รวมพระธรรมคำสอนหลวงปู่ดู่ พระผู้จุดประทีปในดวงใจ
อ่าน: 3554ขอขอบพระคุณ FW mail ค่ะ
ความยากอย่างหนึ่งอยู่ที่การหมุนเวียน
ออก ไป กลับ เข้า จม ไม่จม ยึด ไม่ยึด
ติด จม ติด ปล่อย
ออก ไป กลับ เข้า หมุนไปอย่างนี้
เกิด สังเกต เกิด สังเกต
หมั่น สังเกต จึงเกิดความเข้าใจ
จึงเกิดจังหวะ มีระยะห่าง มีการหยุด
ก่อนที่จะเป็นไปอีก หมุนเวียนอีก
พระ ไพศาล : อาตมาถือเป็นหน้าที่ เมื่อสังคมขัดแย้งแตกแยกกันขนาดนี้
หลักธรรมพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะมาหยุดตรงนี้ได้
เพราะจริงๆ แล้วปัญหามันเริ่มที่ความไม่สงบสุขในใจ
คือใจที่วุ่นวาย เป็นทุกข์ ทั้งหลายนั้นเกิดมาแต่เหตุ 3 อย่าง คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ
ตัณหา ก็คือในเรื่องของผลประโยชน์ ซึ่งพอมีมากเข้าทำให้สำนึกต่อส่วนรวมเลือนหายไป
มานะ คือความสำคัญตัวว่าดี ว่าเหนือกว่า และ
ทิฐิ ที่เป็นความใจแคบ เพราะยึดติดถือมั่นในความคิดของตน
ในอดีตมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักร ฮีบรูพระนามว่าโซโลมอน
พระราชาได้สั่งให้เจ้าเมืองทุกเมืองทำของวิเศษให้อย่างหนึ่งโดยของสิ่งนั้นต้องมีคุณสมบัติพิเศษคือ…
ของสิ่งนี้ จะสามารถเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกของพระราชาได้
ออกนอกลู่ นอกทาง
สำนวนไทย..ช่างคิดแล้วได้ความหมาย
จะตีให้สั้น ให้ยาว ให้ตื้น ให้ลึก ก็ได้
สงสัยจะแก่แล้ว…ก็เลยคิดต่างจากตอนเป็นเด็ก.(ฮา.)..
ตอนเด็กๆคิดว่า แปลว่าทำอะไรไม่ถูก ไม่ควร
เตลิดเปิดเปิง ทำผิดแผกจากที่ควรทำ
ตอนนี้คิดเพิ่มว่า ลู่ กับ ทาง ก็บอกอะไรบางอย่างไหม..
เดี๋ยวนี้อะไรๆก็ต้องตีความ แม้แต่คำว่าตีความ….
เดิมทีการเข้าใจอะไรๆ ก็เข้าใจตามตัวอักษร
นั่นอาจเป็นเพราะเวลานั้น..คือ เวลานั้น..
และ.เวลานี้ คือ..เวลานี้…
เมื่อผ่านเวลา ก็รับยาขมหม้อเล็ก หม้อใหญ่
ไปตามสถานการณ์ แบบฝึกหัดก็ผ่านไปหลายบท
ละครชีวิตก็ดูมาหลายเรื่อง
อย่าไปโทษอะไรเลย…มันเป็นธรรมดา ธรรมชาติ เช่นนั้นเอง
ถ้าเราเกิดมารู้หมดทุกอย่าง ทำได้หมดทุกอย่าง
เราคงไม่ใช่คนปกติ…แม้ร่างกาย แม้สรรพสิ่ง ก็ยังมี
วันเวลาเป็นตัวกำหนดความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
เราจะคิดหวังว่า น่าจะ..อย่างนั้น อย่างนี้ นั้นก็คือ ความอยากแล้ว..
