คลี่-คลาย

โดย freemind เมื่อ 20 สิงหาคม 2010 เวลา 10:10 (เช้า) ในหมวดหมู่ เรื่องเรื่อยเปี่อยตามอารมณ์ #
อ่าน: 2220

8-O

คิดอย่างเด็ก ทำอย่างผู้ใหญ่

โชค บุลกุล

@@@@

เรื่องราวที่พบเจอในระยะนี้ ทำให้คิดถึงประสบการณ์บางอย่างในวัยเด็ก ด้วยว่าเป็นลูกที่ไม่เคยถูกพ่อแม่ตี มากที่สุดคือการคาดโทษ พี่ ๆ ชอบล้อว่าก็เป็น ลูกหลง มาในขณะที่พี่ ๆ โตกันหมดแล้ว พ่อแม่เลยรักมากเป็นพิเศษ เป็นเด็กเส้นของพ่อแม่มาตั้งแต่เกิด(จนแก่ป่านนี้) ว่างั้นเถอะ

@@@การเป็นลูกคนเล็กที่หลงมาของครอบครัวนั้น ส่งผลให้นอกจากเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองต้องคอยดูว่าพี่ ๆ เขาทำอย่างไร พูดอย่างไร และต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้อยู่ได้ในกลุ่มพี่ ๆ ที่โตกว่าและมีความสนใจต่างจากเรา บางทีโลกของ ลูกหลง ก็ว้าเหว่เหมือนกัน เกิดความไม่มั่นใจและต้องการสร้างโลกส่วนตัว จึงกลายไปเป็นหัวหน้าแก็งค์ในเด็กรุ่นเดียวกันในครอบครัว (หลาน ๆ ซึ่งเป็นลูกของพี่คนโต ๆ ที่แต่งงานแล้ว) บทบาทหัวหน้าแก็งค์ต้องเป็นผู้ที่เข้มแข็งและสามารถปกป้อง สรุปรวมเลยทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกปนสับสน บางทีก็ไม่มั่นใจไปเสียทุกอย่าง แต่บางครั้งก็ห้าวหาญเด็ดขาดอย่างไม่ค่อยมีเหตุมีผล (เลยชอบทะเลาะกับตัวเองเป็นประจำ)

@@@ที่เล่าเช่นนี้เพราะคิด/รู้สึกเองว่าหากเรา ยอมรับตัวเอง (อาจไม่ถูกต้องเพราะเป็นความคิด-ความรู้สึกส่วนตัว) เราจะพัฒนาต่อไปยังเส้นทางที่ควรเป็นได้ ไม่ติดแหง็กอยู่กับ ปมในชีวิต การคลายปมในชีวิตสำคัญมาก และจะว่าไปแล้วก็ไม่ยากจนเกินกำลัง แต่ก็ไม่ง่ายนัก…

@@@เรื่องที่ว่าไม่ยากเพราะ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีศักยภาพอันมหัศจรรย์ รู้คิด รู้แก้ รู้กัน ไตร่ตรองใคร่ครวญเป็น หาเหตุผลได้ มีอัตภาพที่เหมาะกับการเรียนรู้และพัฒนาได้ (ต่างจากสัตว์โลกบางชนิดที่ไม่มีอัตภาพในส่วนนี้) นั่นก็คือหากมุ่งมั่นตั้งใจอยากเปลี่ยน อยากพัฒนาก็จะทำได้

@@@ส่วนที่ว่าไม่ง่ายนักเพราะขึ้นชื่อว่ามนุษย์ล้วนวนเวียนอยู่ในโลกธรรม กิเลส ตัณหา อุปทาน อวิชชาที่ครอบคลุมจิตอยู่ ทำให้แม้รู้ แม้เห็น แต่ก็ยังยากที่ ตระหนัก ได้ว่าควรจัดการอย่างไรกับชีวิต

