เคล็ดลับดับทุกข์

โดย freemind เมื่อ 15 สิงหาคม 2010 เวลา 11:00 (เช้า) ในหมวดหมู่ ปรัชญา แนวคิด ชีวิต #
อ่าน: 2680

@

@@@หลายวันที่ผ่านมาได้รับบทเรียนของ ความทุกข์หลายบท ทั้งจากเรื่องส่วนตัวที่ทำงานไม่ค่อยได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจ ทั้งความทุกข์ของเพื่อน ความทุกข์ของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เจ็บป่วยและไม่สามารถช่วยเหลือท่านได้

๑๑๑ ส่วนตัวยอมรับและตระหนักถึงความจริงที่ว่า ความทุกข์ เป็นของคู่กันกับ ความสุข เพราะเป็นสองด้านของโลก มีสุขต้องมีทุกข์มาคอยเตือนไม่ให้หลงระเริงเกินเลยไปในสุขนั้น มีทุกข์มากมายก็ย่อมมีสุขตามมาสร้างสมดุลให้ชีวิตบ้าง เป็นธรรมดาผลัดเปลี่ยนเวียนไป

๑๑๑ แต่คนเราก็มักจะ รักสุขเกลียดทุกข์ เจอทุกข์แม้จะไม่ชอบแต่กลับหมกมุ่นกับทุกข์นั้น… วันนี้ได้รับเมลดี ๆ จากกัลยาณมิตรแต่เช้า ส่ง เคล็ดลับดับทุกข์ ที่ลัดสั้นที่สุด และสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ของท่านอาจารย์วศิน อินทสระ มาให้

เคล็ดลับการดับทุกข์ มีอยู่ 2 ปริยายคือ

1. คิดในทางยอมรับว่า ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป

- นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
- ถึงเราไม่ดับ มันก็ดับไปเองเพราะมันไม่เที่ยง

2. คิดโดยโยนิโสมนสิการว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นเพราะเหตุไร แล้วไปดับที่เหตุ ความทุกข์ก็จะดับไป เหตุแห่งทุกข์มีมาก แต่กล่าวโดยสรุปคือ

- ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า เป็นทุกข์โดยรวบยอด
- เพราะฉะนั้นพึงปฏิบัติเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์เสีย ความทุกข์ก็จะดับไปทำยากแต่ก็ทำได้

๑๑๑

๑๑๑ กล่าวโดยสรุปถึง เคล็ดลับการดับทุกข์ของท่านอ.วศิน ก็คือ การยอมรับถึงลักษณะของทุกข์ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเองในที่สุด จึงไม่ควรผูกใจไว้กับทุกข์อันไม่คงที่่ไม่มีตัวตนนั้น และให้ลดละการยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์อันเป็นสาเหตุหลักแห่งทุกข์ เมื่อเข้าใจทุกข์เช่นนี้แล้ว ก็จะดับทุกข์ได้โดยปริยาย

๑๑๑

๑๑๑๑

เราคงยังไม่พ้นทุกข์ไปได้ทั้งหมดหรอก

เอาเพียงว่าแค่ เข้าใจในทุกข์และอยู่กับทุกข์นั้นได้ ก็แล้วกัน

:-D

« « Prev : อิสระที่แท้

Next : กะลาครอบฟ้า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 เวลา 9:47 (เย็น)

    เข้าใจทุกข์และอยู่กับทุกข์ เป็นการบอมรับความจริงที่ใครๆไม่ยากรับความจริง เพียงแต่จะฝึกใจ กาย อย่างไรเพื่อเผชิญกับทุกข์อย่างรับรู้และอยู่กับมัน กระบวนการฝึกนั้นคือสิ่งที่เราแสวงหา และเข้าไปเป็นเนื้อเดียวกัน แม้ว่าจะเคยฝึกมาบ้าง ซึ่งยากจริงๆ และห่างเหินมา แต่ก็ตั้งใจจะเดินเข้าหาอีก

  • #2 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 เวลา 9:28 (เช้า)

