ราคาที่ต้องจ่าย

โดย freemind เมื่อ 4 กันยายน 2010 เวลา 11:56 (เช้า) ในหมวดหมู่ เรื่องเรื่อยเปี่อยตามอารมณ์ #
อ่าน: 2176

:-|

บางครั้งคราที่รู้สึกเหมือนเป็น คนนอก รู้สึกไม่กลมกลืนกับวัฒนธรรมในบางแห่งบางสถานที่ขึ้นมาอย่างไม่รู้นื้อรู้ตัวนี่ ให้สงสัยตัวเองว่า…เพราะอะไร?

เป็นเพราะเราพูดคนละเรื่องกับคนส่วนใหญ่นั้นหรือเปล่า หรือ

เราคิดไม่เหมือนใคร ๆ หรือ

เราทำสิ่งที่แตกต่างจากที่เขาทำกัน หรือ

เรา…….

แล้ว… จำเป็นที่เราจะต้องพูด คิด ทำให้เหมือน พยายามกลมกลืนด้วยการพูด คิดทำอย่างคนอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้สึกเช่นนั้น เพียงเพื่อจะได้รู้สึก เป็น พวกเดียวกัน เป็น คนใน ด้วยหรือ?

๑๑๑๑ลองถามตัวเองหลาย ๆ คำถาม ตอบหลาย ๆ ที ก็ได้คำตอบเหมือนกันนะ… ได้มากมายตามแต่ ความคิด (ที่ถูกบ้างผิดบ้าง) จะพาไปนั่นแหละ แต่สรุปได้จริง ๆ ว่าต้นเหตุที่เรารู้สึกไม่กลมกลืน รู้สึกเป็น คนนอก นั้น มีเพียงคำเดียวเอง….

…ก็ ตัวเรา นั่นไง…

ใช่แล้ว…หากรู้สึกไม่กลมกลืน/เป็นคนนอก แล้วอยากรู้สึกอยากกลมกลืน/เป็นคนใน หรือเปล่าล่ะ

ถ้าไม่อยาก…ก็ เป็นอย่างนี้แหละ ยอมรับและเข้าใจในสภาพและความรู้สึกที่ต้องเป็นคนนอกนั้น

ถ้าอยาก… ก็ พยายามลด ตัวเรา ลงบ้าง เพราะโลกนี้อยู่ไม่ได้โดยตัวเรา เราล้วนต้องพึ่งพากันทั้งคน สัตว์ ต้นไม้…

บางทีความ”โดดเีีดี่ยว“อาจเป็น”ราคา“ที่ต้องจ่ายสำหรับความรู้สึก”ไม่กลมกลืน”ก็ได้นะ

;-)

« « Prev : คนสอนคน

Next : เธอไม่เหมือนเดิม » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

9 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 กันยายน 2010 เวลา 9:31 (เย็น)

    ประัเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ครับ และจะมีมากขึ้นในสังคมใที่ห่างกันสุดโต่งมากขึ้น

    ท่าน อดีต คณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ หมาวอทยาลัยเชียงใหม่ สมัย พ.ศ. 2512 ดร.อำนวย ทะพิงค์แก และท่านเป็นผู้ร่วมก่อตรั้งมหาวิทยาลัยพายัพ ท่านกล่าวว่า สังคมอเมริกันสมัยที่ท่านไปอยู่นั้น มีลักษณะ เหมือนคนนอก ไปอาศัยอยู่ และส่งผลให้เกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง โรคนั้นระบาดไปทั่วโลกที่เป็นสังคมธุรกิจ ทุน และการแข่งขันกันสุดๆ โรคนั้นก็คือ “ความเหงาหงอยท่ามกลางฝูงชน” ดูเหมือนว่าท่าน ดร.อำนวยจะจบมาทางจิตวิทยาทางการศึกษาอะไรทำนองนี้ และเฝ้าสังเกตสังคมไทยตามเมืองใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ….. นี่เป็นภาพหนึ่งของลักษณะ “คนนอก” อยู่ในสังคมนั้นแต่ดูเหมือนเป็นคนนอก เข้ากันไม่ได้ ฝืนๆ ปรับตัวเป็นแบบนั้นไม่ได้ หรือยาก….