@@@ส่วนตัวเรียนรู้การแก้ ปมชีวิตเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เพราะมีเพื่อนบอกว่าเป็น คนแปลก เดาใจยาก เข้าถึงยาก ดูเหมือนเข้ากับเพื่อน ๆ ได้ง่าย แต่หลายครั้งก็ปิดตัวเองจนเข้าไม่ถึง การถูกประเมินจากเพื่อน ๆ ทำให้เกิด คำถามกับตัวเอง หากเลือกตอบง่าย ๆ แค่ว่า ก็เราเป็นแบบนี้ชีวิตก็คงเป็นรูปแบบหนึ่ง หากถามต่อว่า ที่เพื่อนพูดนั้นจริงหรือ เพราะอะไร ชีวิตก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง

…การตั้งคำถามกับตัวอย่างอย่างมีคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับการเป็นไปของชีวิต…

@@@ เคยรังเกียจและไม่ชอบใจกับการเป็น ลูกหลง/ลูกคนเล็ก แต่ความจริงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว กลับได้เห็นข้อดีอีกมากมาย … อย่างน้อยเราก็ยังคงความเป็นเด็กอยู่ได้แม้ในวัยที่คนอื่นเป็นน้า เป็นป้า เป็นคุณยายคุณย่า (ฮา) และที่ไม่เคยถูกทำโทษใด ๆ จากพ่อแม่เลย ก็ด้วยการเรียนรู้ที่จะ เฉย นิ่ง เงียบ พี่ชายให้นิยามว่าเป็นพวก น้ำเซาะหิน นั่นคือ ไม่เถียงเสียงดัง ไม่เอาชนะคะคานกับใคร แต่ไม่เคยลดละในสิ่งที่ตัวเองคิดและเชื่อ แล้วที่ตลก ๆ ก็คือ ก็มักจะได้ตามที่คิดที่เชื่อนั้นเสียด้วย (พ่อแม่และพี่ ๆ คงเอือมเลยปล่อยมันไป…)

บางทีนะ บางที…หากเราต้องการชนะหรือได้ในสิ่งที่ต้องการ อาจไม่ต้องใช้กำลังใด ๆ มากไปกว่าความมุ่งมั่น (ในสิ่งที่คิดแล้วว่าใช่ว่าถูก) อย่างอ่อนน้อมถ่อมตนให้มากพอ…ก็ได้

๑๑๑

๑๑๑๑การคลี่/การคลายปมในชีวิต เป็นกระบวนการที่ส่วนตัวใช้เป็นประจำเมื่อมีสิ่งที่รู้สึกไม่สบายใจ ไม่พึงพอใจ หรือมีปัญหา และพบว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้ดีสำหรับตัวเอง เราทุกคนจึงน่าจะมี วิธีการส่วนตัวในการจัดการกับ ปมชีวิต ของตัวเอง (แม้ปัญหาเหมือนกัน แต่วิธีการแก้ปัญหาของคนหนึ่งอาจใช้ไม่ได้กับอีกคนหนึ่ง-ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับใคร ต้องค้นหาที่เหมาะกับเราเอง) การตระหนักเพื่อคลี่และคลายปมชีวิตของตัวเองนี้ ยังส่งผลให้เราได้เข้าใจด้วยว่า คนอื่น ๆ รายรอบตัวเรา ที่บางครั้งเราไม่เข้าใจในความคิด คำพูด และการกระทำของเขาเลยนี่… เขาก็มีปมชีวิตเช่นเดียวกันกับเรา และอาจจะกำลังทำการคลี่และคลายปมชีวิตอยู่เหมือนกัน…ก็เป็นได้

๑๑๑ งั้น…เรามาคิดแบบเด็ก สนุก ๆ ไม่ยากไม่เครียด สร้างสรรค์แบบไม่ติดกรอบ แต่ทำงานและใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ ที่รู้เหตุ เข้าใจผล รับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมคนรอบข้างกันดังที่ คุณโชค บุลกุล กล่าวไว้กันดีกว่านะคะ

๑๑๑

อืม…พอคลี่และคลายปมออกบ้างแล้ว (แม้ยังเหลืออยู่บ้าง)

ชีวิตก็มีความสงบสุข ผ่อนคลายมากขึ้นจริง ๆ

;-)

« « Prev : ว่าด้วย…นิทาน

Next : เวลา-ความคิด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "คลี่-คลาย"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.11710500717163 sec
Sidebar: 0.059922933578491 sec