แม้ในศีลข้อที่ 1ที่ท่องมาแต่เด็กๆ เด็กๆท่องว่าห้ามฆ่าสัตว์
ถ้าตีความตามตัวอักษร ห้ามฆ่าให้ตาย ทำให้ตาย
ตามตัวอักษรน่าจะหมายถึงการทำให้ตายโดยเจตนา
แต่ถ้าจะคิดให้ลึกซึ้ง ถึงเจตนาของคำสอนแล้ว มีเจตนาลึกซึ้ง
กว่าการฆ่ามาก ดังจากคำสอนของสมเด็จพระสังฆราช
ใน แสงส่องใจ พระองค์สอนถึงเจตนาของศีลข้อ 1 ที่ลึกซึ้ง
ว่า อย่าว่าแต่ทำให้ถึงตายเลย แม้แต่การกระทบต่อกาย หรือ ใจ
ก็ไม่ควรทำ คำเทศนานี้ชี้ให้เห็นลึกลงไปในคำสอน
คำห้ามของพระพุทธองค์ ซึ่งเราจะเรียนกันตามตัวอักษรไม่พอ
แต่นั่นก็ขึ้นกับคนเรียนด้วยเหมือนกันว่าจะคิด พิจารณาเพียงใด
สาเหตุหนึ่งที่เกิดเรื่องต่างๆระหว่างคนก็คือ การกระทบที่ใจ
การกระทบที่กาย นั้นเอง กระทำอย่างไร กระทบอย่างไร
ด้วยวาจา ด้วยสื่อ ด้วยเจตนา ด้วยไม่เจตนา กระทำโดยตรง
กระทำโดยอ้อม ก็ล้วนแต่มีผลทั้งสิ้น จะผลในระดับใดก็สุดแต่
จะพิจารณาได้โดยสติ โดยสมาธิ นั้นคือก่อกรรมแล้ว อาจดี หรือ ไม่
ก็พิจารณาโดยละเอียดได้อีก การไม่ทำชั่ว เท่ากับอย่าติดลบ การทำดี
คือทำเพิ่มจากเดิม ลดการติดลบ จนถึงทำให้เป็นบวก และการทำให้จิตใจ
บริสุทธิ์ คือ ลดละล้าง กืเลส ความเศร้าหมองที่นำไปสู่การติดลบ
และการลดความดี จากที่เคยมีลงไป
การรู้รักษาตัวรอดนั้น ถ้าตีความในทางลบ อาจหมายถึง
การเอาตัวรอดโดยทิ้งความรับผิดชอบ และ หรือ เห็นแก่ตัว
แต่ถ้าตีความในทางบวก อาจหมายถึง
กระทำการโดยรอบคอบ และไม่ทิ้งความรับผิดชอบ ไม่เห็นแก่ตัว
แต่รู้จักคิดเลือก ทำการใดๆในทางที่ชอบที่ควร และไม่เป็นภัยแก่ใคร
ในสังคมทุกวันนี้ ฉลาด แต่ ไม่เฉลียว ก็พัง…
ดังนั้นการกระทำใดๆพึงกระทำโดยไม่ประมาท
แมัการทำดี ก็มีการทำดีโดยประมาทได้ด้วย…..
ก็อยู่ในสังคมมนุษย์ จึงต้อง รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี
ดูที่เจตนา ทำดีโดยไม่ประมาท
ในกระบวนการดำเนินชีวิต ยิ่งทบทวน
ยิ่งเห็นความแตกต่าง ยิ่งเห็นการทำให้สมดุลย์
ไม่ว่าเรื่อง อาหาร
เรื่องความเป็นอยู่
เรื่องสุขภาพ
เรื่องการทำงาน
เรื่องเทคโนโลยี
ให้แปลกใจว่า ทำไมโลกนี้มีความแตกต่างซ้อนกันอยู่ไปเรื่อยๆ
ตั้งแต่ดึกดำบรรพจนปัจจุบัน เมื่อก่อนพุทธกาล จนปัจจุบัน
เพราะความคิดที่จำแนกแตกต่างในเวลาที่แตกต่างของปัจเจกบุคคล
เพราะหลักการที่อ้างอิงคนละหลักการ
เพราะเวลาและสภาพแวดล้อม
อะไรคือหลง…
พร้อมที่จะหลงไปในร่องความคิด
แบบว่า หลง ซ้อน..หลง…
หลง..และ..ไม่รู้ว่า หลง หรือ ไม่หลง
ประมาณนั้น..
เมื่อคิดถึงทางออก..