    ท่าน ดร. มรว.อคิน รพีพัฒน์ พระอาจารย์ที่พี่เคารพรักยิ่ง มีคนให้สมญานามท่านว่า “เจ้าที่ทำตัวเป็นไพร่” เพราะท่านมีเชื้อสายพระวงค์ทางสมเด็จพระนางเจ้าฯ ท่านเรียนมาทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ท่านทำปริญญานิพนธ์ปริญญาโทเรื่องสังคมไทยยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (หากผิดเพี้ยนขออภัย) ท่านกล่าวว่า อาจารย์ที่ปรึกษาท่านที่ อ๊อกฟอร์ด โยนวิทยานิพนธ์ของท่านทิ้ง 9 ครั้ง ให้ไปทำใหม่ ท่านกล่าวว่า หากเป็นคนอื่นคงเลิกเรียนไปแล้ว แต่ท่านคิดตรงข้ามทุกครั้งที่อาจารย์โยนทิ้ง ได้แง่คิดใหม่เสมอ และพบว่า ปริญญานิพนธ์ปริญญาโทของท่านนั้นโด่งดังมากกว่าปริญญาเอก มีคนอ้างอิงมากที่สุด หลังจากนั้นท่านมาทำปริญญาเอกเรื่องสลัม นี่เองท่านเขียนเรื่อง “คนนอก คนใน” ดูเหมือน ดร.ปริตตา กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างชื่นชมมากๆ

    ท่านทำปริญญษนิพนธ์เรื่องสลัมทำให้ท่านต้องลดตัวท่านไปเป็นคนสลัม ดูเหมือน นักวิชาการทางด้านสังคมวิทยามานุษยวิทยาจะประพฤติแบบนี้ทั่วไปหมด หลายคนแต่งงานกับชนเผ่าไปเลย ใช่ มากาเร็ต มีดส์หรือเปล่า หนอ ผิดขออภัย และที่พี่รู้จักชาวดัตช์ก็มาแต่งงานกับ อาข่าที่เชียงรายเพื่อมาทำปริญญานิพนธ์ปริญญาเอก พูดอาข่าได้เลย

    พี่้เองก็ต้องลงไปคลุกคลักับชาวบ้านมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตามเงื่อนไขของเราที่พอจะดัดแปลงตัวเองให้มากที่สุด เช่น กินกับเขา นั่งเท่าเทียมกับเขา ราวมงานในวิถีของเขา เรียนรู้เขาทั้งภายนอกและภายใน ทั้งหมดเพื่อ เข้าใจด้านลึกของเขานั่นเอง ประเด็นคนนอกคนในที่แหละที่พี่วิภาคระบบราชการว่า ไม่สามารถทำงานพัฒนาชนบทได้ื เพราะไม่มี sense ด้านนี้ หรือมีก็เข้าไม่ถึงชาวบ้านในด้านลึกเพราะเงื่อนไขของระเบียบ กฏ มากมาย เช่นมี 8.30-16.30 มีเสาร์ อาทิตย์ แต่นักพัฒนาอิสระไม่มีเงื่อนไขตรงนั้น ยกเว้นข้าราชการบางท่านเท่านั้นที่ทำดีมากๆ

    คนนอกคนในนั้นมีความหมายมากกกกกกก ในแง่การเข้าใจกันและกัน ในแง่ของพี่ พี่ต้องพยายามทำตัวเป็นคนใน(ชุมชน)ให้มากที่สุด แต่ไม่สามารถเป็นได้ทั้งตัวหรอก เพื่อคุยกับเขาได้ เขารับเราและเปิดอกกับเรา เราเข้าใจคำพูดเขา สำนวนทางภาษา ความหมายทางภาษา ซึ่งเรื่องภาษานั้นลึกซึ้งมาก ผิดพลาดมามากแล้ว คนนอกไปสัมภาษณ์ชาวบ้านแล้วไปตีความหมายผิดๆเพราะไม่เข้าใจทั้งคำพูด และความหมายที่เป็นสำนวนเฉพสะชนเผ่า ท้องถิ่น มีเรื่องเล่าทางนี้มากมาย

