จวักตักแกง

โดย freemind เมื่อ 13 กรกฏาคม 2010 เวลา 10:54 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภาษา ร้อยกรอง ความคิด #
อ่าน: 12233


ฟังใดได้รู้เรื่อง

ก็ปราดเปรื่องปรีชาชาญ

เปรียบลิ้นชิมน้ำตาล

รู้รสหวานซาบซ่านใจ

ฟังใดไม่รู้ความ

วิชาทรามจะงามไหน

เปรียบจวักตักใดใด

ไม่รู้รสหมดทั้งมวล

ชิต บุรทัต

1234

วันนี้อ่านเจอกลอนนี้โดยบังเอิญ ยิ้มเลย…

เพราะครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่อง การฟัง การได้ยิน การตีความในเรื่องราวต่าง ๆ อยู่พอดีว่า เพราะอะไรในเรื่องเดียวกัน แต่ต่างคนฟัง กลับเข้าใจกันไปคนละทางสองทาง บางครั้งถึงกับเป็นคนละเรื่องกันไปเลย พาลโกรธพาลทะเลาะกันวุ่นวายจริง ๆ


เคยได้ยินแม่สอนเมื่อเด็ก ๆ ว่า ผู้ใหญ่สอนสั่งอะไร ให้ตั้งใจจดจำ อย่าทำตัวเป็น “จวักตักแกง” (สำนวนไทย หมายถึงคนที่ทำตัวไม่สนใจที่จะรับประโยชน์จากบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว)


จำได้ว่ายังทำหน้าทะเล้นถามแม่ว่า จวักเป็นไงจ้ะแม่…ใช้คำโบราณจัง


คนโบราณท่านช่างคิด ช่างเปรียบเทียบ และใช้คำสอนที่ทำให้เกิดความสนใจ ทำให้จดจำได้ง่าย โดยใช้สิ่งใกล้ตัวในชีวิตประจำวันนั่นเอง และคงต้องน้อมคารวะ นายชิต บุรทัต กวีเอกในล้นเกล้ารัชการที่ 6 (ผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์) ที่ท่านได้ร้อยกรองไว้อย่างไพเราะและเปี่ยมความหมายสอนใจ

เด็ก ๆ ที่บ้านไม่รู้จักคำว่า “จวัก” แล้ว…

แต่เรียกว่า “ที่ตักน้ำแกง”

นี่ถ้าแม่ยังอยู่คงได้ฟังนิทานเรื่องยาวเชียว…

« « Prev : รู้แล้ว รู้แล้ว

Next : มนุษย์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2010 เวลา 11:07 (เย็น)

    อือ   ไม่ได้ยินคำนี้มานานแล้ว  จะเป็นตำตายไปแล้วนะ เพิ่งกลับมาได้ยินอีกนี่แหละ นานมาแล้วมันหายไปไหนหนอ..อิอิ
    สมัยก่อนเราอยู่กับธรรมชาติมากกว่า เสียงต่างๆก็เป็นเสียงธรรมชาติ จนเราคุ้นชินและรู้เรื่องธรรมชาติมากกว่าปัจจุบันมาก

    สมัยนี้มีเสียงเทียมขึ้นมามากมาย และพัฒนาคำพูดไปมากมาย สื่อตัวกลางในการส่งข้อความก็มากมายล้นความสามารถที่คนเราจะรับได้ และจำนวนมากถูกบังคับให้ฟังด้วยซี  ทำหูบอดซะมั่งก็ดีนะ … อิอิ

  • #2 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2010 เวลา 11:25 (เย็น)

    55555…..
    เคยโดนอาจารย์ภาษาไทยสมัยเรียนมัธยมต้น ท่านว่า… นี่พวกเธออย่ามาทำตัวเป็นจวักไม่รู้รสแกงนะจ้ะ…
    พวกเราแอบเม้าท์กันว่า ขืนจวักรู้รสแกงล่ะก็…แกงคงจืดหมดเลยแน่ ๆ …

    แต่ที่พี่บางทรายบอกก็น่าสนใจและเป็นอีกมุมหนึ่งค่ะ … เสียงเทียมที่ต้องฟังมันมากนัก ก็ทำตัวเป็นจวักตักแกง … ไม่รับไม่รู้บ้าง…น่าจะดีเหมือนกันค่ะ
    ;)

  • #3 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2010 เวลา 11:35 (เย็น)

    จวักตักแกงนี่ทำให้คิดถึงแม่เช่นกัน
    แม่มักจะบอกเวลาเราทำหน้างอว่า
    ทำหน้าดีดี อย่าทำหน้าอย่างป้าก
    (ป้าก เป็นคำเหมืองหมายถึงทัพพีนั่นแหละ)
    รูปร่างของทัพพีเป็นไง หน้าเราอาจจะคล้ายแบบนั้น

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กรกฏาคม 2010 เวลา 7:02 (เช้า)

    จวัก คกใกล้กัน ตะบัก   (ตะบักตะบวย) ความหมายคงแตกต่างกัน อิ
    แต่คำว่า ป้าก ที่น้าบอก เป็นความรู้ใหม่ บ่เคยรู้มาก่อน
    ท่านพระอาจารย์ ชิต เขียนได้เนี๊ยบจริง  (สำนวนโก๋) อิ

  • #5 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2010 เวลา 10:53 (เช้า)

    พี่่สาวที่รัก

    สงสัยถูกชมว่า หน้างอย่างกับจวัก…ฮา ๆ ๆ

  • #6 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2010 เวลา 10:54 (เช้า)

    พ่อครูบาคะ

    ป้าก นี่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ทัพพีหรือตะบักตะบวยแม่นแล้วกะเจ้า…
    ;)

  • #7 reusable bag ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 เมษายน 2012 เวลา 1:30 (เช้า)

    I really liked your post.Really thank you! Fantastic….

    Looking forward to reading more. Great blog.Much thanks again. Great….


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.12170100212097 sec
Sidebar: 0.045175790786743 sec