อนุโมทนา : สาธุ

โดย sompornp เมื่อ กุมภาพันธ 8, 2010 เวลา 17:57 ในหมวดหมู่ การจัดการความไม่รู้, ตามจริต #
อ่าน: 8310

วันนี้ได้รับเมลเป็นเรื่องเล่าที่ดี ก็อยากนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นวิทยาทานและบันทึกเตือนจำ เตือนใจ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ และรับรู้ เมื่อได้เล่าสู่ และเป็นสุข ย่อมได้บุญกุศลส่งถึงให้พบแต่ความดีงาม

“สาธุ”

คำว่าอนุโมทนาและสาธุแปลว่าอะไรและใช้เมื่อไรอย่างไร?

”อนุโมทนา” ก็คือ ยินดีในสิ่งดีๆนั้นๆ(การกระทำ)ด้วยนะ
เช่น รู้ว่าเขาทำบุญมาหรือทำอะไรดีๆ หรือเขาไปงานบุญมาเเล้วเล่าให้ฟัง หรือบอกเราว่า”เอาบุญมาฝาก”(จากงานบุญ)
…เราก็ตอบว่า ”อนุโมทนา”..

”สาธุ” ก็เเปลว่า ชอบเเล้ว ดีเเล้ว
เช่น เวลาพระสวดให้พร เราก็ตอบรับว่า ”สาธุ” คือธรรมที่ท่านพูดนั้นน่ะถูกต้องดีเเล้ว ชอบเเล้ว, ชอบเเล้วนี่หมายความว่าถูกเเล้วน่ะ
[ส่วนเวลาผู้ใหญ่อวยพรเรานั้นเราตอบว่า ''สมพรปาก'']

 

หรือ

 

อนุโมทนา แปลว่ายินดีตาม พลอยยินดีตาม เป็นอาการจิตแสดงมุทิตากับคนอื่น
เมื่อเห็นเขาได้ทำบุญ รู้ว่าเขาจะได้รับสิ่งดีๆกลับมาก็ยินดีไปกับเขาด้วย
ใจก็เลยพลิกจากเฉยๆเป็นกุศลตามคะ ได้บุญจากการร่วมอนุโมทนานี้ด้วย
แต่ถ้าดีใจที่เห็นคนอื่นทำบาป ก็ได้บาปด้วยนะคะ
เช่นเห็นคนตกปลา แล้วชอบใจมาก ก็จะโดนกรรมดำให้ผลด้วยอีกคนคะ
และสามารถพูดเมื่ออยากอนุโมทนา ว่า “(ขอ)อนุโมทนาด้วย” เป็นต้นคะ

สาธุ แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว เช่น ฟังพระท่านเทศน์แล้วถึงอกถึงใจเหลือเกิน ก็อาจร้องว่า “สาธุ”
แปลว่าธรรมที่ท่านพูดนี่ชอบแล้ว น่าชื่นใจ จึงพูดออกมาคะ
หรือใช้ในกรณีอยากแสดงความยินดีกับบุญที่เขาทำไว้ชอบแล้ว
ก็พูดว่า “สาธุ” ในที่นี่เป็นการแสดงออกว่าใจเรายินดีในบุญนี้ ก็คือ พูดสาธุเพื่ออนุโมทนาคะ

สังเกตว่าถ้ายินดีอยู่ในใจแล้วไม่พูด ใจก็เบิกบานตามประมาณหนึ่ง
แต่ถ้าพูดอนุโมทนา หรือสาธุออกมาด้วย ใจก็เบิกบานมากอีกหน่อยคะ
พูดจึงดีกว่าไม่พูดคะ แถมเจ้าของบุญยังดีใจด้วย ที่มีคนร่วมยินดีกับเขา

 

ที่มา : จากวีกิพีเดีย wikipedia

  

อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ
อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด
 

 

หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย
เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา (ดูสัมโมทนียกถา)
เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า อนุโมทนาบัตร หรือ ใบอนุโมทนา

เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ

 

 

 

เล่าสู่กันอ่านค่ะ

Post to Facebook

« « Prev : กิ้งกือ จาก ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง

Next : ว่าด้วยความบ้า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 กุมภาพันธ 2010 เวลา 18:22

    สาธุ ผมมีความเห็นตามแนวนั้นครับ

    มีสำนักใหญ่แห่งหนึ่ง สั่งสอนในทำนองว่าต้องใช้คำว่าอนุโมทนาบุญให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นอาจจะไปอนุโมทนาบาปมาด้วย ฟังดูเหมือนการก๊อบปี้ยังไงก็ไม่รู้ครับน้า

  • #2 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 กุมภาพันธ 2010 เวลา 23:01

    เวลาเราเจอกัลยาณมิตร กัลยาณธรรม และได้ปฏิบัติดีร่วมกัน การอนุโมทนา สาธุร่วมกัน มันส่งความปิติถึงก้นบึ้งแห่งใจ บางครั้งเราก็เผลอพูดไปอาจเพราะเคยชิน ถ้าเกิดอาการแบบนั้น มันก็ไม่อิ่มในใจ เหตุที่เกิดแบบนี้ทำให้เรียนรู้ว่าต้องมีสติ การเรียนรู้แค่คำว่าอนุโมทนา สาธุ ก็สอนให้มีสติได้ แล้วถ้าเราเรียนรู้ถึงแก่นของธรรมะ เราคงเข้าใจในจิตของเรามากขึ้น (รึเปล่าหนอ..อิอิ)
    ขอบคุณค่ะ

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 กุมภาพันธ 2010 เวลา 23:09

    กล่าวอะไร ไม่สำคัญเท่าคิดอะไร หรือเปล่าครับน้า

  • #4 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 กุมภาพันธ 2010 เวลา 9:39

    สาธุนี้ บางครั้งจะเห็นว่า จะพูดสามครั้ง สาธุ สาธุ สาธุ

    สาธุกับเรื่องราวในบันทึกนี้ค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.04435920715332 sec
Sidebar: 0.047928810119629 sec