    แต่การทำตัวเป็นคนในไม่ได้หมายความว่าเราจะกลายเป็นเขาไปหมด เราก็เป็นเรา เพียงเราเข้าใจเขามากขึ้นเมื่อเราพยายามทำตัวเป็นคนใน แต่ นายบางทรายจะคิดแบบชาวบ้านไปทั้งหมด ไม่ใช่ และไม่มีทางใช่ เพียงแต่เราอธิบายได้ว่า ชาวบ้านเป็นอย่างไร คำพูดหมายถึงอะไร การกระทำของเขาบ่งบอกอะไร ฯลฯ นี่คือความหมายที่เราพยายามเป็นคนในครับน้องสาว…

    พี่เคยเขียนบันทึกเรื่องคนสองโลก อธิบายสั้นๆว่า พี่เองพักในเมือง แต่ทำงานกับชนบท วิ่งเข้าออกเมืองกับชนบท อยู่กับแสงสี เดี๋ยวก็ประชุมชาวบ้านจนถึงเที่ยงคืน จุดตะเกียงคุยกัน กินข้าวกับผักต้ม พอกลับมาในเมืองอยู่ห้องแอร์ อยากกินอะไรก็ซื้อเอา แต่คิดไปเป็นคนสามโลกมากกว่า คือ อีกโลกคือโลกจินตนาการ ที่อยากให้สังคมเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากให้ชนบทเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากให้ชาวบ้านปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงกันทั้งหมด …ฯลฯ

    ในบริบทที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งที่พี่ใช้ทัศนะ คนนอกคนในมาจับตลอด และสอนน้องร่วมงานว่าต้องเรียนรู้และฝึกอย่างนี้ มิเช่นนั้นเราก็เป็นคนนอกตลอดเอาแต่ความคิดเราไปบอกกล่าวเขาทั้งหมด แม้ว่าความคิดเราจะถูก แต่การที่ชาวบ้านรับฟังเขาก็ชั่งว่า ความรู้ที่ได้มานั้น เหมาะสมกับเขามากน้อยแค่ไหน เขาทำได้แค่ไหน เงื่อนไขของเขาเป็นเช่นไร ปรับเอาความรู้ไปทำได้เทเ่าที่เงื่อนไขครอบครัวเขามีอยู่

    ไม่แน่ในว่าจะแลกเปลี่ยนในมุมมนี้จะได้อะไรบ้างก็ไม่รู้ อิอิ

  • #2 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 กันยายน 2010 เวลา 7:40 (เช้า)

    อยากจะแสดงความคิดเรื่องนี้ค่ะ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไป ใกล้ตัวทุกๆคน
    ทั้งนี้บางเรื่องแม้เรามีความคิดเห็นเราก็ยังมองว่าเราเป็นคนนอกเรื่องนั้นเลย 5555

    ขอบพระคุณคอมเม้นต์ของพี่บางทรายนะคะ ป้าหวานได้ศึกษาด้วยอีกคน

    เรื่องคนนอก..ในความหมายในบันทึกนี้อยู่ในใจเรา
    เราเป็นคนคิดนะคะ แต่..บางสถานการณ์เป็นอีกเรื่องคือไม่ใช่เราเป็นคนคิด
    คงคุยได้ยาว…แต่วันนี้มีเวลานิดเดียวค่ะ ขอให้ความเห็นไว้พอหอมปากหอมคอ…

    ป้าหวานมองว่า เราเป็นผู้เลือกคิด และเลือกทำ ในทุกกรณี
    สิ่งที่เราพบ สิ่งที่เกี่ยวข้อง สื่งที่กระทบ
    เราเลือกได้ว่าจะตอบสนองเช่นไร
    หลักเกณฑ์ของแต่ละคนต่างกันไป รายละเอียดของแต่ละเรื่อง ต่างกันไป
    ดีที่สุดของเรา อาจไม่ใช่ดีที่สุดของอีกคน

