เทศบาลนครพิษณุโลกเปิดวงเสวนา
อ่าน: 2031ผู้บริหาร ของเทศบาลนครพิษณุโลกได้เปิด “โครงการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ” Kickoff โครงการวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 14.00 –18.00 น. ที่ห้องประชุมจุฬามณี 2 เทศบาลนครพิษณุโลก มีคนเข้าร่วมประมาณ 20 คน
เริ่มพูดคุยกันประเด็น จำเป็นไหมที่ต้องทำโครงการนี้ ? ทำไปทำไม? ถ้าทำโครงการจะมีลักษณะอย่างไร? ทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง ?
ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าควรทำ โครงการนี้ เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาทำให้บรรยากาศทั้งที่บ้าน ในครอบครัว ที่ทำงานและสังคมมีความแตกแยก คุยกันเรื่องการเมืองไม่ได้ หวาดระแวงกัน ทำให้ไม่มีความสุข และการทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
มีผู้เสนอให้มีจัดคนมาบรรยายให้ ความรู้เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการเมือง จะได้รู้เรื่องการเมืองและประชาธิปไตยกันมากขึ้น แต่ก็สรุปว่าเวลาจัดบรรยายให้คนมาพูด คนพูดก็ไม่ค่อยเป็นกลาง อยู่ที่ใครเป็นคนเชิญ คนเชิญก็จะเชิญคนที่มีความเชื่อเหมือนตน เอามาพูดให้คนที่คิดต่างเปลี่ยนความคิดให้คิดเหมือนตน จัดไปจัดมาก็มีแต่คนที่คิดเหมือนกันมานั่งฟังกัน จนคนจัดก็เริ่มเบื่อเพราะคนที่คืดต่างก็ไม่ยอมมาฟัง ถ้ามาก็แค่อยากมาป่วนให้เสียบรรยากาศเล่นๆ
เลยสรุปว่างั้นก็จัดเป็นรูปแบบ สุนทรียสนทนาหรือสานเสวนา (Dialogue) ฝึกพูดคุยกันเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง ทำในกลุ่มเล็กๆ ลองดูว่าจะมีอะไรๆดีๆเกิดขึ้นในกลุ่มไหม? ถ้ามีอาจเป็นประสบการณ์ที่จะขยายผลต่อไปในชุมชนและสังคมเมืองพิษณุโลก
บรรยากาศการพูดคุยค่อนข้างดี กลุ่มที่เข้าร่วมประมาณครึ่งหนึ่งมีประสบการณ์การสนทนามาบ้างแล้ว สามารถเหนี่ยวนำและหล่อเลี้ยงกลุ่มได้ดีพอสมควร มีการพูดตรงๆ ลึกๆ หลายครั้งเหมือนกันแต่ก็รับฟังกันดี ไม่มีการโต้เถียงหรือเอาแพ้เอาชนะกัน อาจเกรงใจกันอยู่เพราะเป็นครั้งแรกๆ หรือเกรงใจรองนายกฯ ก็ไม่รู้…อิอิ
วันนี้โยนโจทย์ไปว่าสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันเป็นอย่างไร? ในความคิดเห็นของแต่ละคน
ถ้าสถานการณ์ดีอยู่แล้วก็อยู่นิ่งๆ อย่าขยับอะไรมากเพราะจะทำให้ยุ่งขึ้นมาอีก
หรือ
สถานการณ์ไม่ค่อยดี เหมือนคลื่นลมสงบก่อนพายุร้าย ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าจะทำอะไรสักอย่าง? เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกัน ถ้าใครว่าสถานการณ์ไม่ดี ต้องทำอะไรสักอย่างก็เสนอด้วยว่าควรทำอะไร?
