Liberal Arts Education -การศึกษาไทยเมื่อไหร่จะเลิกต่างคนต่างทำ

อ่าน: 9238

หัวข้อที่ได้มีโอกาสไปร่วมในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การศึกษาแนวศิลปวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑”

จัดการสัมมนาโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันนี้ (๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕) มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างค่ะ

ผู้จัดการสัมมนาเขียนหลักการและเหตุผลที่สำคัญว่า

“แนวคิดของการจัดการศึกษาแนวศิลปวิทยาศาสตร์เป็นการเติมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีจิตสำนึกต่อความเป็นพลเมืองของท้องถิ่น ของประเทศและของโลก”

“นักศึกษาแนวศิลปวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๑ นอกจากจะมีลักษณะทั่วไปคือ มีทักษะในการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์เป็น มีความคิดสร้างสรรค์ มีการตัดสินใจที่เปี่ยมคุณธรรม มีทักษะในการสื่อสาร มีทักษะทางสังคม และมีทัศศนวิสัยกว้างไกลแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในคุณลักษณะและจริยธรรมส่วนบุคคล มีความเป็นเลิศในสาขาอาชีพของตน มีการบ่มเพาะทางปัญญาและความฉลาดเฉลียว รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย”

P1050504

งานนี้มีการเชิญท่านผู้เชี่ยวชาญและท่านที่เคยเรียนศิลปวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศมากันหลายท่าน หลายท่านก็เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยากาศก็เลยเข้มข้นและแน่นไปด้วยสาระทางวิชาการ

 

มีการวิเคราะห์การศึกษาที่กำลังเป็นในปัจจุบัน และอนาคตของประเทศไทย

ปัญหาที่บัณฑิตต้องเผชิญ ความรู้และทักษะที่ขาดหายไป และการเติมเต็มอย่างไร

        ตอนแรกสมัครไปนั้นเพราะเห็นหัวข้อน่าสนใจ เมื่อเข้าไปในงานสัมมนา ได้บรรยากาศ ได้เอกสารก็นึกถึงครูอึ่งและครูที่สอนประถม มัธยมรวมทั้งบรรดาผู้ปกครอง นักการเมือง ฯลฯ เพราะเรื่องแบบนี้ ไม่น่าจะจำกัดเฉพาะอุดมศึกษา บนเส้นทางการศึกษานั้นไม่ควรมีการแบ่งส่วน ต่างคนต่างทำ แต่ควรให้ผู้จัดการศึกษาในทุกระดับของเด็กทุกวัย ได้มาร่วมกัน ลงขันความคิด ร่วมออกแบบการศึกษาที่สอดประสานกัน

ถ้าเทียบกับงานสาธารณสุข คนในวงการสาธารณสุขจะทราบกันว่าจะต้องดูแลคนตั้งแต่ยังไม่เกิดจนกระทั่งตาย คือตั้งแต่ในมดลูกจนถึงเชิงตะกอน นโยบายของประเทศ การรักษา การดูแล จะต้องสอดรับกันในทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายจัดการศึกษาและฝ่ายบริการ

แต่ทำไมในงานการศึกษาที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ กลับพบว่าไม่เคยมีการจัดสัมมนาร่วมกันระหว่างครู อาจารย์ ผู้จัดการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การศึกษาไทย จะเป็นแบบต่างคนต่างทำ หลักสูตรใครหลักสูตรของคนนั้น และต่างก็แข่งขันกันไปในทิศทางเพื่อตอบสนองตลาดในทุกระดับการศึกษา

อุดมศึกษาจัดหลักสูตรตอบสนองตลาดแรงงาน

มัธยมจัดการเรียนการสอน ตามทิศทางที่ตอบสนองตลาดเอนทรานซ์ เข้ามหาวิทยาลัย

ประถมศึกษาจัดการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองตลาดมัธยมศึกษาโดยเฉพาะภาครัฐ และตามทิศทางนโยบายที่การเมืองจะครอบได้

แม้แต่อนุบาลก็ยังจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กแข่งขันกันเข้าสู่ประถมตอบสนองตลาดคือพ่อแม่ และการคัดสรรเข้าเรียนในโรงเรียนที่ถูกจัดอันดับไว้

คนในแวดวงการศึกษาไทยเลยไม่เคยรับรู้ซึ่งกันและกันว่า ขณะนี้อุดมศึกษาทำอะไร มัธยมทำอะไร ประถมทำอะไร และอนุบาลทำอะไร

เมื่อเกิดปัญหา….ก็เลยยากแก่การเข้าใจและร่วมกันแก้ไขหรือป้องกันปัญหา

  • เมื่ออุดมศึกษาคิดและวางแผน ….คนที่ควรได้รับรู้ก็คือ ผู้ที่จัดการศึกษาทุกระดับ และควรมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการศึกษาของมหาวิทยาลัยมาร่วมสัมมนาและร่วมวางแผนตั้งแต่ต้น

 

  • เช่นกันถ้าประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา จัดการสัมมนาเกี่ยวกับการศึกษาก็ควรให้อุดมศึกษามีส่วนรับรู้ด้วย

      

        เรื่องเกาไม่ถูกที่คัน หรือดันเกาในที่ไม่คัน แล้วยังไปคาดว่าเขาจะคันเลยเกา ก็คงจะลดลง และความเข้มแข็งของการศึกษาไทยก็น่าจะเพิ่มขึ้นด้วยการประสานความร่วมมือเชิงนี้ด้วย

P1050495

นี่ก็ให้ความเห็นจนขอเล่าต่อในบันทึกต่อไป ในส่วนที่ท่านวิทยากรท่านแรกคือท่าน องคมนตรี ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย ให้ข้อคิด ความรู้และข้อสังเกต เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย การศึกษา และเรื่องของ ASEAN ค่ะ

Liberal Arts Education: การพัฒนาอุดมศึกษาไทย...

« « Prev : ดููไกลหรือดูใกล้

Next : Liberal Arts Education: การพัฒนาอุดมศึกษาไทย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1010 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.4672930240631 sec
Sidebar: 0.035620927810669 sec