    ต้องรีบไปทำงาน..ขอติดไว้ก่อนนะคะ

  • #3 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 กันยายน 2010 เวลา 12:52 (เย็น)

    ขอบคุณพี่บางทรายและป้าหวานมาก ๆ ค่ะ
    เป็นคอมเม้นท์ที่่ทำให้ยิ้ม ๆ ๆ และได้ข้อคิด รวมทั้งความรู้สึกดี ๆ อย่างบอกไม่ถูกค่ะ (^___^)

    ข้อคิดและข้อมูลที่พี่บางทรายกรุณานำมาบอกเล่าทำให้ได้เห็นหลายมุม และเป็นมุมที่เป็นประโยชน์กับการทำงานวิจัย และคาดว่าจะเป็นมุมมองที่ดีของงานในอนาคตด้วย

    ท่านอ.อคิน รพีพัฒน์ และมากาเร็ต มี้ด นี้ คนทีเ่รียนด้านวัฒนธรรมและต้องคลุกคลีกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ/การลงพื้นที่ภาคสนาม ต้องรู้จักค่ะ และในทัศนะเรื่องของการเป็น “คนนอก-คนใน” เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งต้องมีการตีความ/แปลความในฐานะคนนอก/คนใน(วัฒนธรรม)

    น้องเองถูกตั้งคำถามว่ารู้จักทุกแง่ทุกมุมในสิ่งที่ศึกษาหรือไม่ (ขณะนี้ศึกษาเรื่องของ “ชาวอโศก”) พอนำเสนอ/ความก้าวหน้า มักถูกถามว่า ทำเรื่องนี้แล้ว กินเจ ถือศีล ใส่เสื้อผ้าสีน้ำเงิน เสียสละ เข้าใจหลักธรรมะเหมือนชาวอโศกไหม…ฟังแรก ๆ เบื่อหน่ายมาก เพราะคนถามตามใจ ถามแล้วก็ไม่ฟังคำตอบ และยังถามซ้ำ ๆ (ไม่รู้จะถามทำไม เมื่อไม่ฟังคำตอบ) ยิ่งการทำดุษฎีนิพนธ์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งในสาขาวิชาที่น้องเรียนไม่ค่อยมีคนทำ (โดยมากเป็นการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณมากกว่า) การทำงานและทำความเข้าใจยิ่งยากเป็นหลายเท่า ยิ่งทำหัวข้อที่เกี่ยวกับ “กลุ่มชาวอโศก” ซึ่งต้องยอมรับว่า “แตกต่าง” และ “สุดโต่ง” ในสายตาของสังคมแล้ว ทำให้ต้องฝ่าแรงเสียดทานที่สาหัสมากกกกกก….

    เคยคิดในใจ ในบางครั้งว่า…เลือกทำไอ้ที่ง่าย ๆ เป็นที่ยอมรับ ๆ กันในสังคม จะได้จบ ๆ ไป ไม่ดีกว่าหรือไม่ต้องเหนื่อยยากกับแรงเสียดทานที่พบอยู่…(หาเรื่องจริง ๆ) แต่เมื่อเลือกตัดสินใจแล้ว ก็จะเดินหน้าเท่านั้น ไม่มีวันถอยหลัง ไม่ว่าจะทำได้ดีหรือไม่แค่ไหน เสียความเป็นตัวของตัวเองอย่างไร… ไม่มีวันถอยหลัง ค่ะ

