การจัดการเรียนการสอนทะลุมิติของมหาชีวาลัยอีสาน
ในการประชุมครั้งหนึ่ง ถูกตั้งคำถามต่อการเสนอไปดูงานที่มหาชีวาลัยอีสานว่า “ไปแล้วได้อะไร จะพาไปเรียนการปลูกมะเขือหรืออย่างไง”
คำถามนี้ให้แง่คิดหลายอย่างที่จุดประกายให้หันกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองค่ะว่า “ทำไมถึงอยากไปมหาชีวาลัยอิสานทั้งๆที่เป็นพยาบาล และไปหลายครั้งแล้วแถมยังอยากแนะนำคนอื่นให้ไปที่นั่น” และ “ต่อบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์พยาบาลที่จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ว่าเชื่อมโยงการศึกษาและการเรียนรู้กับมหาชีวาลัยอิสานอย่างไร”
มหาชีวาลัยอิสาน 5-9 พ.ค. 2553: 4. วงสนทนาใต้ร่มมะขาม
เขียนเล่าเรื่องการไปสวนป่าคราวนี้ ไม่ได้ลำดับตามเวลาของเหตุการณ์นะคะ แต่เรียงตามใจที่อยากเล่า
เริ่มตั้งแต่
…ตามเวลาแล้ว วงสนทนาใต้ร่มมะขาม เกิดขึ้นในวันที่ 6 พ.ค. 2553 คือเย็นวันแรกของการอบรม ภายหลังกิจกรรมของครูออตแล้ว เมื่อครูปูมาบอกว่าครูบาอยากพูดคุยกับกลุ่มเฮ และคุณ Logos บอกว่าที่โรงอิฐ เอาเก้าอี้ไปเองด้วย
มหาชีวาลัยอิสาน 5-9 พ.ค. 2553: 3. ปั้นพระองค์แรกในชีวิต
กิจกรรมปั้นพระ ที่นำโดยคุณ Logos เป็นกิจกรรมที่รับรู้ผ่านการอ่านบันทึก และจากการได้เห็นรูปปั้นพระของกลุ่มนิสิตแพทย์ ที่เก็บไว้ที่สวนป่า …
ได้รับฟังล่วงหน้าและเห็นพระที่ปั้นแล้ว รวมทั้งฟังคุณ Logos เล่าถึงกิจกรรมนี้และเบื้องหลังของพระแต่ละองค์ในตอนที่มีโอกาสคุยกันนิดหน่อย ซึ่งทำให้รู้ว่า มีพระรูปปั้นที่สลักชื่อพระป๊าดตรงฐานบัวนั้น มีที่มาของชื่ออย่างไงด้วย
มหาชีวาลัยอิสาน 5-9 พ.ค. 2553: 2.เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับการวางงานประจำเพื่อไปฝังตัวในสวนป่าถึง 5 วัน
อย่างไรก็ตาม การเดินทางก็เสร็จสิ้นลง และได้รับบทเรียนมากมายที่แตกต่างจากทุกๆคราวที่ได้เดินทางไปสวนป่า
“ประสบการณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว” อย่างที่คุณคอนบอกไว้เสมอๆ ..
กลับจากสวนป่าได้ 1 วัน มีโอกาสได้โทรศัพท์ตอบคำถามของครูบาที่ถามว่า “คิดอย่างไรบ้างกับหลักสูตรคราวนี้”
หลักสูตรคราวนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นคนดิ้นรนขอเขียนหลักสูตรกับครูอึ่งแถมยังขอขยายอธิบายความกับครูบา ประมาณว่า ขอค่ะ ขอเขียนหลักสูตร ขอให้เห็นเชิงประจักษ์ …ขอทำระบบหลักสูตรที่จับต้องได้อธิบายได้ในระดับพื้นฐาน….ขอฯลฯ.. แถมยังแอบกำหนดในใจว่าจะขอใครทำอะไร ตอนไหน…