Worknote - On Tue 15/11/2011

ไม่มีความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 15 November 2011 เวลา 3:20 pm ในหมวดหมู่ คอม #
อ่าน: 1239

ตอนแรกกะ  up  ระบบ Sahana Eden ขึ้นโชว์ แต่คิดไปคิดมายกเลิกดีกว่า ขอรวบรวมข้อมูลแก้ไขข้อผิดพลาด และ อีกหลายอย่างให้ตกผลึกก่อนดีกว่าจะทำการ Up load host ขึ้นโชว์  บางทีการกระทำของเราเอง ยังหาประเด็นที่ชัดเจนไม่ดีพอต่อสิ่งที่ โจทย์ ต้องการ

  • คงต้องกลับไปดูเรื่อง Information emergency management อีกที สิิ่งที่อยากรู้คือ อะไรคือข้อดีของ “Standard”  ที่ต่างประเทศ define กันขึ้นมา นอกจากคำว่า มาตรฐาน และ อะไรคือข้อจำกัดของมัน รวมถึงการประยุกต์ใช้งาน
  • คงต้องวาดภาพ คำตอบ / คำถาม กับสิ่งที่ทำให้ชัดเจน รวมถึง เป้าหมาย และ แนวทาง บ่อยครั้งที่นั่งทำไป แล้วต้องมามาคิดอีกที “อะไรคือปลายทาง”
  • ได้รับความรู้จาก พี่อาจารย์ท่านนึง เกี่ยวกับ technology บางตัว ในตระกูล EDXL ในที่นี้คือ EDXL-RM คงต้องกลับไปดู ให้ละเอียดอีกที
  • กำลังคิดอยู่ว่าสถาปัตยกรรมแบบ Enterprise-Service-Bus กับ  Client-server แบบไหนจะดีกว่ากัน หรือ ต้องนำมาผสมผสานกัน ในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลต่อกัน และ ควรที่จะใช้กรณีไหนยังไง
  • กำลังจะพัฒนา ระบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กันได้ โดยไม่ต้องสนใจว่า ระบบแต่ละระบบที่หน่วยงานอาสาใช้ นั้นจะถูกพัฒนา แบบไหนยังไง จะนำไปแก้ไขในปัญหาของ  การแจกจ่ายของลงพื้นที่ที่ทับซ้อนกัน ของแต่ละหน่วยงาน ทำให้เกิดปัญหาของไปกองอยู่ที่เดียวโดยไม่ตั้งใจ
  • สิ่งที่คิดอยู่คือ จะ ตรวจสอบ หรือ ป้องกัน การ request ขอความช่วยเหลือในอนาคตได้ยังไง กรณีที่มีคำร้องขอส่งเข้าในระบบ โดย สิ่งที่กังวล คือ การ้องขอปลอม นอกจากจะทำให้เกิดความเสียเวลาแล้ว อาจจะอันตรายต่อผู้เข้าไปช่วยเหลือได้ในบางกรณี
  • สิ่งที่พอคิดขึ้นมาสำหรับการร้องขอ จากพื้นที่ ให้เป็นแบบภาพข้างล่างนี้ เพื่อตัดปัญหา ข้อจำกัดของ คนที่อยู่ซักที่นึง แต่ ไม่มีระบบระบุพิกัด ให้ทราบ SMS ภาษาอังกฤษ 160 ตัวอักษร ส่วนภาษาไทย 60 ตัวอักษร ใช้วิธีระบุเป็น รหัสไปรษณีย์ + เลขหมู่ + เลฃที่บ้าน

  • คืนนี้คงจะทดสอบ Message bus ส่วนตัวยังไม่ค่อย clear กับ ระบบลักษณะนี้เท่าไหร่ คงไม่มีอะไรดีกว่า การลงมือทำ
  • Sahana Eden สามารถส่งข้อมล หรือ update ข้อมูลผ่านทาง Web API ได้  แต่จะดีกว่าไหม ถ้า มี มาตรฐานกลางอื่น ใช้ในการ sync ข้อมูล เพื่อทำการ update ข้อมูลระหว่างกันเอง
  • ตรงนี้สิโจทย์ หินเหมือนกัน จะ tracking request / response  กับการร้องขอที่มาจาก social network ยัังไง เช่น จาก twitter, facebook  ??  :)
end.