    มาถึงประเด็นที่พี่บางทรายกล่าวไว้ว่าเราเข้าใจเขาแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเขาก็ได้นั้น ตามหลักการ/ทบ.แล้ว การเข้าใจโดยไม่ใช่เขานั่นแหละ จะทำให้เรามอง วิเคราะห์ แยกแยะ สังเคราะห์ และวิพากษ์เขาได้ง่าย เกิดประโยชน์มากกว่าด้วยค่ะ และถึงอย่างไร น้องก็คงไม่สามารถมีศีล ลดละเลิก เสียสละได้เท่าชาวอโศก และไม่มีวันจะงดเนื้อสัตว์ได้ตลอดไป และยังชอบเสื้อผ้าหลาย ๆ สีที่ไม่เพียงสีน้ำเงิน ยังมีกิเลส และรักความสุขสบายเท่าที่ตนมีอยู่ดี…ฮา ๆ แต่คิดว่าตัวเองก็ทำประโยชน์ในตนเอง สังคม ได้ในระดับหนึ่งเช่นกันค่ะ

    สำหรับข้อคิดเห็นของป้าหวาน น้องขอบพระคุณและรู้สึกตรงใจ …
    “…ป้าหวานมองว่า เราเป็นผู้เลือกคิด และเลือกทำ ในทุกกรณี
    สิ่งที่เราพบ สิ่งที่เกี่ยวข้อง สื่งที่กระทบ
    เราเลือกได้ว่าจะตอบสนองเช่นไร
    หลักเกณฑ์ของแต่ละคนต่างกันไป รายละเอียดของแต่ละเรื่อง ต่างกันไป
    ดีที่สุดของเรา อาจไม่ใช่ดีที่สุดของอีกคน…”

    ขอบพระคุณทั้งสองท่านมากค่ะ
    ;)

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 กันยายน 2010 เวลา 7:52 (เย็น)

    พี่เองคิดว่า ความแตกต่างมากๆ เช่นฝรั่งชาวดัช กับ ชาวเขาอาข่า ในความคิดเห็นพี่คิดว่าเป็นเผ่าพันธุ์ที่ต่างกันมากมากกว่าคนไทยกับชาวเขา ความต่างทำให้มีปัญหามากกว่าในการเข้าถึง เข้าใจ อาข่าได้มากที่สุด เขาอาจจะจำเป็นที่จะต้องทำทุกทางที่เข้าใกล้มากที่สุด บังเอิญเขาเลือกการแต่งงานให้เป็นคนใน แม้กระนั้นพี่ก็ยังคิดว่า เขาเป็นคนในไม่ครบร้อยเปอร์เซนต์ เพราะการนับถือ God ของเขา และรากเหง้าของเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทั้งหมด

    ถามว่าจำเป็นไหม พี่คิดว่าไม่จำเป็นต้องร้อยเปอร์เซนต์ เพียงแต่เราสร้างความสนิทสนมกับเขาและทำให้เขาเปิดกับเราได้ทุกเรื่อง ก็มากที่สุดแล้ว พี่รู้จักสตรีอีกคนเป็นชาวดัชเหมือนกันมาทำปริญญาเอกเรื่องชนเผ่าปกากญอที่ห้วยขาแข้ง บังเอิญช่วงนั้นพี่ไปทำงานที่นั่น และเขาจบแล้วและกลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ มาคุมโครงการที่พี่นำอยู่ เขาก็เป็นนักมานุษยวิทยาที่ดีคนหนึ่ง พูดภาษาปกากญอได้ และมีความเข้าใจวัฒนธรรมบ้านเรามากกว่าฝรั่งอีกหลายคน

    ชุมชนอโศกนั้น แรกๆพี่ไม่ชอบเพราะตามประวัติท่านสมณแล้วไม่ประทับใจ ต่อมาพี่กลับเปลี่ยนใจและศรัทธาท่านและชุมชนอโศกมาก สมัยหนึ่งที่พี่ไปศึกษาลัทธิสังคมนิยม( 14 ตุลา) เราสนใจระบบคอมมูน ที่ปลดเปลื้องพันทนาการต่างๆของสังคมทุนนิยม และสนใจที่จะให้สังวคมไทยก้าวไปสู่จุดนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราเรียนรู้อะไรมากขึ้น เราก้พบว่า ชุมชนอโศกนี่แหละคือรูปแบบคอมมูนอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ

    พี่ไม่รู้จักด้านลึกมากเพราะไม่เคยเรียนรู้ รู้เพียงผิวเผินเท่านั้น แต่จากมุมมองข้างนอกศรัทธา พี่คิดว่าเขาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งของสังคมที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่สนใจ ดีครับที่สังคมมีทางเลือก และน่าที่จะมีทางเลือกชุมชนแบบอื่นๆอีกที่ลักษณะอุดมการณ์เหมือนกัน ใกล้เคียงกันไปรวมกันอยู่ด้วยกัน มีระบบจัดการมีการผลิตรวมหมู่ ฯลฯ โดยมีคำสอนทางศาสนาเป็นฐานของแรงเกาะเกี่ยว (social or group cohesion) โดยมีสมณะเป็นเสมือน เป็น Facilitator ทำหน้าที่กล่ิอมเกลาอุดมการณ์และกระตุ้นให้จิตปรับตัวให้สอดคล้องกับกติกาของชุมชนนี้ ช่วงเวลาที่ผ่านมาพี่ว่าเขาประสบผลสำเร็จนะครับ และศรัทธา เห็นด้วยและสนับสนุน

    สังคมน่าจะมีทางเลือกแบบอื่นๆอีก เช่น คอนดักเตอร์(คอน) เองก็พูดบ่อยๆว่า กลุ่มเฮฮาศาสตร์นี้น่าจะมีหมู่บ้านของกลุ่ม และเขาเองก็ยังตระเวนหาแหล่ง
    ที่เหมาะสมสำหรับริเริ่มสร้างชุมชนคนแซ่เฮ

    พี่เคยมีโอกาสไปดูงานที่เดนมาร์ค เขาพาไปดูชุมชนที่รวมกันเพราะเขาต้องการพึ่งตนเองให้มากที่สุด เขาทำงานในเมือง แต่ไปซื้อที่ดินเล็กๆปลูกบ้านแถบชานเมืองที่ต้องการลดการใช้พลังงานทุกอย่าง หรือใช้พลังงานทดแทน เช่นร่วมกันสร้างกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าเอง ใช้กันเองในชุมชนเหลือขายให้รัฐ เขาบอกว่ามีกลุ่มแบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ล้วนเป็นคนมีการศึกษาสูงทั้งนั้น

    ในอนาคตสังคมอาจจะหันไปทางนี้มากขึ้นก้ได้ เพราะรัฐไม่สามารถจัดการความต้องการพื้นฐานให้แก่ประชาชนได้ ก็รวมกลุ่มกันไปสร้างในสิ่งที่กลุ่มเห็นร่วมกัน และศาสนาอาจไม่ใช่แรงเกาะเกี่ยวเช่นอโศก แต่อาจจะมีสิ่งอื่นมาเป็นแรงเกาะเกี่ยวแทน เช่นมีผู้นำที่สร้างความศรัทธาในตัวคนนั้นอย่างสูงและมี Follower อะไรทำนองนั้น เช่น หากอาจารย์ Suma Ching Hai ของกลุ่มปฏิบัติธรรมของพี่ หากท่านมาสร้างบ้านในไทย และเปิดโอกาสให้สานุศิืษย์ไปรวมได้ ก็อาจเกิดชุมชน Suma Ching Hai

    การเป็นกลุ่มแบบนี้ คนในกลุ่มก็อาจจะเรียก “คนใน” เพราะมีอุดมการณ์เหมือนกัน

    นี่ก็เป็นมุมมองหนึ่งนะครับ

  • #5 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 กันยายน 2010 เวลา 7:54 (เย็น)

    เป็นงานศึกษาที่น่าสนใจมากครับ เพราะเป็นชุมชนในอุดมการณ์ และอุดมการณ์แบบนี้เป็นอุดมการณ์ที่สร้างชุมชนที่มีประโยชน์แก่สังคมโลกในหลายๆด้านด้วย ไม่แน่อนาคตพี่อาจจะเข้าไปอยู่ในนั้นก็ได้ อิอิ

