เรื่องสืบเนื่อง(ก็แล้วกัน)
จากเรื่องเล่าเมื่อวันวาน มีข้อสรุปที่ได้เรียนรู้คือ
1) เริ่มแรกรู้สึกเดือด ๆ ๆ ในใจ หัวหน้าไม่ใช่กระโถนนะเฟ้ย หัวหน้าก็ทำตามหน้าที่นะ ไม่เคยที่รับปากมาโดยที่ไม่ถามความคิดเห็นลูกน้องหรอก แต่จะพูดให้แรงแล้วได้อะไร ถามใจตัวเอง ระหว่างฟังเป็นระยะ ๆ ว่ารู้สึกอย่างไร ตัดสินไหม พิพากษาไหม ก็ค่อย ๆ ปลดทีละล๊อค ๆ ๆ อืม ความรู้สึกเดือด ๆ ก็เย็นลง ๆ ๆ ก็อธิบายด้วยเสียงที่ไม่(ค่อย)ดัง ทำให้ได้เรียนรู้อีกครั้งว่า การฟังอย่างไม่พิพากษา ไม่ตัดสินนั้น มันช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริง อธิบายแล้ว คุยกันแล้ว ว่ากันแล้ว ก็ประเมินเองว่า ถ้าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเอง ไม่เทียบเคียงคนอื่น มันก็สุขได้โดยเริ่มจากใจเรานั่นแหละ ก็หวังว่าจะเห็นทางสว่างกันบ้างนะ(อันนี้คิดให้ตัวเอง) อุอุอุ
2) ประเด็นที่ 2 นี้ ได้อธิบายว่า ทำไมเราต้องเทียบกับคนอื่น เราเทียบกับหน้าที่เราไม่ได้หรือ เรามีหน้าที่อะไร แล้วหน้าที่ที่เราทำนั้น ทำได้ไหม มันเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือเปล่า แล้วมาปรึกษากันนี่ ก็จะถามว่าจะทำไหม สรุปคือ ไม่ทำ ก็รับไปเพื่อสรุปเสนอท่าน ๆ ว่าต่อไปเราจะทำอย่างไร (ตอนนี้ยังไม่ได้เสนอ แต่หัวหน้ามาทำงานก่อนแปดโมงแทน…เพื่อดูสถิติว่า เช้า ๆ มันมีกิจให้ต้องทำอะไรบ้าง…ลองสักตั้งคร๊าบพี่น้อง….อิอิอิ)
3) ประเด็นนี้ เป็นคำถามเฮงซวยหรือเปล่าไม่รู้ แต่จริง ๆ บทบาทหน้าที่ตัวเองก็ต้องรู้ว่าเราทำหน้าที่อะไร แต่การที่ไม่รู้ตัวเองนี่ อธิบายตรง ๆ ก็ไม่เข้าใจ อธิบายแบบออฟไซด์ก็จะแรงไป ก็ถามว่า ตำแหน่งของแต่ละคนคืออะไร การที่เราไม่มาทำงานตรงเวลานั้น มันกระทบใครบ้าง แล้วคนที่ต้องทำหน้าที่แทนนั้นมันกระทบกับภารงานประจำอะไรหรือเปล่า @#@$%#$%#@^%R!^ ก็เปิดประเด็นคุยกันยาว สุดท้ายมาจบลงประเด็นที่ว่ามันก็ไม่มีปัญหาอะไรกันนี่ ก็เลยตั้งคำถามว่า แล้วที่เราบอกว่ามันไม่มีปัญหาทำไมเราต้องมีอะไรในใจว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ มันเป็นเพราะเราไม่รู้หน้าที่ตัวเองต่างหากล่ะ แล้วถ้าทุกคนรู้หน้าที่ตัวเอง มันก็จะทำงานให้เกิดความสุขกันได้ อย่าเอารารมณ์เป็นตัวตั้งเลย งานต่างหากล่ะ เลิกเหอะ การคิดเล็กคิดน้อย หยุมหยิม พิพากษากันว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้โดยไม่ดูแลตัวเอง วงก็จบการสนทนาตรงที่ อืม….เราไม่ได้มีปัญหากันนิ แล้วเราคุยอะไรกัน หัวหน้าสรุปเองว่า เออ….มันอาจจะต้องคุยกันบ่อยแล้วกระมังนี่ อิอิอิ
การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบที่มากกว่าคนอื่น “การฟัง” เป็นสิ่งที่สำคัญทีเดียวค่ะ