    ทุกข์-สุขก็คือ สาระที่แท้จริงของชีวิต
    เราต้องยอมรับ แต่ไม่ยอมแพ้ ไม่ต่อสู้เกียดกัน แต่เรียนรู้ให้เท่าทัน…

    ขอบคุณพี่บางทรายค่ะ

  • #3 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 เวลา 10:53 (เช้า)

    เพื่อนจ๊ะ (เอาอีกแล้ว)

    พอผ่านขั้นตอนการรู้แล้ว ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการลงมือทำล่ะเนอะ ยิ่งมีเคล็ดลับด้วยแล้ว ยิ่งมีความหวัง
    ยังไม่ต้องเอาขนาดไปดับหรอกเนอะ เดี๋ยวจะนิพพานก่อนกาลอันสมควร อิอิ เอาแค่เรียนรู้จะอยู่กันมันอย่างเข้าใจให้ได้ น่าจะเพียงพอ

    ว่าแต่ “วันนี้คุณทุกข์พอแล้วหรือยัง”

    อันนี้ไว้ถามตัวเองทุกทีที่ทุกข์อ่ะค่ะ ถามแล้วสะดุ้งดี ออกแนวเซ็ง ๆ ย้ำคิดย้ำทำ พายเรือในอ่าง เช้า-เย็น ๆ
    เบื่อ ๆ อยาก ๆ ยังไงก็ม่ายรุ๊

    ไม่เอาแล้ว พอดีกว่าเรา ในเมื่อยังแก้ไม่ได้ก็เอาไว้ก่อน หาเพื่อนหรือกิจกรรมใหม่ ๆ ทำให้ได้เฉไฉไปจากเรื่องนี้ หรือไม่ก็ย้ายมุมไปมองไปคิดเรื่องอื่นบ้างดีกว่า เดี๋ยวจิตตกเมื่อไหร่ค่อยกลับมาคิดใหม่ เผื่อจะคิดออกนา… เหอ เหอ เหอ

  • #4 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 เวลา 11:15 (เช้า)

    ครูปูจ้ะ

    ชอบจังคำถามดี ๆ แบบนี้… “วันนี้คุณทุกข์พอแล้วหรือยัง”
    ขอยืมไปใช้บ้างนะคะ ถูกใจ ๆ ๆ ^_^

    เรื่องเบื่อ ๆ อยาก ๆ น่ะ เป็น ธรรมดา ธรรมชาติ และเป็น “ธรรมะ” ไม่ได้เล่นลิ้นนะคะ สมดุลโลกคือเช่นนี้เอง ขืนเบื่อ ๆ ๆๆๆ โดยไม่อยากบ้าง … คงต้องหาทางไป “นิพพาน” ก่อนเวลาอันสมควร (จะได้ไปหรือ ย้งสงสัย ใจยุ่ง ยุงตีกันซะอย่างนี้)

    ตามความคิดของตัวเอง (ผู้เป็นกบในกะลาครอบ) นะคะ การเฉไฉ การไปหาเพื่อน หากิจกรรมต่าง ๆ หามุมมอง หรือแม้กระทั่งอย่างที่ตัวเองเพิ่งคิดเมื่อเช้านี้เองว่า อยากหากะลาครอบฟ้าใหม่ๆ เบื่อกรอบคิดเดิม ๆ ของตัวเอง… มันก็แค่ของ “ชั่วคราว” ยกจิตแล้ว สักพักมักก็ “ตก” อีกน่ะแหละ

    ขอเสนอแนะว่า… ยอมรับมัน ทำความเข้าใจกับมันให้มาก ๆ ปรองดองกับความเบื่อ ๆ อยาก ๆ ที่มันเกิด ๆ ดับ ๆ นั้น ครูบาอาจารย์สอน (แต่เราไม่ค่อยทำ) ว่า รู้แล้ว เห็นแล้ว ก็วางลง สักแต่ว่ารู้ว่าเห็น… ยากเนอะ….

    แต่…ควรทำ…แม้ยากก็ต้องเพียรทำ …จริงไหมคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.026337146759033 sec
Sidebar: 0.033052921295166 sec