  • #6 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 กันยายน 2010 เวลา 9:26 (เช้า)

    ตามมาเรียนอีกค่ะ ขอบพระคุณพี่บางทรายและน้องfreemind ที่ให้ความรู้เพิ่ม ความเข้าใจเพิ่ม สมมุติถ้ามีหมู่บ้านเฮ เราคงได้พบกันที่นั่นแม้จะนานๆครั้งหรือไปไม่-มา ไม่พร้อมกันก็ตาม..เราจะเจอเงาของกันและกัน แต่มีหรือไม่ก็เป็นภายหน้า แต่ขณะนี้ เราได้พบกันแล้ว แม้มาไม่พร้อมกัน มาแล้วไม่เจอตรงนี้ก็ฝากกอดไว้ได้…ขอบคุณทั้ง 2 ท่านค่ะ ขอบคุณลานปัญญาและชาวเฮฮาศาสตร์

  • #7 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 กันยายน 2010 เวลา 10:46 (เช้า)

    อ่านคอมเม้นท์ที่มีข้อมูลดี ๆ ของพี่บางทรายตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว แต่เร่งงานอื่น จึงไม่ได้ตอบเพราะเกิดความคิดขึ้นอีกเยอะหลังอ่านคอมเม้นท์พี่จบ จนต้องหยุดไว้ก่อน เพราะต้องทำงานอื่น ไม่งั้นไม่เสร็จงานที่ตั้งใจไว้ค่ะ

    “ทางเลือกของสังคม” เป็นประเด็นใหญ่ที่น้องทำงานวิจัยเรื่องนี้ค่ะ แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวส่วนเล็ก ๆ เพราะหัวข้อที่ศึกษาคือ “การพัฒนารูปแบบกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองอย่างพอเพียงและยั่งยืนสำหรับครูภูมิปัญญาไทย” โดยศึกษากรณีของครูภูมิปัญญาไทย 3 ท่าน(ชาวอโศกทั้งสามท่าน)ค่ะ

    งานวิจัยเล็ก ๆ คงเป็นเพียงแบบฝึกหัดให้นิสิตได้เรียนรู้และผ่านกระบวนการทำงานวิจัยด้วยตนเอง… หัวข้อไม่ตรงใจ ไม่ได้อย่างที่อยากทำ แต่น้องจำต้องยอมรับข้อจำกัดบางประการ และความต้ัองการของคณาจารย์ด้วยค่ะ จบแล้วอาจได้ทำงานที่ขยายไปกว่านี้…

    หากมีเวลาพี่คงเ่ล่าเรื่องของกลุ่มปฏิบัติธรรม ชุมชน Suma Ching Hai บ้างนะคะ

    ป้าหวานคะ
    ดีใจที่ป้าหวานชอบและมาร่วมคุย/ให้ข้อคิดกับสิ่งที่เล่านี้ค่ะ เรื่องยุ่ง ๆ ของพวกนิสิต(โข่ง) แต่มิตรภาพและความรู้สึกดี ๆ ของชาวเฮฮาศาสตร์ที่นี่ ทำให้เรามีความสุขร่วมกันในการเรียนรู้…จริงไหมคะ

    ขอบคุณพี่ทั้งสองท่านค่ะ

  • #8 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 กันยายน 2010 เวลา 1:00 (เย็น)

    มาเรียนด้วยคนค่ะ

  • #9 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 กันยายน 2010 เวลา 9:07 (เย็น)

    พี่สร้อยคะ

    น้องอยากเจอพี่บางทรายจริง ๆ คงได้ชวนคุยไม่หยุด เพราะพี่บางทรายมีความรู้มากมายและเป็นความรู้สด ๆ ของจริงจากการทำงานในพื้นที่ ซึ่งสำหรับน้องแล้วมีน้อยมาก

    ไว้เชิญพี่บางทรายทำบทเรียนออนไลน์ “มุมมอง/ยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบท” หรืออะไรทำนองนี้ ดีกว่านะคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.55711984634399 sec
Sidebar: 0.051594972610474 sec