Update worksheet weekend - Nov. 5-6 / 11 / 2011

ไม่มีความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 7 November 2011 เวลา 12:58 am ในหมวดหมู่ คอม, สัพเพ #
อ่าน: 1337

ขอ Note ทิ้งเอาไว้หน่อย จาก blog ก่อนหน้านี้ เรื่อง Sahana Eden - Disaster management  software  ตอนนี้ได้ติดตั้งลงใน Sub notebook ตัวจิ๋ว Lenovo S205

  • ร่าง เขียน presentation file เวอรชั่นภาษาไทย เตรียมไว้  เสนอ หัวหน้า เรื่อง Sahana
  • ยื่นขอ SaaS cloud กับ ทาง Trueidc เพื่อทดสอบการใช้งาน ยังไม่ได้ เลยย้ายเป้าไปที่อื่นแทน
  • Openshift.com ( PaaS cloud )  มีปัญหา กะ DNS แล้วก็  git  ไม่แน่ใจว่าปัญหาที่ตรงไหน ยังไม่ได้สอบถามใน Community ( git hangup )
  • เปลี่ยนมาใช้ Heroku.com ( PaaS Cloud )
  • Heroku มีปัญหา ตอนนี้ยังติดตั้ง rvm ( ruby switch environment installer ) ไม่ได้  เหมือนเจ้าของ project จะ update branch  ( 00:48 )
  • ถ้ายังคอนเนกต์ไม่ได้ จะไปเช่า VPS server แทน แต่อยากได้ 3 choice ตอนนั้น ก่อน จะได้ไม่ต้องเสียตังค์มาก ซึ่ง Openshift และ Heroku  เป็น Free PaaS  ใช้เกินกว่าที่เขาให้ฟรี ก็จ่ายตังค์
  • เสาร์  ไป ซีคอน กะ ถอนเงินกับนั่งทำงาน ค้นคว้าข้อมูล ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันนัก ส่วนใหญ่เรื่อง Map และ Python MVC
  • อาทิตย์ พยายาม access PaaS cloud แต่ยังไม่ผ่าน ตอนบ่าย มีเหตุอยากให้ทำบุญ เลยเข้าไปในเมือง ไปทำบุญที่วัดปทุมวนาราม +  ดูหนัง เรื่อง In Time ที่ สยาม ประหม่าเหมือนกัน เหมือนรู้สึกเป็นห้างสำหรับ คนชั้นสูง ผมจะเหมาะกับ ซีคอน หรือ  paradise park มากกว่า :D
  • น้ำยังไม่ท่วม บ้านที่ลาดกระบัง ( อยู่แยกสุขสมาน )
  • โฆษณาให้ฟรี cloud.trueidc.co.th เปิดให้บริการสำหรับ คนที่จะใช้ทำเป็น site backup ด้วย
  • งานช่วยคนอื่น ยังไม่ได้ทำเท่าที่ควร ( คงนั่ง RT , Facebook monitor ซึ่งแทบไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ )


FYI :: การนำเอา IT มาใช้ในงานภัยพิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 11 October 2011 เวลา 1:05 pm ในหมวดหมู่ คอม #
อ่าน: 2432

ใช้ข่าวที่คนอื่นเขียนเอามาเผยแพร่ต่อกันอีกที  อ่านได้จากที่นี่ครับ by ( twitter ) @it24hr.

http://www.it24hrs.com/2011/technology-thailand-flood/

สำหรับ Application บน มือถือ บนระบบปฏิบัติการ Android สามารถใช้ keyword  ”Thaiflood” ในการค้นหาจาก Androidmarket ได้ โดยเข้าไปที่

https://market.android.com

ค้นคำว่า ThaiFlood จะได้ออกมาทั้งหมดมี 3 Application  ตัวของ Droidsan.com จะมีคนใช้เยอะที่สุด

ส่วน Application บน  Iphone  ตอนนี้ ผู้เขียน @rawitat กำลังรอ Approve จาก  Apple market อยู่ครับ  twitter คืออะไร ตามอ่านได้ที่นี่ครับ twitter คืออะไร

ในส่วนของ ESRI ประเทศไทย ก็ได้ทำ Application ในการทำ mapping เหมือนกัน

http://203.150.230.27/FloodMap/index.html

ปล.  มือถือผู้เขียนยังคงเป็น Dump phone ( Nokia รุ่นไฟฉาย )  จึงไม่สามารถสาธิตการใช้งาน และ capture มาเขียนได้ ต้องขออภัยด้วยครับ  แต่ อ่านวิธีการใช้งานและข้อมูลอื่นๆ จากเวบไซต์ ข้างบนได้ครับ


รัน Android บน PC ธรรมดาๆ

2 ความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 3 October 2011 เวลา 12:43 pm ในหมวดหมู่ คอม #
อ่าน: 3643

อยากจะเขียน App android  เพื่อทดสอบ Application บางอย่าง แต่.. ประสบปัญหาว่า มือถือเรายังเป็น Nokia รุ่นไฟฉาย กรอบพลาสติกอยู่เลย  กว่าจะซื้อหรือหาเงินมาซื้อ Android มือถือได้ คงใช้เวลาอีกนานโข เอางี้ ลง Android ในเครื่องแล้วกัน ( ไม่ใช้ emulator software ที่มากับชุดพัฒนา )  จะได้ใกล้เคียงกับของจริงหน่อย

