร์ประยุกต์ และทำวิจัยเกี่ยวกับการเกษตร ต้นไม้อะไรพวกนี้ครับ มันจะเป็นการงงของคนที่ถามคำถามอยู่เสมอว่า คณิตศาสตร์กับเกษตรมันเกี่ยวกันได้อย่างไร ไว้ผมจะค่อยเขียนไว้นะครับ ให้ลองหาความสัมพันธ์กันเล่นๆ ดูครับ ในบล็อก มิสเตอร์ช่วย นาย สมพร ช่วยอารีย์ ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วคณิตศาสตร์เอาไปใช้ได้ทุกๆสาขาเลยครับ
ขอบคุณครับ
สมพร
เรื่องต่างๆก็คืบหน้าไปจนเราได้คุยกันทั้งทาง Blog ทางโทรศัพท์ และทาง Skype ในบางครั้ง และจนกระทั่งวันหนึ่งขณะผมกำลังขับรถอยู่แถววงศ์สว่าง น้องบ่าวคนนี้ก็โทรทางไกลจากเยอรมันมาขออนุญาตใช้ชื่อ Blog “ลานปัญญา” ของผม ไปเปิด Web ที่ชื่อ lanpanya.com และผมได้ตอบ OK ไปด้วยความยินดียิ่ง .. ก็ ลานปัญญา ของพวกเรานี่แหละครับ
ขอบคุณน้องบ่าว ดร.เม้ง มากครับ
…. อิ อิ อิ
« « Prev : การบันทึกข้อมูลการทำงานเชิงช่างลงสมุดบันทึก
Next : รำลึกเรื่องราวคราวเดินทางไปส่งแม่ » »
3 ความคิดเห็น
อมยิ้มกับที่มาของชื่อลานปัญญาจากเจ้าของชื่อที่โดนใจทุกคน ซึ่งตอนนั้นทราบว่าเป็นมติเอกฉันท์แบบไม่มีเสียงค้านเลยล่ะค่ะ (ผู้นำเสนอญัตติคือพี่อึ่งอ๊อบ อิอิอิ) และชื่อนี้ถือเป็นนามมงคลเสียด้วยสิคะพี่แฮนดี้ …ขอลงท้ายแบบอาม่าว่า ของเขาดีจริงๆ ^ ^
เมื่อไหร่จะได้พบกันหนอ อีตาเม้ง น้องเม้ง เม้งเทอร์โบ เม้งเยอรมัน เสียงเม้ง เม้ง เหมือนระฆังในภาคเหนือ เวลาพระตี ชาวบ้านจะออกเสียง เม้ง เม้ง… ชื่อนี้ใกล้ธรรมเข้าไปอีกหน่อย อิอิ
สวัสดีครับพี่บ่าว
ขอบคุณมากๆ นะครับ สำหรับการย้อนกลับไปมองที่มาของความสัมพันธ์ที่ดีครับ หลายๆ อย่างที่ดีๆ เกิดขึ้นเพราะความตั้งใจดีต่อกันครับ สานต่อสิ่งดีๆ ร่วมกันจนออกดอกออกผลตามบริบทครับ ผมดีใจที่ได้เจอพี่ ได้พูดคุย การเจอกันเป็นเรื่องดีครับ วันหนึ่งก็คงได้พูดคุยกันมากขึ้นครับ ช่องทางการสื่อสารมีมากมายเลยนะครับ เพียงแต่หากเราใช้แต่ละช่องทางในการสื่อสารกันอย่างจริงใจและสานต่อร่วมกันก็จะเป็นเรื่องที่ดีต่อเนื่องก็จะนำมาสู่อะไรๆ อีกหลายๆ อย่างครับ
ผมได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจากพี่และสมาชิกหลายๆ ท่าน ตั้งแต่โกฯ มาถึงลานฯ ครับ
ขอบพระคุณมากๆ เลยนะครับ