ก็มีการแสดงความเห็นกันพอสมควร มีการเสนอให้นักการเมือง ผู้บริหารประเทศต้องปรับปรุงตัวบ้าง แต่ก็มีคนเสนอให้พัฒนาตัวเองให้เป็นพลเมืองที่เหมาะกับระบอบประชาธิปไตย เพราะไปเปลี่ยนคนอื่นจะยากมาก
เลยพูดถึงเรื่องรายงานการศึกษา วิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติของสถาบันพระปกเกล้าและข้อเสนอแนะให้ทำ ประชาเสวนาหาทางออก (deliberation) รายงานการค้นหาความจริง เหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองและข้อเสนอเพื่อการปรองดองฉบับสมบูรณ์ของ คปอ. และเรื่อง Citizenship and The Future of Thai Democracy ที่เคยแนะนำให้อ่านกันมาแล้ว
นัดคุยกันอีกครั้ง วันที่ 11 หรือ 12 ธันวาคม 2555 ซึ่งจะมีเครือข่ายสุนทรียสนทนา@พิษณุโลกมาร่วมพูดคุยด้วย
« « Prev : พลเมืองไทยแบบไหนที่เหมาะกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Next : โครงการ Civic Education – เทศบาลนครพิษณุโลก » »
1 ความคิดเห็น
ปรบมือให้เมืองพิด ดีมากๆ
การที่เมืองจัดเวทีแบบนี้มันจะค่อยๆพัฒนาไป และแตกหน่ออื่นๆตามมาอีกมาก แน่นอนการพัฒนาไปนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งผมเรียกการปรับตัว บางคนชอบมาทุกครั้ง หรือมาบ่อย บางคนชอบแต่ติดงาน ติดภาระก็มาบ้างไม่มาบ้าง บางคนไม่ชอบสาระ ก็จะไม่มา หรือมาแบบนั่งหลังห้องแล้วค่อยๆออกจากห้องไป อย่างไรก็แล้วแต่ หัวข้อการคุยกัน กับสภาวะการตื่นตัวของประชาชนในเมืองนั้นๆเป็นอย่างไร บทเรียน บางกอกฟอรั่ม และที่อื่นๆม่มากมายในเรื่องเวทีคล้ายๆกันนี้
แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ผมชอบและสนับสนุน แม้ว่าคนจะมามากในช่วงต้นแล้วน้อยลงไปจนเหลือแต่คนจัดก็ตาม ก็ให้มันรู้ไป
ผมมีประสบการณ์ เมื่อสมัยอีสานเขียว ที่ขอนแก่น หรือทางอีสาน มีโครงการต่างประเทศมากมายเข้ามาทำงาน NGO กำลัง บูมสุดขีด การตื่นตัวเรื่องงานพัฒนา มีสุดขีด ที่ขอนแก่นจะมีฝรั่งมากมายมาพัก หรือแวะวเวียนมาแม้จะทำงานตามโครงการในจังหวัดทางอีสานก็จะต้องมาขอนแก่น เพราะ มีมหาวิทยาลัย มีสนามบิน มีแหล่งหน่วยงานราชการระดับภาคที่นั่น…
ฝรั่งจึงสร้างเวทีคุยกัน concept ง่ายๆ คือไปคุยเจรจากับโรงแรมว่าขอใช้ห้องประชุมขนาดจุคนสัก 20-80 คน ขอใช้ฟรีแต่จะสั่งกาแฟ ขนม หรืออาหารมากินกันตามแต่ผู้มาร่วมงานจะสั่ง โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล ของคุณหมอ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาบัยขอนแก่นโอเค ให้ห้องฟรี แต่ขอสั่งกาแฟ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆมา ใครอยากกินเบียร์ กินเหล้าก็เชิญ ง่ายๆ สบายๆ แล้วก็หมุนเสียนกันนำเสนองานของโครงการต่างๆ ที่มีมากมายในช่งเวลานั้น บางครั้งก็มีประเด็นพิเศษ เช่นการพัฒน ปรับปรุงดินเค็มในอีสาน อะไรทำนองนี้
หากฝรั่งมานำเสนอก็มีล่ามแปลให้ ประสบผลสำเร็จครับ มีคนสนใจมาก เพราะเปิดอิสระ แต่มีกลุ่มแกนซึ่งเป็นฝรั่งเกาะกลุ่มกันสัก 15 คนเป็นประจำ นอกนั้นก็หมุนเวียนกันตามความสนใจ ตามโอกาส ตามเงื่อนไขแต่ละคน บางครั้งมีคนมาล้นห้องเลย บางครั้งมีแค่สิบคน แต่ก็คุยกัน นำเสนอกัน การดำเนินการแบบนี้ทำกันต่อเนื่องเดือนละครั้ง จนครบน่าจะสามถึงสี่ปี ฝรั่งกลับไปหมด คนไทยไม่สานงานต่อ
สมัยนั้นผมกำลังหนุ่มแน่น ก็มาบ้างไม่มาบ้าง แต่ชอบบรรยากาศเป็นแบบง่ายๆ สบายๆ ส่วนใหญ่ก็กินกาแฟกัน ฝรั่งก็สั่งเบียร์มากินกัน โรงแรมก็พอใจ เพราะเป็นการดึงแขกเข้ามา พลอยมานั่งกินข้าวที่ห้องอาหารก่อนเมื่อถึงเวลาก็ย้ายเข้ามานั่ร่วมวงสนทนาในห้องที่จัดไว้ โรงแรมก็มีรายได้ แม้ให้ห้องฟรี
หลายครั้งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นมานำเสนอเรื่องราวงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานในกลุ่มฝรั่งที่มาทำงานโครงการต่างๆนั้น
ผมชอบมากครับ สร้างสรรค์ และเกิดการกระจายความรู้ ประเด็นต่างๆ และเกิดเวทีบูรณาการหลังการพูดคุยกัน เช่นสาระใครดี คนานใจ ก็มีการติดต่อ ประสานวาน ขอข้อมูลลึกๆ ถึงขั้นเกิดความร่วมมือต่างๆขึ้นมา
ดีมากครับ แต่หลังจากนั้นขอนแก่นก็ไม่มีสิ่วนี้อีกเลยเมื่อฝรั่งจากไป จึงนึกว่า วัฒนธรรมแบบนี้เป็นของฝรั่งหรือ ทำไมคนไทยทำจึงไม่ต่อเนื่อง…..