คุณค่าของตำแหน่งทางวิชาการ: ความหวัง ความฝัน ความจริง

โดย อุ๊ยสร้อย เมื่อ กันยายน 4, 2010 เวลา 9:49 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการศึกษา, การเรียนรู้ชีวิต, ประชุม ปอมท. 2553 #
อ่าน: 5504

ปฐกถาพิเศษในหัวข้อ “คุณค่าของตำแหน่งทางวิชาการ : ความหวัง ความฝัน ความจริง โดย ศาสตราจารย์ ดร. กนก วงศ์ตระหง่าน เป็นหัวข้อที่เร้าใจอีกหัวข้อหนึ่งค่ะ

อาจารย์บรรยายพร้อมกับตั้งคำถามเป็นระยะๆ ในประเด็นของคุณภาพการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้กับสังคม

อาจารย์ไม่ได้บอกว่าไม่ควรวิจัยพื้นฐาน(Basic research) และวิจัยเชิงประยุกต์(Applied research) เพราะนั่นคือความจำเป็นของการสร้างองค์ความรู้ แต่อาจารย์ก็เน้นความสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Practical research) เพราะทำให้เกิด impact เชิงพัฒนา อาจารย์ใช้คำว่า การวิจัยเพื่อคุณค่าเชิงทฤษฎี/มูลค่าเชิงการค้า

อาจารย์ถามว่า

  • มหาวิทยาลัยได้ยกระดับคุณภาพการวิจัยหรือไม่
  • สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่อย่างไร
  • ประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยอย่างไร บัณฑิตที่จบจะทำงานในพื้นที่จริงๆ ได้หรือไม่และอย่างไร
  •  มหาวิทยาลัยและชุมชนใกล้ชิดกันได้อย่างไร

การวิจัยและการเรียนการสอนคือสองด้านของเหรียญเดียวกัน แต่ละหลักสูตรอธิบายกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสังคมได้หรือไม่ว่าผลลัพท์ที่เกิดกับบัณฑิตนั้น

  • ต้องการให้รู้อะไร ทำอะไรเป็น แก้ไขปัญหาอะไรได้

การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการปัจจุบันมุ่งแต่การวิจัยโดยไม่ได้ประเมินผลงานการเรียนการสอนทำให้อาจารย์ส่วนหนึ่งไม่สนใจการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ทอดทิ้งนักศึกษา ไม่นำการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอนและการบริการวิชาการกับสังคม …ถ้าอาจารย์ผู้สอนไม่มีแรงจูงใจด้านการเรียนการสอน คุณภาพการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไร

อาจารย์ตั้งโจทย์ว่า “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมีตำแหน่งวิชาการด้านการเรียนการสอน (Teaching professor)”   โดยที่จะดำเนินการอย่างไรให้ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ เป็นเรื่องเดียวกัน

วิกฤตอุดมศึกษาไทย นั้น อาจารย์มีความเห็นว่า

  • การวิจัยสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่แก่ประเทศจริงหรือ ผลการวิจัยแก้ปัญหาหรือพัฒนาพื้นที่ได้จริงหรือไม่
  • มหาวิทยาลัยกำลังพยายามทำ สิ่งที่ผิดอย่างถูกต้อง
  • การเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาไทย แค่ re-model ไม่พอ จะต้อง re-concept อุดมศึกษาด้วย

สังคมในอนาคตคือ Knowledge Based Economic คุณค่าจะอยู่ที่กำลังสติปัญญาของคน

ข้อเสนอแนะของอาจารย์คือ ปอมท. และ สกว. ควรสร้างคุณค่าของตำแหน่งทางวิชาการให้ครบ 3 มิติ คือ

  • การวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • การเรียนการสอน
  • การแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่

เห็นด้วยกับความคิดของอาจารย์นะคะ …ถ้าหากว่ามหาวิทยาลัยยังอยู่ในกรอบความคิดเดิมๆ ว่า การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการคือการทำผลงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน โดยไม่ได้ให้คุณค่ากับการสอนอันเหน็ดเหนื่อย ก็จะมีคนทิ้งงานสอนออกไปเรื่อยๆ เพื่อสิ่งเข้าสู่การทำวิจัยให้ได้ผลงาน…โดยที่ก็ไม่ได้นำการวิจัยมาเป็นเนื้อเดียวกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ…ต่อไปมหาวิทยาลัยจะเป็นแค่โครงสร้างที่มีป้ายหลอกๆ ว่ามีตำแหน่งทางวิชาการมากมายแต่ไม่สามารถอธิบายให้สังคมได้ว่า ได้สร้างและพัฒนาสังคมอย่างไร

ทิศทางการจัดการศึกษาของไทยในบริบทโลก: ความฝันและมุมมองจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม...

« « Prev : ทิศทางการจัดการศึกษาของไทยในบริบทโลก: ความฝันและมุมมองจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

Next : นโยบายและบทบาทของ สกอ. ต่อสถาบันอุดมศึกษา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

628 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 6.7351179122925 sec
Sidebar: 0.017009973526001 sec