ซอฟต์แวร์นี้รันใน Linux  ( Fedora Core 15  )  นะครับ

ติดตั้ง Virtulization  software  ( ปล. คล้ายๆ เราจะสร้างคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งให้อยู่ในเครื่องเรา ) งานนี้ผมใช้ KVM ครับ

root# yum install  qemu-kvm.i686  qemu-kvm-tools.i686  #ดูจากในรูปได้ครับ

สร้าง Directory สำหรับ project นี้

udomsak$ mkdir -p ~/project/x86droid

โหลด ISO ไฟล์ที่ ชาวบ้านเขา ทำเอาไว้มาลองใช้งานก่อน มีปัญหาค่อยแก้กันทีหลัง

http://code.google.com/p/android-x86/downloads/detail?name=android-x86-2.2-r2-eeepc.iso&can=2&q=label%3Afroyo-x86

ด้วยคำสั่ง wget

udomsak$ cd ~/project/x86droid

udomsak$ wget -c ‘http://android-x86.googlecode.com/files/android-x86-2.2-r2-eeepc.iso’

รอสักแป๊บ  สั่งรันเพื่อทดสอบ

./qemu-android android-x86-2.2-r2-eeepc.iso -hda android.img -boot -d

จะได้หน้านี้ออกมา

เลือกตัวไหนก็ได้ ผมเลือกลองรันจากแผ่น CD  ( LiveCD ) ส่วนตัวล่างสุดทีใช้ Install on Harddisk รู้สึกจะไม่เวิร์ค ผลจากการ boot ระบบ network ยังคงมีปัญหาอยู่ เดี๋ยวคงต้องลองแก้ ดู แล้ว ดูหาวิธี ติดตั้ง firmware ลงไปใช้งาน จะได้นำ app ที่ตัวเองเขียน install ลงไปอีกที

จบ phase แรก ส้นๆ ในช่วงกลางวัน

website project :  http://www.android-x86.org/

website project2 : http://code.google.com/p/android-x86/


ปัญหาของ Gwibber บน Fedora Core 15

ไม่มีความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 28 September 2011 เวลา 3:39 pm ในหมวดหมู่ คอม #
อ่าน: 2448

หลังจากทำการ set เครื่องได้มา วันกว่าๆ นึกได้ถึงเรื่อง backup Facebook + Twitter news feed  เนื่องจากผู้เขียนเอง กะว่าคงไม่ access socail network ประมาณพักใหญ่ๆ แต่ก็อยากจะรับ feed  จึงได้ทำการติดตั้ง gwibber บน  Fedora core 15 หรือ Linux OS  ที่เพิ่งลงไป

ปัญหาที่พบคือ Gwibber เองไม่สนับสนุน proxy  และ มีปัญหากับการเชื่อมต่อกับ proxy  ลักษณะของ gwibber เป็น GTK+ application + webkit สำหรับ render HTML page ซึ่งเขียนขึ้นด้วย python  หลังจากผู้เขียนได้ทำการค้นเวบ เผื่อจะเจอคนมีปัญหาเดียวกัน ก็พอพบบ้างแต่ คนละ release ซึ่งปัญหาที่ ผู้เขียนพบคือไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Social network ใดๆ ได้ จึงได้ทำการ hardcore  พบว่ามีหลายส่วนยังต้องทำการปรับเปลี่ยน ไม่วาจะเป็นในส่วนของ code webkit เอง และ utility ที่ใช้ feed  หรือ get content จาก web ดังกล่าว

gwibber เป็น python GTK+ application สามารถทำการเชื่อมต่อกับ หลายๆ social network protocol ได้  นอกจากนั้นทำการเก็บเข้าไว้ใน DB มีสองตัวคือ sqlite และ CouchDB

คิดว่าอาจจะใช้ หนทางอื่นๆแทน ในการดึง feed มาเก็บไว้ที่เครื่อง

pyfacebook + embed DB or Key-Value DB

ภาพด้านล่างคือปัญหาที่เกิดขึ้น

  • code ส่วนแรก ที่ต้องแก้  คือ ส่วนของ plugin ของ Gwibber ส่วนนี้จะใช้สำหรับ ในการเรียก  ระบบ authentication ของ facebook เป็นด่านแรกก่อนทำการ save account  ปัญหาก็คือ webkit ไม่สามารถเชื่อมต่อ facebook.com ได้  แม้จะทำการ set proxy environment แล้วก็ตาม

/usr/share/gwibber/plugins/facebook/gtk/facebook

  • code  ส่วนที่สอง คือ ส่วนที่ใช้ feed content จาก facebook ส่วนนี้จะใช้  pycurl ทำการ connect และ feed content มา

