ทิศทางการจัดการศึกษาของไทยในบริบทโลก: ความฝันและมุมมองจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

โดย อุ๊ยสร้อย เมื่อ กันยายน 4, 2010 เวลา 7:48 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการศึกษา, การเรียนรู้ชีวิต, ประชุม ปอมท. 2553 #
อ่าน: 4883

การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อนี้ อยู่ในช่วงเช้าของวันที่ 3 กันยายน โดย

@@ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชั่น และ @@ รองศาสตราจารย์ ดร. จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)

รายการนี้มีหนังสือ “มองซีอีโอโลก” ทั้ง 6 เล่มจัดจำหน่ายในราคาลด 15% พร้อมกับได้รับลายเซ็นจากคุณวิกรมด้วย…ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าแถวกันยาวเหยียดจนหนังสือเกลี้ยงโต๊ะเลยค่ะ ..ได้ยินคนปรารภข้างหลังว่า แหมนี่ถ้าหนังสือเรามีคนเข้าแถวรอลายเซ็นอย่างนี้คงปลื้มมาก …เห็นด้วยจังเลย…อิอิ

### อาจารย์จีรเดชให้ความเห็นถึงวิธีมองปัญหาอุปสรรคด้านระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ทางสภาคณาจารย์หยิบยกเป็นประเด็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาอะไร มหาวิทยาลัยในปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างมากและรัฐไม่ได้เข้ามากำกับกำหนดเงื่อนไขของการบริหารจัดการเหมือนงานภาครัฐอื่นๆ มหาวิทยาลัยมีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของตัวเอง แต่….ได้มองเห็นหรือเปล่า…หรือว่ายังยึดติดกับการรอรับนโยบายจากรัฐ จนไม่กล้ารื้อสร้างและจัดระบบที่คล่องตัว

 ### อาจารย์เล่าถึงหลักคิดในการสนับสนุนบุคลากรให้ทำงานวิจัย การเรียนการสอน บริการวิชาการให้เป็นเรื่องเดียวกัน อาจารย์เน้นย้ำถึงการมีองค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกับนานาชาติได้ การบริหารมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างอิสระทางความคิด การสนับสนุนอาจารย์ให้มีส่วนร่วมกับสังคม และบทบาทของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้เอื้อให้กับการพัฒนาศักยภาพของคนที่เป็นผู้ทำงานและนักศึกษา รวมถึงการวิจัยสังคมเพื่อสร้างหลักสูตรที่พัฒนาสังคมตอบสนองความต้องการของสังคมได้ และมหาวิทยาลัยควรพัฒนาทักษะของบัณฑิตในการแข่งขันกับนานาชาติซึ่งอย่างหนึ่ง คือ ทักษะทางภาษา

### ลำพังฟังอาจารย์จีรเดชท่านเดียวก็เคาะกระโหลกได้สะเทือนแล้ว พอรวมกับคุณวิกรมด้วย ยิ่งทำให้เห็นว่าอุดมศึกษาจะเป็นผู้นำทางการพัฒนาประเทศได้เมื่อเข้าใจตัวเอง เข้าใจสังคม และไม่หยุดการเรียนรู้(รวมทั้งไม่มัวแต่แย่งกันจิกข้าวเปลือกอยู่ในสุ่มด้วย…อิอิ..อันนี้เติมเอง)

@@@

ในช่วงเวลาของคุณวิกรมนั้น ..ตรึงผู้ฟังได้อย่างกับถูกมนต์สะกด …

ในการบรรยายคุณวิกรมชี้ให้เห็นถึง

##ความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย แต่ทำไมคนถึงจน 
##ประเทศที่พัฒนาแล้วในโลกมาจากการศึกษา ไม่ใช่การเชื่อเรื่องดวง ..ไม่มีประเทศที่พัฒนาด้วยดวงในโลกนี้
##การเลือกคนเก่งทำงาน อย่าเป็นประเทศโง่แล้วขยัน
##คุณภาพของคนไม่เท่ากับประกาศนียบัตรที่เขามี การทำงานไม่ตรงสายงาน จบปริญญาตรีสายครูออกไปทำงานหัวหน้าช่าง
##การที่ผู้ผลิต(มหาวิทยาลัย)และผู้บริโภค(สังคมและผู้ประกอบการต่างๆ)ไม่ได้คุยกัน
## ถ้าคนไทยใฝ่เรียนรู้จะพัฒนาได้
## คนไทยส่งออกเงินตราเพื่อไปศึกษาเล่าเรียนต่างประเทศปีหนึ่งๆมหาศาล ทำไมไม่จัดการศึกษาให้อยู่ในระดับที่ต่างชาติมาเรียน
## ประเทศที่ไม่พัฒนาเพราะมีแต่คอรับชั่น
## ในเชิงธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องสร้างหลักสูตรใหม่ หลักสูตรที่ดีๆ ของโลก ควรลงทุนร่วมกัน น่าจะเอาโรงเรียนเป็น Hardware และเอา Know how เป็น software เอานักศึกษาต่างชาติมาเรียน และอาจารย์จะได้พัฒนาตัวเองด้วย

@@ ประเด็นที่คุณวิกรมให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา คือ ต้องเข้าใจโลก เข้าใจคู่แข่ง เข้าใจตัวเอง และใช้คนเก่งสนับสนุนให้คนเก่งและพัฒนาตัวเอง

## มองตลาด การศึกษา มีเหตุผล อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลงกับความสำเร็จในอดีต  

……

ฟังบรรยายจากทั้งสองท่านแล้ว…เรื่องที่คุยกันมาหนึ่งวันเกี่ยวกับปัญหาข้อจำกัด การจัดการที่เป็นอยู่ การจะแก้ไขปฏิรูปการศึกษาที่ระดมสมองกันหาทางออกจนมืดค่ำของเมื่อวาน…กลายเป็นเรื่องขี้ผงไปเลย…ฮ่าๆๆๆ
 

 

 

« « Prev : เก็บตกจากโปสเตอร์

Next : คุณค่าของตำแหน่งทางวิชาการ: ความหวัง ความฝัน ความจริง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

543 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 4.1149759292603 sec
Sidebar: 0.015767097473145 sec