ในเมื่อมีทางออก..ไฉนจึงวนเวียน
เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นวังวน ..วนเวียน
เหมือนเราอยู่บนโลกที่หมุน ตัวเราก็ย่อมหมุนไปด้วย
เพียงแต่เราไม่รู้บ้าง รู้บ้าง
และทุกสิ่งมี..เวลา เป็นตัวแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
วัยอ่อน โตเต็มวัย แก่งอม ร่วงหล่นไป
ความคิดก็เช่นกัน
หน้าที่ที่มนุษย์จะต้องปฎิบัติตามกฎของธรรมชาติ
1 ทำอย่างไรชีวิตจะอยู่รอด
2 ทำอย่างไรจะพัฒนาความอยู่รอดนั้นให้ดียิ่งๆขึ้นไป
การจะอยู่รอดได้ต้องมีความถูกต้อง
วัตถุแวดล้อมดี ร่างกายดี สติดี ปัญญาดี
ทำดีแล้วเราก็พอใจไปหมด มีชีวิตทุกกระเบียดนิ้วที่ถูกต้อง ถูกต้องแล้วจึงดี
เช่นการหาอาหาร หาให้ดี การกินอาหาร กินให้ดี กินด้วยสติ
แต่บางคนหาอะไร มากินให้อร่อย เซ่นผีตัณหา การถ่ายอุจจาระ ก็ทำอย่างดี
คือค่อยๆถ่ายไม่เบ่งแรง ภิกษุถ่ายอุจจาระเบ่งแรงเป็นอาบัติ ถ่ายอุจจาระก็ยังทำให้ดี
อาบน้ำ ก็อาบให้สะอาด มีสติ ถูขี้ไคลด้วยการทำหน้าที่ให้ร่างกายสะอาด เป็นสุข
แต่คนมีกิเลสจะทำให้ยุ่งยาก บางทีก็ต้องไปจ้างเขาทำ
การถูพื้น ก็ถูให้สะอาด เป็นการทำหน้าที่ การล้างจาน ก็พอใจ
เพราะทำให้จานสะอาดเพราะเราต้องใช้จานสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี
พูดถึงการทำหน้าที่ การทำงาน ขอให้ทำงานเต็มความสามารถที่มี
หรือตามโอกาสที่ทำได้ มีความสุขอยู่ที่ที่ทำงาน เพราะเป็นการทำงานให้ดี
ทำแล้วมีความสุข มีความสุขแท้จริงแล้วเมื่อทำงาน
จึงไม่ได้ทำงานเพื่อเงินแล้วเอาไปซิ้อความสุขที่หลอกลวง เป็นความสุขเซ่นผีกิเลส
และไม่ต้องขโมยเวลา เพื่อหาความสุขหลอกลวง เพราะมีความสุขตลอดเวลาที่ทำงานแล้ว
ธรรม คือ หน้าที่ที่ทรงให้ชีวิตอยู่รอด เป็นธรรมชาติ
คิดว่าธรรมคือคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถูกเพียงส่วนหนึ่ง
ธรรม คืออะไร
เราไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร เราจึงไม่รู้จะปฎิบัติธรรมกันอย่างไร
……………………………………………………..
……………………………………………………..
ธรรมคือ สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ธรรมในภาษาบาลี คือธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร ตรัสรู้ธรรม
ท่านสอนอะไร สอนว่า…………………….
………………………………………………………..
นั่นคือ มนุษย์จะต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ
กฎของธรรมชาติมีมากมาย
แต่ที่ต้องรู้คือ ทำอย่างไรชีวิตจะอยู่รอด และ รอดถึงที่สุดแห่งความดี
……………………………………………………………..
……………………………………………………………..
การทำงานคือการทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
เดี๋ยวนี้เราทำงานเพื่ออะไรกันให้คิดดู
เราไม่ได้ทำงานตามความถูกต้องของมนุษย์ เพื่อหน้าที่ของมนุษย์
แต่เราทำงานเพื่อเลี้ยงกิเลส ทำตามใจเรา จะเป็นธรรมได้อย่างไร
………………………………………………………………..
คนหนึ่งทำงานเพื่อความถูกต้อง เพื่อความเป็นมนุษย์ของตน
อีกคนหนึ่ง ทำงานเพื่อทำความเป็นมนุษย์ให้แหว่ง ยิ่งทำยิ่งทำลายให้แหว่งไป
………………………………………………………………
………………………………………………………………
การอยู่รอดมี 2 แบบ รอดแบบชาวโลก หรือ รอดแบบสูงกว่านั้น…..
……………………………………………………………
……………………………………………………………
……………………………………………………………
เสียงธรรมจากสวนโมกข์ ชุดที่ ๑
ชื่อตอน
๑ การทำงานคือการปฎิบัติธรรม
๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕
แสดงปาฐกถาพิเศษ
http://www.dhammathai.org/sounds/buddhadasa.php
http://www.dhammathai.org/sounds/playsong.php?sound=buddhadasa/suanmokkh1/440101.wma