/usr/lib/python2.7/site-packages/gwibber/microblog/network.py

/usr/lib/python2.7/site-packages/gwibber/microblog/util/

ปล. คิดว่าส่วนใหญ่ user คงเปลี่ยนไปใช้ app อื่น แทน ที่จะมานั่งแก้ code เหมือนผู้เขียน


Kimono lantern kit & Solar cell phone charger

ไม่มีความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 27 September 2011 เวลา 5:32 pm ในหมวดหมู่ คอม, สัพเพ #
อ่าน: 1561

หลังจากที่ใช้เวลาสักพัก ใหญ่ setting up Fedora Core 15  ตอนนี้พิมพ์ไทยได้ล่ะ เห็น promote page ที่เกี่ยวข้องอื่น จึงคลิ๊กเข้าไปดู  ดูว่า  “Hacker”  เขาทำอะไรกันบ้างยังไง  เริ่มด้วย  “Solar cell phone charger ”    ขนาดจิ๋วเดียวพอทำเองกันได้สบาย

// Tokyohacker.org  - เขาทำไว้ให้คนใช้ใน Earth Quake ที่ผ่านมาด้วย

ระบบแสงส่องสว่าง ขนาดมือถือ

http://www.youtube.com/watch?v=eeyheCDxwgI&feature=player_embedded

ประยุกต์ใช้จะอยู่ในรูปแบบนี้

http://www.inmojo.com/store/tokyo-hackerspace/item/kimono-solar-lantern-kit/

ด้วยเครดิตจากที่นี่

http://tokyohackerspace.org/en/blog/first-solar-lantern-video

นอกจากนั้น ก็ยังมี ระบบแสงส่องสว่าง กรณีไม่มีไฟฟ้าใช้กัน  กินไฟนิดเดียวเอง 20mv. ( มิลลิโวลต์ ) แจก   ฟรี( source pcb ) น่าจะมีคนใจดี ทำแจกมั่งจัง  ปล. ระบบแสงสว่างที่เห็น แม้จะเป็นเพียงแค่หลอด LED เล็กๆ แต่หากใช้ แล้ว อาศัยน้ำเป็นตัวสะท้อนแสง จะสว่างขึ้นมาก ครับ // ไว้เอาลองจริงๆ ได้ผลประการใด จะเอามาแจ้งอีกที อันนี เอามาให้ดูก่อนว่า  foreign  เขาทำกันยังไง :-)

http://tokyohackerspace.org/en/project/kimono-lantern-kit

ส่วนนี่เป็น  Project  Solar cell phone charger  หรือ เครื่องชารต์ battery มือถือ ด้วยพลังแสงอาทิตย์

http://www.tokyohackerspace.org/en/blog/free-solar-cell-phone-charging-station-now-available-at-ths


note of new Installation on my box

ไม่มีความคิดเห็น โดย udomsak เมื่อ 27 September 2011 เวลา 12:55 pm ในหมวดหมู่ คอม #
อ่าน: 1522

After i’m crash with Ubuntu 11.04 bianry corrupt , til i try to fixing it but everything goes down ( while do-release-upgrade step fail ).  the fast way ( now i’m not sure ) try to install new Linux distro so i get Fedora 15 ( http://www.fedoraproject.org )  while  Release 16 announce :)

before install Fedora 15 i’m intend to install Solaris base project for testing  Solaris OS virtualization named ‘ Zone’  that many of people said it’s best performance  also ‘Crossbow’  Network Virtualization and ZFS  enterprise storage file system

i’m trying 2 base solaris project

but look like  Opensolaris and Nexenta need primary parttion to install  and they does not understood  Logical partition may this is nature of  ZFS file sytem ( not in list of  installation wizard ). i think i’m need to backup my  data before install it  proven to data lose.   will  wrote later about it.

So , write this blog in  update package with a lot of them and problem with language switching  Fedora core 15 come with Gnome 3

lanaugage input method  use IBus for input method that i’m not familar with.  thus typo this in English :P

Problem were found and link

Error Database Malform“    ::  correct by  ‘ yum clean’

Common Fedora 15 bug“   ::  Fedora 15 bug

switching input language“  :: If  you want Thai typo

GUI - Package manager “  ::   Software Remove / Intall  in GUI if  you don’t like ‘Command-line’

Can’t update when behind proxy“  ::  I you sit behind proxy  you need to setting up even if  you can’t do anything with  ‘yum’

meaning of EPEL “  when you access mirror-list page of fedora project will see page contain ‘EPEL’ words :)

Figure-1 : My new Desktop



Main: 0.13467478752136 sec
Sidebar: 0.00021505355834961 sec